แนะ 3 ข้อ ระวังก่อนสแกนป้องกันภัย QR Code หลอกลวง

Loading

    “ดีอีเอส” เตือน ระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์มามุกใหม่ ใช้ QR Code หลอกดูดเงินให้ สแกนเพื่อรับเป็นเพื่อน แท้จริงคือ Scams วอนประชาชนตระหนัก รู้เท่าทันกลโกง และระวังก่อนสแกน   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า จากกรณีมีข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนในเรื่องการฉ้อโกงออนไลน์รูปแบบใหม่ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยการใช้ QR Code หลอกดูดเงิน โดยส่ง QR Code มาให้ร้านอาหาร แอดไลน์ แต่เมื่อแสกน QR Code พบว่า หน้าจอเหมือนถูกไวรัส เจ้าของโทรศัพท์จึงรีบเข้าแอปธนาคาร เพื่อโอนเงินออกไปบัญชีอื่นก่อน และโทรศัพท์ก็เริ่มค้าง ระบบรวนจึงรีบปิดเครื่อง   จากกรณีที่เกิดขึ้นกระทรวงดีอีเอส มีความห่วงใยความปลอดภัยของประชาชน จึงขอแจ้งเตือนว่า ในการใช้จ่ายสินค้าหรือบริการต่างๆ ร้านอาหารหลายแห่งเริ่มใช้ QR CODE ในการชำระเงินแบบไร้เงินสด ก็ต้องระวังและมีสติในการใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะคนร้ายหรือมิจฉาชีพอาจจงใจใช้ QR CODE พิมพ์…

ระวัง! กลลวงใหม่ ‘คนร้าย’ ใช้ AI ปลอมเสียง หลอกโอนเงิน

Loading

    เตือนภัย มิจฉาชีพคิดกลโกงใหม่ ใช้ AI ปลอมเสียงเป็นคนคุ้นเคยหลอกยืมเงิน ระวังสกิลการโกงใหม่ ก่อนไหวตัวไม่ทัน     ในปัจจุบัน มีมิจฉาชีพเกิดขึ้นอยู่หลายรูปแบบ และหากพูดถึงมิจฉาชีพยอดฮิตที่หลาย ๆ คนต้องตกเป็นเหยื่ออยู่บ่อยครั้งนั้น คือ “แก็งคอลเซ็นเตอร์”   ต้องบอกเลยว่า มิจฉาชีพในปัจจุบันนั้น มีการพัฒนาทั้งเรื่องของการพูดคุยและสกิลการโกง ที่ทำเอาผู้เสียหายต้องเสียทรัพย์มหาศาลไปหลายคนแล้ว     ล่าสุดมีเครื่องมือ AI ที่ถูกพัฒนาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้หลากหลาย แต่ด้วยความสามารถที่มากล้น ก็ย่อมมีความกังวลว่าจะถูกนำไปใช้งานในทางผิดได้ แน่นอนว่าล่าสุดพบนักหลอกลวงออนไลน์ นำ AI มาปลอมแปลงเสียง เพื่อหลอกเหยื่อให้โอนเงินช่วยเหลือ   โดยเกิดขึ้นกับสามีภรรยาชาวแคนาดาวัย 70 ปีคู่หนึ่ง รับโทรศัพท์ที่คิดว่าเป็นหลายชายโทรมา โดยในสายเผยว่าตนเองกำลังติดคุก และต้องการเงินประกันตัวด่วน ด้วยความร้อนรน สามีภรรยาคู่นี้จึงถอนเงินถึง 3,000 ดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 1 แสนบาทมารอไว้ แต่เคราะห์ดีที่ยังไม่ทันได้โอน     หลังกำลังจะถอนเงินจำนวนเดียวกันนี้ออกจากอีกธนาคารหนึ่ง ก็ได้ผู้จัดการของธนาคารเตือนก่อนว่า พวกเขากำลังถูกหลอกลวง…

กสทช.-ตร.บุกจับแหล่งส่ง Wi-Fi ชายแดนแม่สายเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

Loading

    เชียงราย – ตรวจเมื่อไหร่เจอเมื่อนั้น?!..กสทช.พร้อมตำรวจลุยตรวจพื้นที่ต้องสงสัยปล่อยเน็ตจากชายแดนแม่สายเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ฝั่งเพื่อนบ้าน เจอติดตั้งอุปกรณ์ Wi-Fi ส่งสัญญาณไกลถึง 20 กิโลฯ     วันนี้ (8 มี.ค. 66) เจ้าหน้าที่ กสทช.สำนักงานภาค 3 และสำนักงานเขต 34 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ สภ.แม่สาย จ.เชียงราย ได้เข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สาย ติดกับ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา   โดยเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นสถานที่ต้องสงสัยจำนวน 5 จุด ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำสายภายในตลาดชายแดนทั้งฝั่ง ต.เวียงพางคำ และ ต.แม่สาย อ.แม่สาย เนื่องจากสงสัยว่าจะมีผู้ลักลอบส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไปยังฝั่งประเทศเพื่อนบ้านและเกี่ยวข้องกับขบวนการอาชญากรรม   ผลการตรวจค้นที่ร้านค้าภายในชุมชนสายลมจอยและชุมชนไม้ลุงขน พบร้านที่ลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ส่งอินเทอร์เน็ตไร้สายหรือ Wi-Fi จำนวน 3 แห่ง และตรวจสอบความแรงการส่งสัญญาณแต่ละรายสามารถส่งออกไปได้ไกลถึงประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งเกินกว่าที่ทาง กสทช.กำหนดเอาไว้    …

“ชัยวุฒิ”เสนอ อาเซียนตั้งองค์กรร่วมมือปราบอาชญากรรมออนไลน์

Loading

  “ดีอีเอส” ร่วมเปิดเวทีประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 เสนอสมาชิกอาเซียน เร่งจัดตั้งหน่วยงานข้ามชาติ เเก้ปัญหา Call Center ลดภัยคุกคามผ่านสื่อออนไลน์   วันนี้ (9 ก.พ.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิทัลครั้งที่ 3 ณ เกาะโบราไคย์ ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอีเอส และนายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา เข้าร่วมประชุมด้วย     นายชัยวุฒิ กล่าวว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านดิจิทัลของกลุ่มประเทศ 10 ประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารไอซีทีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ   นอกจากนี้ ประเทศไทย ได้เสนอต่อที่ประชุมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้จัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อกำกับดูแลและทำความร่วมมือระหว่างกันในการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ หรือ การหลอกลวงออนไลน์…

บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮ็ก ดูดเงินในบัญชี พร้อมวิธีแก้

Loading

    เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮก ข้อมูล – ดูดเงินในบัญชี หลังเหยื่อ เงินหาย แค่ชาร์จ โทรศัพท์มือถือ วางไว้เฉย ๆ   กลโกงของมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างปรับรูปแบบใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลของเหยื่อ โดยล่าสุด มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรายหนึ่ง ตกเป็นเหยื่อ เพราะเพียงแค่ชาร์จมือถือวางทิ้งไว้ แต่จู่ ๆ เครื่องดับ เมื่อเปิดโทรศัพท์ขึ้นมาอีกครั้ง กลับมีข้อความจากแอปธนาคารแจ้งว่า มีเงินออกไปจำนวนกว่า 1 แสนบาท ทั้งที่ไม่มีการโทรเข้า-โทรออก และ ไม่มีใครส่งลิงก์ให้ยืนยันข้อมูล   ผู้เสียหาย เล่าว่า ปกติเค้ามีโทรศัพท์ 2 เครื่อง คือ เครื่องแอนดรอยด์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้เล่นเกมอย่างเดียว ส่วนเครื่องหลัก คือ ไอโฟน ซึ่งเป็นเครื่องที่ชาร์จโทรศัพท์ทิ้งไว้ แล้วโดนแฮก จนดูดเงินหาย   ณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ชำนาญการ…