ชี้ “เซิร์ฟเวอร์”ในไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์ถูกโจมตีมากกว่า 5 แสนรายการ

Loading

    แคสเปอร์สกี้เปิดตัวเลขเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้โจมตีมากกว่าครึ่งล้านรายการ สวนทางดัชนีความปลอดภัยไซเบอร์   ตามรายงานดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก 2024 หรือ GCI (Global Cybersecurity Index) ประเทศไทยเร่งเครื่องขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 จากอันดับที่ 44 เมื่อปี 2020 โดยประเทศไทยได้รับคะแนนดัชนีปีนี้ 99.22 คะแนน ทำให้ไทยเลื่อนขึ้นมาเป็นประเทศกลุ่มระดับ 1 (Tier 1) ซึ่งมีความสามารถเป็นต้นแบบในการปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์   รายงาน GCI 2024 เผยให้เห็นถึงการปรับปรุงที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการทางกฎหมาย ความสามารถทางเทคนิคและกลยุทธ์ ความคิดริเริ่มในการสร้างขีดความสามารถ ความร่วมมือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไซเบอร์ที่เกิดขึ้น   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า  คะแนนดัชนีของประเทศไทยนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของไทยในการปรับปรุงความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ และบริษัทหลักในอุตสาหกรรม แคสเปอร์สกี้ยินดีที่ได้สนับสนุนประเทศไทยในการสร้างความสามารถในการรับมือภัยไซเบอร์ที่สูงขึ้น   อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกำลังเผชิญกับเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่มาจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากรายงานของ…

อธิปไตยทางดิจิทัลกับการครอบงำทางเทคโนโลยี

Loading

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ค้นพบแคมเปญภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่แพร่กระจายผ่านโฆษณาบนเว็บ และมุ่งเป้าโจมตีไปที่ผู้ใช้งานพีซีระบบปฏิบัติการ Windows โดยขณะที่เข้าเว็บไซต์ ผู้ใช้อาจจะคลิกโฆษณาที่โผล่ขึ้นมาปิดบังหน้าจอทั้งหมดโดยไม่รู้ตัว และไปที่หน้าเว็บ CAPTCHA ปลอม หรือข้อความแสดงข้อผิดพลาดของ Chrome ปลอม โดยหลอกให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อดาวน์โหลดมัลแวร์สตีลเลอร์ (stealer) แคสเปอร์สกี้ตรวจพบโฆษณาอันตรายลักษณะนี้มากกว่า 140,000 รายการในเดือนกันยายนและตุลาคม 2024 และพบว่าผู้ใช้จำนวนมากกว่า 20,000 คนถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าเว็บปลอมที่โฮสต์สคริปต์อันตราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้จากประเทศบราซิล สเปน อิตาลี และรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ใช้เข้าเว็บด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการทำตามขั้นตอนที่น่าสงสัยเพื่อความปลอดภัย

ใช้อย่างระวัง ค้นหาข้อมูลผ่าน ChatGPT เสี่ยงเจอ ลิงก์ปลอม ซ่อนมัลแวร์

Loading

  เมื่ออาทิตย์ก่อน OpenAI เพิ่งเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า “ChatGPT Search” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้โดยตรงในอินเทอร์เฟซได้ง่าย ๆ แต่แคสเปอร์สกี้ได้ออกมาเตือนว่า ควรระมัดระวังการคลิกลิงก์ที่ ChatGPT แนะนำ เพราะอาจเป็นลิงก์ฟิชชิงหรือเว็บไซต์ปลอม   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบว่า ChatGPT Search อาจแสดงลิงก์ฟิชชิง หรือ ลิงก์ปลอม โดยเฉพาะเมื่อค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเงินดิจิทัล เช่น เกมคริปโต หรือเว็บไซต์แลกเปลี่ยนเงินคริปโต ลิงก์เหล่านี้อาจปรากฏในชื่อเว็บไซต์ เนื้อหา หรือผลลัพธ์การค้นหา โดยมักจะหลอกล่อให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกระเป๋าเงินดิจิทัล   อย่างไรก็ตาม เมื่อค้นหาแบรนด์ดัง 5 อันดับแรกที่ตกเป็นเป้าหมายของการฟิชชิงมากที่สุด ChatGPT Search กลับแสดงลิงก์ที่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงนี้คล้ายกับที่พบในเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ อย่าง Google โดยลิงก์ฟิชชิงอาจปรากฏขึ้นในผลการค้นหาชั่วคราว   ChatGPT Search มักจะแสดงลิงก์ที่ถูกต้อง แต่บางครั้งก็อาจเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย ซึ่งยังไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะไม่มีลิงก์ฟิชชิงหลุดรอดออกมา ดังนั้น ผู้ใช้ควรระมัดระวัง ตรวจสอบลิงก์ก่อนคลิกทุกครั้ง และอัปเดตซอฟต์แวร์ความปลอดภัยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ผู้ใช้พิจารณาคำตอบและผลการค้นหาของบอตด้วยความระมัดระวัง เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตและเข้าเว็บอย่างปลอดภัยคือ…

‘เว็บปลอม-กลโกงออนไลน์’ สองสัญญาณอันตรายโลกดิจิทัล

Loading

ปัจจุบัน ภัยคุกคามไซเบอร์ปรากฏตัวทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล ไฟล์เอกสาร ไฟล์แนบ โฆษณา ลิงก์ คิวอาร์โค้ด เอสเอ็มเอส เว็บไซต์ แบบฟอร์มลงทะเบียนออนไลน์ โซเชียลมีเดีย โทรศัพท์ และช่องทางสื่อสารอื่นๆ อีกมากมาย

ตุยแล้ว ‘ข้อมูลดิจิทัล’ ไปไหน? ผู้คนหวั่นตัวตนดิจิทัลโดนขโมยหลังเสียชีวิต

Loading

ผลการศึกษาล่าสุด โดย “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” ระบุว่า ผู้ใช้ 61% เชื่อว่า ข้อมูลประจำตัวของผู้เสียชีวิตมีความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรม

สปายแวร์ ‘Mandrake’ รีเทิร์น ซ่อนตัวนานสองปีบน ‘Google Play’

Loading

หลอกว่าเป็นแอปที่ถูกกฎหมายเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล ดาราศาสตร์ และเครื่องมือยูทิลิตี้ต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ค้นพบแอปพลิเคชัน Mandrake จำนวน 5 แอปบน Google Play ซึ่งเปิดให้ใช้งานนานสองปีแล้ว