ร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …

Loading

  ร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เผยแพร่ร่างประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. (ร่างประกาศฯ)   เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียได้ร่วมแสดงความคิดเห็นร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 2 – 20 พฤศจิกายน 2565 โดยสามรถดาวน์โหลดเอกสารและแสดงความคิดเห็นได้ผ่านช่องท่าง http://www.pdpc.or.th   ร่างประกาศฯ ดังกล่าวเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 37(4) ของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ที่กำหนดให้ ผู้ควบคุมมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานฯ โดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล   ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด   ร่างประกาศฯ กำหนดว่า “การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า การรั่วไหลหรือการละเมิดมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล อันอาจเกิดจากเจตนา ความจงใจ หรือความประมาทเลินเล่อ หรือเหตุผิดพลาด (Accidental) หรือการกระทำผิดกฎหมายอันจะทำให้เกิดความเสียหาย ความสูญหาย…

การเริ่มนับระยะเวลา แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 37(4) กำหนดให้องค์กรซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ “แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้”   หน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว มีประเด็นที่ต้องพิจารณาทางกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะการเริ่มนับระยะเวลา 72 ชั่วโมงว่าเริ่มเมื่อไหร่ เนื่องจากองค์กรอาจมีความรับผิดทางกฎหมายหากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด   ถ้อยคำหนึ่งในมาตรา 37(4) ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเริ่มนับระยะเวลา คือ “นับแต่ทราบเหตุ” (become aware) ซึ่งต้องทำความเข้าใจทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบกัน เพื่อทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นการนับระยะเวลาดังกล่าวมากขึ้น     ผู้เขียนขอนำกรณีศึกษาตาม WP29 Guidelines on Personal Data Breach Notification under Regulation 2016/679 (GDPR) มาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้   WP29 ให้ข้อแนะนำว่าตาม GDPR “นับแต่ทราบเหตุ” ให้เริ่มต้นเมื่อ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีความแน่ใจในว่าเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่เกิดขึ้น (security incident) มีผลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิด…