รีบลบด่วน 12 แอปเกมอันตราย เจอมัลแวร์แฝงตัว

Loading

Doctor Web ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เปิดเผยถึงแอปต่าง ๆ รวมถึงแอปเกมอันตรายบน Androids ที่มีการแฝงมัลแวร์ โดยระบบป้องกันของ Google ก็ไม่สามารถตรวจจับได้ หลังจากมีการรายงานไปยัง Google แอพทั้งหมดนี้ได้ถูกลบออกจาก Playstore แล้ว แต่หากใครยังมีในเครื่อง ให้รีบลบออกทันที

ตำรวจไซเบอร์ เตือน ใครชอบดูหนังฟรีผ่านเว็บเถื่อน ระวังเงินหายเกลี้ยงบัญชีไม่รู้ตัว

Loading

ต้องบอกว่าในช่วงที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยมีผู้รับชมดูภาพยนตร์ ซีรีย์ ละคร หรือเนื่อหาต่าง ๆ ผ่านช่องทางเถื่อนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบนแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดีย ที่มักจะมีการคลิกลิงก์เพื่อเข้าไปดูมากมายหลายลิงก์ แต่การเข้าไปลิงก์เถื่อนนั้นว่าผิดกฎหมายแล้ว ทว่าลิงก์เหล่านี้ยังซุกซ่อนภัยอันตรายที่คุณอาจคาดไม่ถึงก็เป็นไปได้

ผู้เชี่ยวชาญพบแอปแฝงมัลแวร์เข้ายึดเราเตอร์ Wi-Fi ที่จะพาทุกคนที่เชื่อมต่ออยู่ไปยังเว็บปลอม

Loading

  Kaspersky บริษัทด้านไซเบอร์พบแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android ที่แฝงมัลแวร์เข้าแฮกเราเตอร์ Wi-Fi ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของเหยื่อ   มัลแวร์ตัวนี้มีหลายชื่อ ตั้งแต่ Wroba.o, Agent.eq, Moqhao และ XLoader ที่เมื่อถูกดาวน์โหลดเข้าไปยังอุปกรณ์ของเหยื่อแล้วจะพยายามเชื่อมต่อไปยังเราเตอร์ Wi-Fi ที่อุปกรณ์นั้น ๆ เชื่อมต่ออยู่ โดยพยายามเดาชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเราเตอร์ หากทำสำเร็จก็จะเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ DNS เป็นไปตัวที่แฮกเกอร์ควบคุมอยู่   ซึ่งจะทำให้เวลาที่ผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับเราเตอร์นั้นอยู่ (รวมถึงผู้ใช้ที่ไม่ได้มีมัลแวร์ตัวดังกล่าวอยู่ในอุปกรณ์ด้วย) พยายามเข้าชมเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม จะถูกพาไปยังหน้าเว็บไซต์ปลอมที่ดูคล้ายของจริงแทน   ตัวอย่างเช่น หากจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi ในคาเฟ่แห่งหนึ่งถูกเข้าแฮกด้วยมัลแวร์ตัวนี้ ลูกค้าคาเฟ่ที่เชื่อมต่อกับ Wi-FI ตัวนี้อยู่และพยายามจะเชื่อมต่อไปยัง Facebook ก็จะถูกพาไปยังหน้าเพจ Facebook ปลอมที่จะหลอกเอาข้อมูลล็อกอินแทน   Kaspersky เชื่อมว่าผู้อยู่เบื้องหลังแอปนี้คือกลุ่มแฮกเกอร์ที่ชื่อว่า Roaming Mantis   อย่างไรก็ดี Kaspersky ไม่ได้ให้ชื่อแอปที่แฝงมัลแวร์ชนิดนี้ไว้ แต่เผยว่ามียอดดาวน์โหลดอย่างน้อย 46,000 ครั้งในญี่ปุ่น…

เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้เกือบ 900 รายถูกแฮ็กเกอร์เกาหลีเหนือหลอกเอาข้อมูลล็อกอิน

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เกาหลีเหนือได้หลอกเอาข้อมูลล็อกอินจากผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายต่างประเทศของเกาหลีใต้อย่างน้อย 892 รายมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน โดยโจมตีด้วยการส่งอีเมลปลอมเป็นบุคคลสำคัญเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลล็อกอินที่คนร้ายส่งเว็บปลอมเพื่อทำฟิชชิ่ง (phishing) ในจำนวนนี้มีเหยื่อ 49 คนล็อกอินเข้าเว็บปลอมจนคนร้ายได้ข้อมูลไปจริง ๆ   มีการส่งอีเมลปลอมเป็นบุคคลสำคัญอย่างเช่น เลขาของสำนักงานพรรคพลังประชาชน (PPP) และเจ้าหน้าที่จากสถาบันการทูตแห่งชาติ และหลอกให้ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลอมหรือให้เปิดไฟล์แนบที่มีไวรัสทำให้กลุ่มแฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมบัญชีอีเมลและดาวน์โหลดข้อมูลออกไปได้   ทางสำนักงานตำรวจระบุว่าแฮ็กเกอร์ที่การเปลี่ยนแปลงเลข IP Address และใช้เซิร์ฟเวอร์ถึง 326 แห่งใน 26 ประเทศเพื่อให้ยากต่อการสืบหาตัว ตำรวจเชื่อว่าเป็นแฮกเกอร์กลุ่มเดียวกับที่เจาะระบบของบริษัท Korea Hydro & Nuclear Power ในปี 2014 โดยสันนิษฐานจากวิธีการและกลุ่มเป้าหมายของการโจมตี   นอกจากการส่งอีเมลปลอมแล้ว ปีนี้ยังเป็นปีแรกที่ทางตำรวจเกาหลีใต้พบว่าแฮ็กเกอร์ของเกาหลีเหนือใช้แรนซัมแวร์เพื่อเข้ารหัสไฟล์บนอุปกรณ์และเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อก กรณีนี้เกิดขึ้นกับห้างสรรพสินค้า โดยเซิร์ฟเวอร์ 19 ตัวของ 13 บริษัทถูกโจมตี มี 2 บริษัทตัดสินใจจ่ายค่าไถ่รวม 2.5 ล้านวอนหรือประมาณ 7 หมื่นบาท   หน่วยข่าวกรองของเกาหลีใต้ (NIS)…

Mandiant พบมัลแวร์ที่แฝงมาในตัวติดตั้ง Windows 10 เถื่อนบนระบบโครงข่ายรัฐบาลยูเครน

Loading

  Mandiant พบว่ามีกลุ่มแฮกเกอร์นิรนามแฝงมัลแวร์ไว้บนตัวติดตั้ง Windows 10 ที่ปล่อยบนเว็บไซต์ทอร์เรนต์เพื่อหวังโจมตีรัฐบาลยูเครน โดยพบมัลแวร์ชนิดนี้อยู่ในอุปกรณ์หลายตัวที่อยู่ในโครงข่ายของรัฐบาล   กลุ่มแฮกเกอร์ดัดแปลงให้ตัวติดตั้ง Windows 10 ตัวนี้รองรับชุดภาษายูเครน และแพร่กระจายอยู่บนเว็บไซต์ทอร์เรนต์ที่ชื่อว่า Toloka.to รวมถึงเว็บไซต์ทอร์เรนต์ภาษารัสเซียอื่น ๆ พร้อมเขียนคำอธิบายว่าไว้ใช้สำหรับอุปกรณ์ที่มีหน้าที่เดียว อาทิ ระบบทางการแพทย์ และตัวควบคุมอุตสาหกรรม   มัลแวร์ตัวนี้จะดัดแปลงให้ Windows 10 ทำการขโมยข้อมูล แฮกเกอร์ยังสามารถใช้ Windows 10 ที่ติดตั้งสำเร็จแล้วในการปล่อยมัลแวร์เพิ่มเติมที่ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกข้อมูลการกดคีย์บอร์ด ถ่ายภาพหน้าจอ หรือจดจำรหัสผ่านผู้ใช้ได้   นอกจากนี้ แฮกเกอร์ยังระงับฟีเจอร์หลายประการของตัวติดตั้ง Windows 10 เช่น การปิดกั้นที่อยู่ไอพีและโดเมนที่เกี่ยวพันกับบริการ Microsoft ที่ถูกลิขสิทธิ์ และปิดการอัปเดตอัตโนมัติ เป็นต้น   อย่างไรก็ดี Mandiant ไม่พบว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังมัลแวร์ตัวนี้ รู้แต่เพียงว่าผู้อยู่หลังมีวัตถุประสงค์ในการขโมยสำคัญจากรัฐบาลยูเครนเท่านั้น     ที่มา pcmag       ——————————————————————————————————————————————————————————-…