รู้จัก แอปทางรัฐ คืออะไร พร้อมวิธีลงทะเบียน เพื่อรับเงินดิจิทัล และติดต่องานราชการ

Loading

แอปทางรัฐ เปรียบเสมือนผู้ช่วยคนใหม่ที่รวบรวมบริการภาครัฐกว่า 149 รายการไว้บนมือถือของคุณ เพียงดาวน์โหลดแอปและลงทะเบียนใช้งาน ก็สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางไปที่หน่วยงาน ไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องเสียเวลา

ความท้าทายในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

  การเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลช่วงสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้เกิดข้อกังวลขึ้นมาว่า กลไกการกำกับดูแลการแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่เพียงพอเสียแล้ว   แพลตฟอร์มเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมและข้ามสังคมที่แตกต่างไปจากในอดีต ทั้งยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมทั้งที่เป็นธุรกรรมส่วนบุคคล ธุรกรรมเชิงพาณิชย์ ธุรกรรมการเงิน ตลอดจนถึงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ   แพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมของตนเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันอีกด้วย   แพลตฟอร์มดิจิทัลมีคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ เช่น การได้ประโยชน์จากผลของการมีเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้ต่างๆ ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ทันที ผู้ใช้แพลตฟอร์มสามารถกำหนดเนื้อหาที่จะนำเสนอได้เอง   อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคืออาจมีการนำเข้าข้อมูลเท็จ การใช้คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง และการควบคุมประเด็นการถกเถียงที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งจนกลายเป็นการชักนำความเห็นได้   สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการมีกลไกเพื่อควบคุมเนื้อหาและการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ   ในด้านการค้า แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถนำเสนอความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคที่ธุรกิจแบบเดิมทำไม่ได้   นอกจากนี้แล้ว แพลตฟอร์มยังสามารถในการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภคแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ทำการตลาดเฉพาะบุคคล จนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลไปในทางที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค และการใช้เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขันในตลาด จนอาจนำไปสู่การมีอำนาจเหนือตลาดได้   อีกประเด็นที่มักทำให้เกิดความกังวลคือ การดำเนินงานของแพลตฟอร์มอาจเป็นการขัดขวางการแข่งขัน (Anti-Competitive Practices) ซึ่งมักนำไปสู่การตรวจสอบอำนาจทางการตลาดของแพลตฟอร์มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง     เหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศ หน่วยงานในประเทศเหล่านี้ได้ตรวจสอบผลกระทบของการครอบงำจากแพลตฟอร์ม (Platform Dominance)…

ด่วน! 15 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ต้องแจ้งข้อมูลกับ ETDA ไม่ปฏิบัติตามมีโทษ

Loading

15 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล รีบแจ้งข้อมูลกับ ETDA ตามกฎหมาย DPS (Digital Platform Service) รีบลงทะเบียนก่อน 18 พ.ย. 66 กลุ่มบุคคลธรรมดารายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ถ้าแพลตฟอร์มไหนไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษตามกฎหมาย DPS หรือกฎหมายการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 โดย 15 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ต้องแจ้งข้อมูลกับ ETDA ตามกฎหมาย DPS ดังนี้

กฎหมายแพลตฟอร์มดิจิทัล 2 ฉบับ แตกต่าง…แต่ลงตัว

Loading

เป็นที่กล่าวขานในวงกว้างสำหรับกฎหมาย DPS (Digital Platform Services) หรือ พระราชกฤษฎีกา การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ฎหมายฉบับนี้จะถูกใช้เป็นกรอบในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล

EU จ่อใช้กฎหมายตลาดดิจิทัล กระทบยักษ์ใหญ่เทคโนโลยี 6 แห่ง

Loading

คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ระบุเมื่อวันพุธ (6 ก.ย.) ว่า EC ได้กำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ 6 แห่งเป็น “ผู้เฝ้าประตู” (gatekeepers) ภายใต้กฎหมายตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act – DMA) ซึ่งเป็นกฎหมายกำกับดูแลด้านการแข่งขันฉบับใหม่ที่อาจพลิกโฉมรูปแบบธุรกิจของแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่

“DPS” กลไกกำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล หวังลดโกงออนไลน์อุ้มคนไทย

Loading

  กำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ในวันที่ 21 ส.ค นี้  สำหรับ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS  (Digital Platform Services)   หลังได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.65 ซึ่งทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ภายใต้ การกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนกฎหมายฉบับนี้   การที่รัฐต้องตรากฎหมายนี้ออกมาก เพื่อหวังให้เป็นกลไกในการดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ให้มีความโปร่งใส และมีแนวทางในการคุ้มครองเยียวยาแก่ผู้ใช้บริการ ได้อย่างเป็นธรรม!?!   หลังจากที่ผ่าน ๆ มา คนไทยที่ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล พอเกิดความเสียหาย ก็ไม่รู้ต้องดำเนินการอย่างไร ต้องแจ้งไปที่ไหน หรือติดต่อผู้ให้บริการได้อย่างไร เพื่อขอความช่วยเหลือ!!   ภาพ pixabay.com   เช่นหลังจากในปีที่ผ่านมามีการร้องเรียนเรื่องการใช้งานแพลตฟอร์ม และถูกฉ้อโกง ซื้อขายออนไลน์ กว่า 6 หมื่นเรื่อง!! แล้วใครบ้างล่ะ? ที่เข้าข่ายต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของก.ม. นี้?   หากอธิบายง่าย ๆ ก็คือ …