“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

เปิดปฏิบัติการสายลับจีน ล้วงความลับอังกฤษผ่าน LinkedIn

Loading

  HIGHLIGHTS •  เรื่องราวของจางถูกเปิดเผยจากรายงานพิเศษของ The Times of London สื่อที่เป็นหนึ่งในเสาหลักของวงการสื่อสารมวลชนอังกฤษ โดยมีการเปิดเผยถึงปฏิบัติการของสายลับชาวจีนที่เจาะความลับของสหราชอาณาจักรเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ฟิลิป อินแกรม อดีตนายทหารระดับนายพล ซึ่งเชี่ยวชาญด้านงานสายลับไซเบอร์ อีกทั้งยังมีความรู้เกี่ยวกับด้านเคมี ชีววิทยา รังสีวิทยา รวมถึงเรื่องของอาวุธนิวเคลียร์ เปิดเผยว่า เขาได้รับคำร้องขอจากจางบน LinkedIn เมื่อ 5 ปีก่อน   •  วิธีการในขั้นต่อมาคือ หลังจากที่จับได้ว่าเป้าหมายหูตาลุกวาวกับคำว่า ‘โอกาสทางธุรกิจ’ ก็จะเสนอให้เดินทางมาที่จีนเพื่อไปร่วมงานสัมมนาสักอย่าง โดยที่เขาจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด โดยหากเป้าหมายตกหลุมพราง เดินทางไปถึงที่แล้ว ก็จะเจอวิธีการในการล้วงข้อมูล   •  จุดอ่อนของ LinkedIn สำหรับงานด้านความมั่นคงคือ การเป็นแพลตฟอร์มที่ ‘มืออาชีพ’ พยายามที่จะใส่ข้อมูลลงไปให้มากที่สุดเพื่อความน่าเชื่อถือ มันทำให้เป็นการง่ายที่จะคัดกรองหาเป้าหมายที่มีสิ่งที่ต้องการอยู่ เช่น กรณีของจางที่จะเน้นเจาะในเรื่องของความมั่นคง ก็กรองเป้าหมายให้เหลือคนที่เขาเชื่อว่าจะมีสิ่งที่เขาต้องการ     ใครหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราวของสายลับระดับตำนานชาวอังกฤษอย่าง เจมส์ บอนด์ เจ้าของรหัส 007…

Meta ประกาศลบบัญชี IO จีน ออกจากเฟซบุ๊ก 7,700 บัญชี พบกระจายตัวกว่า 50 แพลตฟอร์ม

Loading

  บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจัดการปฏิบัติการ IO ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา มีพฤติกรรมอวยจีน-ด่าตะวันตก พบเชื่อมโยงกับผู้บังคับใช้กฎหมายในจีน   รายงานด้านความปลอดภัยประจำไตรมาสที่ 2 ของ Meta เจ้าของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม เผยว่า ได้มีการตรวจพบปฏิบัติการข่าวสาร หรือ ไอโอ (IO) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา และได้ทำการลบบัญชีปลอมบนเฟซบุ๊กไปราว 7,700 บัญชี และบัญชีปลอมบนอินสตาแกรมอีก 15 บัญชี   สำหรับพฤติกรรมของบัญชีเหล่านี้ จะมีเนื้อหาเชิงบวกต่อจีนและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีการวิพากษ์วิจารณ์การนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก อีกทั้งยังโจมตีผู้วิจารณ์รัฐบาลจีน รวมไปถึงสื่อมวลชนและนักวิชาการ   ปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของจีนในลักษณะนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า สแปมมูฟลาจ (Spamouflage) ที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่งพยายามจัดการมาตั้งแต่ปี 2019 โดยเครือข่ายนี้มีการเล็งเป้าไปยังหลายพื้นที่ เช่น ไต้หวัน สหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประชากรที่ใช้ภาษาจีนทั่วโลก   Meta ยังพบว่าปฏิบัติการดังกล่าวกระจายตัวไปกว่า 50 แพลตฟอร์ม ทั้งแพลตฟอร์มหลักอย่าง Facebook, Instagram, TikTok,…

อิรักจะปลดแบน Telegram หลังเจ้าของแพลตฟอร์มยอมให้ความร่วมมือจัดการข้อมูลรั่ว

Loading

  รัฐมนตรีกระทรวงโทรคมนาคมของอิรักเผยว่าจะปลดแบน Telegram หลังเจ้าของแพลตฟอร์มยินดีทำตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยของรัฐบาลแล้ว   โดยรัฐบาลกล่าวว่าบริษัทที่เป็นเจ้าของ Telegram ยอมเผยข้อมูลขององค์กรที่ทำข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหลุดรั่วออกไป และยังแสดงความพร้อมที่จะสื่อสารกับรัฐบาลด้วย   Telegram ออกมาชี้ว่าการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นสิ่งที่ละเมิดข้อตกลงการใช้งานอยู่แล้ว และมักจะถูกนำออกโดยผู้ดูแลอยู่เสมอ อีกทั้งบริษัทยังไม่มีนโยบายที่จะมอบข้อมูลให้กับผู้ใดด้วย   ก่อนหน้านี้อิรักประกาศแบน Telegram โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยและการรั่วไหลของข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐบาลและประชาชนทั่วไป   สำนักข่าว Reuters ชีัว่า Telegram ได้รับความนิยมแพร่หลายในอิรักในฐานะที่เป็นสื่อกลางการสนทนาและแหล่งข้อมูลข่าวสาร บาง ‘ช่อง’ (Channel) ในแอปมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล     ที่มา   Reuters       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                      แบไต๋             …

อิรักปิดกั้น Telegram ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล

Loading

  กระทรวงการสื่อสารอิรักเผยว่าได้ปิดกั้นแอป Telegram ด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคงแห่งชาติ และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล   สำนักข่าว Reuters ชี้ว่า Telegram ได้รับความนิยมในหมู่ชาวอิรักซึ่งใช้ในการสื่อสารและยังเป็นแหล่งข่าวสารและเนื้อหาต่าง ๆ   บางช่องบน Telegram ในอิรักมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล ทั้ง ชื่อ ที่อยู่ และความสัมพันธ์เชิงครอบครัว   กระทรวงการสื่อสารเผยว่าได้เคยขอให้แอปปิดแพลตฟอร์มที่ปล่อยข้อมูลขององค์กรของรัฐและข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมือง แต่ Telegram ไม่ตอบสนองต่อคำขอดังกล่าว     ที่มา Reuters         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                    แบไต๋                   …

“DPS” กลไกกำกับแพลตฟอร์มดิจิทัล หวังลดโกงออนไลน์อุ้มคนไทย

Loading

  กำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ในวันที่ 21 ส.ค นี้  สำหรับ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS  (Digital Platform Services)   หลังได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.65 ซึ่งทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ภายใต้ การกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนกฎหมายฉบับนี้   การที่รัฐต้องตรากฎหมายนี้ออกมาก เพื่อหวังให้เป็นกลไกในการดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ให้มีความโปร่งใส และมีแนวทางในการคุ้มครองเยียวยาแก่ผู้ใช้บริการ ได้อย่างเป็นธรรม!?!   หลังจากที่ผ่าน ๆ มา คนไทยที่ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล พอเกิดความเสียหาย ก็ไม่รู้ต้องดำเนินการอย่างไร ต้องแจ้งไปที่ไหน หรือติดต่อผู้ให้บริการได้อย่างไร เพื่อขอความช่วยเหลือ!!   ภาพ pixabay.com   เช่นหลังจากในปีที่ผ่านมามีการร้องเรียนเรื่องการใช้งานแพลตฟอร์ม และถูกฉ้อโกง ซื้อขายออนไลน์ กว่า 6 หมื่นเรื่อง!! แล้วใครบ้างล่ะ? ที่เข้าข่ายต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของก.ม. นี้?   หากอธิบายง่าย ๆ ก็คือ …