‘Royal ransomware’ โจมตีระบบไอทีเมืองแดลลัส

Loading

  ในวันนี้ ผมขอหยิบยกข่าวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐเกี่ยวกับกรณีที่เมืองแดลลัส (Dallas) รัฐเท็กซัส ถูกโจมตีจาก “Royal ransomware” ทำให้ต้องปิดระบบไอทีบางส่วนชั่วคราวเพื่อเป็นการสกัดการแพร่กระจายของการโจมตีในครั้งนี้   อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า เมืองแดลลัส เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของสหรัฐ มีประชากรประมาณ 2.6 ล้านคน ซึ่งจุดนี้เองน่าจะเป็นสาเหตุที่ให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลือกเมืองแดลลัสเป็นเป้าหมายในการโจมตี   โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่า ระบบการสื่อสารของตำรวจและระบบไอทีของเมืองถูกชัดดาวน์ เนื่องจากมีความสงสัยว่ามีการบุกโจมตีของแรนซัมแวร์   จากสถานการณ์นี้มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ของ 911 ต้องจดบันทึกรายงานเหตุต่าง ๆ ที่ประชาชนแจ้งเข้ามาและส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแทนการส่งผ่านระบบสั่งการทางคอมพิวเตอร์โดยตรง และมีการปิดเว็บไซต์ของกรมตำรวจแดลลัสเพื่อความปลอดภัยก่อนกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งในเวลาต่อมา   นายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลเมืองได้รับการแจ้งเหตุการณ์การโจมตีตามแผนการตอบสนองภัยคุกคาม (IRP) โดยเครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยของแดลลัสได้แจ้งเตือนไปยังศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (SOC) ว่ามีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์และได้รับการยืนยันว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนหนึ่งถูกแฮ็กซึ่งส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ  รวมถึงเว็บไซต์กรมตำรวจอีกด้วย   โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดการแยกแรนซัมแวร์เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เริ่มจากการลบแรนซัมแวร์ออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่ติดไวรัสและกู้คืนบริการต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาใช้งานได้อย่างปกติ และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็เร่งประเมินผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับประชาชน   กล่าวคือ หากประชาชนพบกับปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการสามารถโทรติดต่อ 311 แต่ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินให้โทรติดต่อ 911 และมีผลกระทบกับระบบศาลของเมืองแดลลัสที่ต้องยกเลิกการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนเพราะระบบไอทีใช้งานไม่ได้   มีรายงานเกี่ยวกับการออกปฏิบัติการของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์พบว่า รัฐบาลท้องถิ่นถูกแรนซัมแวร์บุกโจมตีเพิ่มเรื่อย ๆ…

FBI เผย หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญกว่า 860 แห่งถูกโจมตีจากแรนซัมแวร์ในปีที่แล้ว

Loading

  FBI เผยข้อมูล 2022 Internet Crime Report พบตัวเลขการโจมตีของแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นกว่า 860 แห่ง     FBI ได้ให้คำแนะเบื้องต้นกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อป้องกันการโจมตีจากแรนซัมแวร์ดังนี้ –  อัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ –  จัดอบรมผู้ใช้งานให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรนซัมแวร์และการโจมตีแบบฟิชชิง –  ตรวจสอบการใช้งาน Remote Desktop Protocol (RDP) อยู่ตลอดเวลา –  ทำการสำรองข้อมูลแบบออฟไลน์   ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/security/fbi-ransomware-hit-860-critical-infrastructure-orgs-in-2022/       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                      TechTalkThai             …

แรนซัมแวร์ ‘HardBit’ แฮ็กข้อมูลประกันเรียกเงินค่าไถ่

Loading

    วันนี้ผมขอพูดถึงแรนซัมแวร์ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า HardBit ซึ่งตอนนี้ได้รับการพัฒนาเป็นเวอร์ชัน 2.0 และเวอร์ชันนี้เองที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ใช้โน้มน้าวเหยื่อให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันทั้งหมด   เพื่อให้แฮ็กเกอร์สามารถจัดการกับข้อมูลและการกำหนดเงินค่าไถ่เพื่อช่วยให้บริษัทประกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามคำกล่าวอ้างของแฮ็กเกอร์   HardBit Ransomware เวอร์ชันแรกมีการเปิดตัวช่วงเดือนต.ค. 2565 ขณะที่เวอร์ชัน 2.0 ออกตามมาโดยใช้เวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้น โดยหลักการทำงานของ HardBit Ransomware จะมีความแตกต่างการแรนซัมแวร์ส่วนใหญ่ตรงที่จะไม่ใช่ฟีเจอร์ที่ทำให้ข้อมูลในไซต์รั่วไหล   ถึงแม้ว่าแฮ็กเกอร์จะขโมยข้อมูลของเหยื่อและขู่ว่าจะปล่อยข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีการจ่ายเงินค่าไถ่ก็ตาม นอกจากนี้ HardBit 2.0 ยังสามารถปรับเปลี่ยนการลงทะเบียนเพื่อปิดใช้งานการตรวจสอบพฤติกรรมแบบเรียลไทม์ของ Windows Defender กระบวนการในการสแกน และการป้องกันการเข้าถึงไฟล์ เป็นต้น   มัลแวร์ยังมีการกำหนดเป้าหมายทั้งหมด 86 กระบวนการที่จะทำให้ไฟล์ที่มีความละเอียดอ่อนนั้นมีความพร้อมและสามารถรองรับการเข้ารหัส โดยการเพิ่มโฟลเดอร์ “Startup” และลบสำเนา Volume Shadow เพื่อทำให้การกู้คืนข้อมูลยากขึ้น   โดยองค์ประกอบที่น่าสนใจเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารหัสคือ แทนที่จะเขียนข้อมูลที่เข้ารหัสเพื่อคัดลอกไฟล์และลบต้นฉบับเหมือนที่แรนซัมแวร์ตัวอื่นๆ แต่ HardBit 2.0 เลือกที่จะเปิดไฟล์และเขียนทับเนื้อหาด้วยข้อมูลที่เข้ารหัส วิธีการนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญกู้คืนไฟล์ต้นฉบับได้ยากมากขึ้น และทำให้การเข้ารหัสเร็วขึ้น   HardBit…

การป้องกัน Ransomware หลังแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่กลับมาระบาดอีกแล้ว!

Loading

ภาพ : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB   การป้องกัน Ransomware หลังแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่กลับมาระบาดอีกแล้ว!   โดยพ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ออกเตือน หลังพบแนวโน้มองค์กร บริษัทติดแรมซัมแวร์มากขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งจะมาล็อกไฟล์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ จนทำให้ไม่สามารถเปิดไฟล์ใด ๆ ได้ โดยหากต้องการกู้ข้อมูลคืนมา จะต้องจ่ายเงินค่าไถ่ตามที่ผู้โจมตี หรือมิจฉาชีพเรียกร้อง จำนวนเงินค่าไถ่ก็จะแตกต่างกันไป และการชำระเงินจะต้องชำระผ่านระบบที่มีความยากต่อการตรวจสอบ หรือติดตาม เช่น การโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์, การชำระเงินออนไลน์แบบเติมเงินโดยใช้บัตรกำนัล (Paysafecard), เงินสกุลดิจิทัล เป็นต้น   พนักงานสอบสวน บช.สอท. ได้รับแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายว่า บริษัทของผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากการถูกมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ถูกล็อกไฟล์ข้อมูล ไม่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ มีการเรียกค่าไถ่เป็นบิตคอยน์ (Bitcoin) มูลค่าหลายล้านบาท กรณีดังกล่าว บช.สอท. ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)…

How to วิธีเปิดใช้ระบบป้องกัน มัลแวร์เรียกค่าไถ่ บน Windows 11

Loading

    ใน Windows 11 มีโหมดให้เราสามารถเปิดโหมดป้องกันมัลแวร์เรียกค่าไถ่ได้ เซ็ตได้ทั้งโฟลเดอร์ที่เราต้องการป้องกัน หรือป้องกันผ่านแอปต่าง ๆ เป็นของดีของ Windows 11 ที่หลายคนมองข้าม ไปดูวิธีกันครับ   วิธีเปิดใช้งานการป้องกันแรนซัมแวร์บน Windows 11   1. ไปที่ปุ่ม Start พิมพ์คำว่า Windows Security แล้วกด Enter   2. กดเลือกที่ Virus & threat protection   3. ตรงหัวข้อคำว่า “Ransomware protection” กดเลือกที่ Manage ransomware protection     4. ตรงคำสั่ง Controlled folder access กดเลือกเป็น On เป็นอันเสร็จ    …

“Hive” แก๊งแรนซัมแวร์ ถูกแฮ็ก โดย “FBI”

Loading

Image Credit : cyware.com   สามารถช่วยเหลือเหยื่อกว่า 300 ราย ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้หลุดพ้นจากกลอุบายจากกลุ่มแรนซัมแวร์ Hive ได้สำเร็จ   ในการแถลงข่าวถึงการปฏิบัติการครั้งนี้ นำโดย Merrick Garland อัยการสูงสุดสหรัฐฯ, Christopher Wray ผู้อำนวยการ FBI และ Lisa Monaco รองอัยการสูงสุดสหรัฐฯ ร่วมกันแถลงว่า   “แฮกเกอร์ของรัฐบาลได้บุกเข้าไปในเครือข่ายของ Hive และทำให้แก๊งนี้อยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง โดยปฏิบัติการครั้งนี้เราได้แอบขโมยกุญแจดิจิทัลที่ Hive ใช้เพื่อปลดล็อกข้อมูลขององค์กรที่กำลังตกเป็นเหยื่อ”   หลังปฏิบัติการสำเร็จ เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการแจ้งเตือนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อทราบล่วงหน้า เพื่อให้เร่งดำเนินการป้องกันระบบของตนก่อนที่ Hive จะเรียกร้องเงินค่าไถ่ โดยทางเจ้าที่หน้าได้ส่งมอบคีย์สำหรับถอดรหัสแก่เหยื่อในการปลดล็อก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือโรงเรียนในเขตเท็กซัส ซึ่งสามารถช่วยได้ทันโดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินค่าไถ่จำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และโรงพยาบาลหลุยเซียน่าจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นี่เป็นเพียงแค่เหยื่อในบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับการช่วยเหลือได้ทัน   Hive เป็นหนึ่งในกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่มีจำนวนและมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดกลุ่มหนึ่งซึ่งขู่กรรโชกธุรกิจระหว่างประเทศด้วยการเข้ารหัสข้อมูลและเรียกร้องการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลจำนวนมหาศาล ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา…