อ้างตำรวจไซเบอร์ เปิดเพจรับแจ้งความ หลอกผู้เสียหายซ้ำ แนะจุดสังเกตเป็นมิจฉาชีพ

Loading

วันที่ 9 ม.ค. 67 เรียกว่าแก๊งมิจฉาชีพ ปรับเล่ห์เหลี่ยมมาหลอกเงินจากคนที่หลงเชื่อไม่เว้นแต่ละวัน ล่าสุด พบว่ามีการปลอมเฟซบุ๊กเป็นหน่วยงานของตำรวจไซเบอร์ เพื่อรับแจ้งความออนไลน์ เหมือนเป็นการหลอกผู้เสียหายซ้ำไปอีก

ปลัดมท. เตือน!อย่าหลงเชื่อเพจรับทำบัตรประชาชนออนไลน์

Loading

‘บัตรประชาชนไม่ใช่ใครอ้างจะทำก็ทำได้’ ปลัด มท. ย้ำเตือนสังคมอย่าหลงเชื่อแฟนเพจรับทำบัตรประชาชน หรือใครก็ตามที่มาแอบอ้างช่วยทำบัตรประชาชน พร้อมย้ำ สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 พร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และประสานให้ดำเนินการกับผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง

ดีอีเอสเตือนระวังมิจฉาชีพหลอกทำใบขับขี่ปลอม

Loading

  ดีอีเอสพบมิจฉาชีพแอบอ้างกรมขนส่งฯ หลอกทำใบขับปขี่ปลอมที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com ระวังถูกล้วงเอาข้อมูลสำคัญ ส่วนสถานการณ์ข่าวปลอม “การลงทุน-สินเชื่อกู้ยืม” ยังว่อน เตือนอย่าเสียรู้โจร เช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ   นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,209,611 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 279 ข้อความ   ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 244 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 35 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 180 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 112 เรื่อง   ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น…

กรมพัฒนาธุรกิจ แจงกลโกง มิจฉาชีพอ้าง ชื่อปลอมโลโก้

Loading

  นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่า มีผู้ไม่หวังดีโทรศัพท์หรือส่งข้อความไปยังผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่สร้างปลอมขึ้นมาอย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) และแอปพลิเคชันไลน์ (Line) โดยแอบอ้างใช้ชื่อรหัสประจำตัว (Username) เป็นชื่อกรม และใช้โลโก้ของกรมเป็นรูปโปรไฟล์ พร้อมขอตรวจสอบธุรกิจเรื่องต่าง ๆ   “ขอยืนยันว่า กรมไม่มีนโยบายติดต่อหรือทักหาประชาชนก่อน โดยที่ประชาชนไม่ได้สอบถามข้อมูลมา รวมถึงไม่ได้ให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจเป็นตัวเงิน ขอฝากเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง หากไม่ได้ดำเนินการติดต่อใด ๆ กับกรม แต่ได้รับข้อมูลหรือการติดต่อจากบุคคลในลักษณะดังกล่าว ต้องพิจารณาให้ดีก่อน อย่าหลงเชื่อ หรือกดไฟล์เอกสารที่แนบมาโดยไม่สังเกตความผิดปกติ และปฏิเสธการให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลอื่น”   นายทศพล กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพเปลี่ยนกลวิธีการหลอกลวงให้แนบเนียนยิ่งขึ้น โดยได้แอบอ้างเอาหน่วยงานราชการมาใช้สร้างความเสียหาย การกระทำลักษณะดังกล่าวเรียกว่า ฟิชชิง (Phishing) เป็นการหลอกลวงผ่านช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงแต่ละบุคคล   จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการเปิดรับช้อมูลจากแหล่งที่ไม่มั่นใจ โดยสังเกตได้จากถ้าได้รับอีเมลควรเป็นชื่อที่รู้จักหรือติดต่อไว้เท่านั้น หากระบุให้คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์ ก็ต้องแน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติ เมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่ลิงก์ URL จะต้องมี URL ที่ตรงกันกับหน่วยงานที่ติดต่อเท่านั้น อีกทั้ง การเข้าใช้งานในเว็บไซต์ควรพิมพ์…