อย่ากดเด็ดขาด! การบินไทย เตือน SMS ส่งลิงก์ปลอม แจกบัตรรอยัล ออร์คิดฯ

Loading

  อย่ากดเด็ดขาด! การบินไทย เตือนมิจฉาชีพส่ง SMS แนบลิงก์ปลอม แจกบัตรรอยัล ออร์คิด พลัส แพลทินัม ยันไม่มีนโยบายติดต่อลูกค้าให้ทำธุรกรรมทุกกรณี   วันที่ 22 ส.ค. 2566 การบินไทย ออกประกาศแจ้งเตือน ระบุว่า กรณีที่ปรากฏว่ามีการส่งต่อลิงก์ทาง SMS ให้เพิ่มเพื่อน Line : Thai Airways โดยมีผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่การบินไทยโทรมาให้เพิ่มเพื่อนและยืนยันตัวตน เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากบริษัทฯ และบัตรสมาชิกโปรแกรมสะสมไมล์รอยัล ออร์คิด พลัส แพลทินัม ของบริษัทฯ จากนั้นได้ให้ผู้เสียหายติดตั้ง Mobile Application การบินไทย   บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งเตือนลูกค้าและบุคคลทั่วไปว่า บริษัทฯ ไม่มีนโยบายการส่ง SMS, ลิงก์ หรือให้ติดตั้ง Mobile Application เพื่อแจ้งสิทธิประโยชน์ต่อลูกค้าหรือทำธุรกรรม ในทุกกรณี   ขอความกรุณาไม่เปิดอ่านข้อมูลในลิงก์ดังกล่าวเพื่อป้องกันภัยทางด้านไซเบอร์…

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย 6 แอปปลอม ควบคุมมือถือระบาดหนัก พบผู้เสียหายจำนวนมาก

Loading

  ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย 6 แอปปลอม ควบคุมมือถือระบาดหนัก พบผู้เสียหายจำนวนมาก   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากการตรวจสอบในระบบศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ พบว่าในช่วงที่ผ่านมามีผู้เสียหายหลายรายได้รับข้อความสั้น (SMS) และได้รับสายโทรศัพท์จากมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน โดยให้ทำการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ของหน่วยงานปลอมนั้น ๆ   จากนั้นจะสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายก่อนที่จะส่งลิงก์เว็บไซต์ปลอมให้ผู้เสียหายติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมาแล้วหลอกลวงให้ทำตามขั้นตอน ตั้งค่าให้สิทธิการเข้าถึง และให้สิทธิควบคุมโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายใช้งาน หลอกลวงให้กรอกรหัส PIN 6 หลัก จำนวนหลายครั้ง หรือหลอกลวงให้โอนเงินค่าธรรมเนียมในจำนวนเล็กน้อย เช่น โอนเงินจำนวน 10 บาท เพื่อดูรหัสการทำธุรกรรมธนาคารของผู้เสียหาย แล้วเข้าควบคุมโทรศัพท์ของผู้เสียหายแล้วโอนเงินออกจากบัญชี จำนวนกว่า 6 หน่วยงาน ดังนี้   1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้รับข้อความสั้น (SMS) หรือได้รับสายโทรศัพท์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า แจ้งผู้เสียหายว่าจะได้รับเงินค่าชดเชยหม้อแปลงไฟฟ้า หรือคำนวณเงินค่า FT ผิดพลาด หรือได้รับเงินคืนค่าประกันไฟฟ้า เป็นต้น   2. กรมที่ดิน…

ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง ป้องกันมิจฉาชีพแอบอ้างผู้ให้บริการทางการเงิน

Loading

  ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง เพื่อป้องกันการโดนหลอกโดนขโมยเงินโดยมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน ซึ่งยังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้คำแนะนำให้คุณลองตรวจสอบ 3 สิ่งที่ต้องทำ ก่อนกู้เงินออนไลน์   ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง   1. เช็กว่าเป็นผู้ให้บริการตัวจริงหรือไม่ โดยตรวจสอบได้ที่ “เช็กแอปเงินกู้” จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย คลิกที่นี่ https://www.bot.or.th/th/involve-party-license-loan.html   2. โทรเช็กตรวจสอบกับผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อ ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ปรากฎบนเว็บไซด์ ก่อนตัดสินใจกู้เงิน   3. ตั้งสติหน่อยระวังตัวก่อน ถ้าผู้ให้กู้รายใดแจ้งให้โอนเงินก่อน ให้คิดไว้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงแน่นอน   ดังนั้นใครคิดจะกู้เงินออนไลน์ อย่าลืมตรวจสอบด้วย 3 ข้อที่ดังกล่าวเพื่อไม่ให้โดนหลอก     อ้างอิง   ธนาคารแห่งประเทศไทย         ————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี ขโมยข้อมูลส่วนตัวสร้างความเสียหายกับเหยื่อ

Loading

    โฆษก บช.สอท.เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี แต่กลับเอาข้อมูลส่วนตัวเหยื่อไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย   วันนี้ (27 มี.ค.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอม หรือลอกเลียนแบบเพจเฟซบุ๊กของตำรวจไซเบอร์ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หลอกลวงประชาชน อ้างสามารถช่วยเหลือติดตามคดี แต่กลับนำข้อมูลส่วนบุคคลไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ดังนี้     ได้รับรายงานจาก กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าได้ตรวจสอบพบเพจเฟซบุ๊กปลอมชื่อ “สืบสวน สอบสวน การป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยี” ได้นำตราสัญลักษณ์ของของหน่วยงานมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงประชาชน ภายในเพจดังกล่าวพบมีการคัดลอกรูปภาพ ข้อความ การเเจ้งเตือนภัยออนไลน์ต่างๆ และภารกิจของตำรวจไซเบอร์ของเพจจริงมาใช้ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเพจดังกล่าวเชื่อว่าเป็นเพจจริง เมื่อมีประชาชนติดต่อเข้าไปทาง Facebook Messenger มิจฉาชีพจะส่งไอดีไลน์ พร้อมลิงก์เพิ่มเพื่อนซึ่งใช้บัญชีไลน์ชื่อว่า “ศูนย์ช่วยเหลือ” โทร 1567 (แท้จริงแล้วเป็นเบอร์ของศูนย์ดำรงธรรม) แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ สามารถช่วยเหลือและติดตามคดีที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ จากนั้นจะขอข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด…

สรรพสามิตเตือนภัย ‘มิจฉาชีพ’ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงหรือรีดไถเงิน

Loading

    กรมสรรพสามิตเตือนภัยผู้ประกอบการและประชาชนอย่าหลงเชื่อ “มิจฉาชีพ” แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงหรือรีดไถเงินแนะตรวจสอบข้อมูลก่อนทุกครั้ง   16 ก.พ. 2566 – นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า “ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้ไม่หวังดี” หรือ “มิจฉาชีพ” หลอกหลวงประชาชนในหลากหลายรูปแบบเพิ่มเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี จึงได้มอบนโนบายให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ช่วยกันเฝ้าระวังและให้ข้อมูลกับ พี่น้องประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   หากผู้ประกอบการหรือประชาชนได้รับการแอบอ้างจากผู้ไม่หวังดีหรือมิจฉาชีพว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเข้าจับกุมตรวจค้นในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงตัวโดยต้องแต่งเครื่องแบบกรมสรรพสามิต พร้อมแสดงบัตรข้าราชการในขณะปฏิบัติหน้าที่ และดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบการตรวจค้นทุกประการ และ เมื่อจับกุมแล้วต้องทำบันทึกจับกุม สำหรับประเด็นการเปรียบเทียบปรับ ตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการเปรียบเทียบคดี พ.ศ. 2560 หมวด 2 ข้อ 8 วรรค 2 ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องเปรียบเทียบคดีให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด สามารถไปดำเนินการเปรียบเทียบคดีนอกสถานที่ตั้งปกติของสำนักงานได้โดยใช้สถานที่ของหน่วยงานราชการอื่นแทน   ในกรณีการหลอกลวงทางโทรศัพท์ ให้ Add line หรือผ่านทางช่องทางออนไลน์ใด ๆ ตามที่ แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตนั้น ขอให้ผู้ประกอบการและประชาชนโปรดระมัดระวัง โดยสามารถตรวจสอบกลับมาที่สำนักงานสรรพสามิตภาค หรือพื้นที่ หรือกรมสรรพสามิต เพื่อความปลอดภัย…

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค

Loading

  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชน หลังได้รับแจ้งว่ามีบุคคลแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค ติดต่อแจ้งความกรณีซื้อขายวัคซีนผิดกฎหมาย พร้อมอำนวยความสะดวกแจ้งความออนไลน์ให้ หากไม่สะดวกไปแจ้งความด้วยตนเอง ย้ำอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ   วันนี้ (28 ธันวาคม 2565) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้รับแจ้งจากประชาชนหลายราย ว่ามีบุคคลอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค ติดต่อไปยังเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว   โดยแจ้งว่าพบการกระทำผิดกรณีซื้อขายวัคซีนผิดกฎหมาย ให้ผู้เสียหายเดินทางไปแจ้งความ หากไม่สะดวกผู้แอบอ้างยินดีรับอาสาแจ้งความออนไลน์ให้ โดยมีการอ้างอิงเบอร์โทรกลับหมายเลข 02-590-3000 ซึ่งเป็นเบอร์โทรศัพท์ของกรมควบคุมโรค เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และยังสามารถระบุเลขบัตรประจำตัวของประชาชนที่โทรไปหาได้อย่างถูกต้อง   ย้ำเตือน!..ว่าอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้โดยเด็ดขาด ห้ามให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ หรือโอนเงินให้หรือดำเนินการใด ๆ ผ่านระบบอัตโนมัติโดยเด็ดขาด   “กรมควบคุมโรค ไม่มีการดำเนินการใดๆหรือมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกใด ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการโอนเงินทุกชนิด จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโดยเด็ดขาด ส่วนกรณีเบอร์ติดต่อ 02 590 3000 ซึ่งเป็นเบอร์กรมควบคุมโรคนั้น ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ของมิจฉาชีพที่พยายามสร้างความน่าเชื่อถือ กรมควบคุมโรคจะประสานผู้เชี่ยวชาญหาทางป้องกันต่อไป” นายแพทย์ธเรศกล่าว   นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค…