สื่อนอกรายงาน “กล้องวงจรปิดสัญชาติจีน” บางยี่ห้อ ง่ายต่อการถูกแฮ็ก

Loading

    บีบีซีรายงาน “กล้องวงจรปิดที่ผลิตในจีนบางยี่ห้อ” มีข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่ทำให้มันสามารถถูกแฮ็กได้ง่าย   รายการพาโนรามา (Panorama) ของบีบีซี รายงานว่า “กล้องวงจรปิดที่ผลิตในจีนบางยี่ห้อ” มีข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่ทำให้มันสามารถถูกแฮ็กได้ง่าย และอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของประชาชน ไปจนถึงความมั่นคงระดับชาติ เพราะอย่างในสหราชอาณาจักรเอง ก็มีการใช้กล้องวงจรปิดจีนทั้งในอาคารสำนักงาน ตามท้องถนน และแม้แต่อาคารของรัฐ   บีบีซีได้ร่วมมือกับแฮ็กเกอร์จาก IPVM องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านกล้องวงจรปิดในสหรัฐฯ เพื่อทดลองว่า กล้องวงจรปิดยี่ห้อใดบ้าง ที่สามารถแฮ็กได้ง่าย โดยพบว่ามี 2 แบรนด์ชั้นนำที่มีข้อบกพร่อง     ในการทดลอง ได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ในสตูดิโอมืด ๆ ของบีบีซี พนักงานชายคนหนึ่งนั่งอยู่หน้าแล็ปท็อปและป้อนรหัสผ่าน ปรากฏว่า ในอีกประเทศซึ่งห่างออกไปหลายพันกิโลเมตร แฮ็กเกอร์กำลังเฝ้าดูทุกสิ่งที่เขาพิมพ์ได้   แฮ็กเกอร์ที่ร่วมในการทดลองบอกว่า พบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยในกล้องวงจรปิดติดเพดานซึ่งผลิตโดยบริษัท Hikvision และ Dahua ของจีน   “ตอนนี้ฉันเป็นเจ้าของอุปกรณ์นั้นแล้ว ฉันจะทำอะไรก็ได้ตามต้องการ ฉันปิดมันได้… หรือฉันสามารถใช้มันเพื่อดูสิ่งที่เกิดขึ้นที่ BBC ก็ได้” แฮ็กเกอร์กล่าว   ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า…

นายกฯ ออสเตรเลียแนะนำ “ปิดมือถือวันละ 5 นาที” ลดความเสี่ยงการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้

Loading

  Anthony Albanese นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียแถลง ในระหว่างการประกาศแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานดูแลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ โดยพูดถึงปัญหาและความสำคัญที่มากขึ้น ของการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ   เนื้อหาตอนหนึ่งเขาบอกว่าการดูแลความปลอดภัยนี้ เป็นสิ่งที่ประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือ ซึ่งเขาแนะนำวิธีการง่าย ๆ ที่ทำได้ทุกวันนั่นคือ ปิดโทรศัพท์ทุกคืน เป็นเวลา 5 นาที เขาแนะนำว่าอาจทำระหว่างไปแปรงฟันก่อนเข้านอนก็ได้   คำแนะนำนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้ไม่ได้การันตีว่าโทรศัพท์จะปลอดภัยจากการถูกโจมตี แต่มัลแวร์จำนวนมากไม่ได้ฝังอยู่ในหน่วยความจำถาวร แต่ทำงานอยู่ในหน่วยความจำเท่านั้น เมื่อบูตเครื่องใหม่มัลแวร์จึงหายไป ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์บอกว่า ก็ทำให้ต้นทุนในการดึงข้อมูลของแฮ็กเกอร์ผ่านมัลแวร์ที่มักรันอยู่เบื้องหลัง มีมูลค่าสูงขึ้น และทำได้ลำบากมากขึ้นนั่นเอง     ที่มา: 7News Australia       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                    Blognone by arjin         …

เปิดเทคนิคการโจมตี ด้วย ‘ChatGPT’ แบบใหม่

Loading

  ปัจจุบัน ChatGPT ได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานเป็นวงกว้างและคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจุดนี้เองนี้ที่ทำให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์มองเห็นโอกาสและช่องโหว่ในการบุกเข้าโจมตีเหยื่อ   ในวันนี้ผมจะขออธิบายเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่นี้เพื่อเป็นการตั้งรับกับสิ่งที่เราต้องเผชิญในเร็ว ๆ นี้กันนะครับ   ก่อนอื่นเลยผมขอพูดถึงเรื่องเทคนิคการโจมตีทางไซเบอร์แบบใหม่ที่ได้รับการขนานนามในวงการว่า “AI package hallucination” โดยได้รับการเปิดเผยจากทีมนักวิจัยว่า มีการใช้โมเดลภาษา OpenAI ChatGPT ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถปล่อยสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าไปในระบบที่นักพัฒนาทำงานอยู่   ChatGPT จะสร้างสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น URL ตัวอย่างอย่างอิงอ้าง (Reference) ไลบรารีโค้ด (Library code) และฟังก์ชันที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมาใหม่ โดยการปลอมแปลงโมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM ซึ่งได้มีการรายงานแจ้งเตือนและอาจเป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการเทรนนิ่งก่อนหน้านี้แล้ว   ทั้งนี้แฮ็กเกอร์จะใช้ความสามารถสร้างรหัสของ ChatGPT และใช้ประโยชน์จากไลบรารีโค้ดที่สร้างขึ้นเป็นแพ็กเกจเพื่อหลอกลวงและเผยแพร่ออกสู่โลกไซเบอร์ผ่าน typosquatting หรือ masquerading   เทคนิคนี้จะดำเนินการผ่านการตั้งคำถามกับ ChatGPT เพื่อขอแพ็คเกจการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโค้ดและขอคำแนะนำแพ็กเกจที่หลากหลาย รวมไปถึงการขอบางแพ็คเกจที่ไม่ได้เผยแพร่ในที่เก็บข้อมูลที่ถูกกฏหมาย   จากนั้นจะเริ่มกระบวนการต่อไปคือการแทนที่แพ็กเกจเหล่านี้ทั้งหมดด้วยแพ็คเกจปลอมต่าง ๆ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะหลอกล่อผู้ที่มีแนวโน้มจะใช้ตามคำแนะนำของ ChatGPT   ทั้งนี้ จากการทำ…

Group-IB เตือนแฮ็กเกอร์ได้ล็อกอิน ChatGPT ไปมากขึ้นเรื่อยๆ

Loading

  บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ Group-IB ออกรายงานเหตุข้อมูลรั่วไหลจากมัลแวร์ขโมยข้อมูล พบว่า ช่วงหลังมัลแวร์ที่อาละวาดหนักๆ 3 ตัว คือ Raccoon , Vidar , และ Redline ดึงข้อมูลล็อกอิน ChatGPT ไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามความนิยมในบริการ โดยรวมพบล็อกอิน ChatGPT หลุดกว่าแสนรายการแล้ว   ไม่มีข้อมูลว่ามัลแวร์เหล่านี้มุ่งดึงข้อมูลเว็บ ChatGPT เป็นการเฉพาะ แต่การใช้งาน ChatGPT ในช่วงหลังเกี่ยวกับงานมากขึ้นเรื่อยๆ รายงานนี้ก็เป็นเครื่องเตือนใจว่าควรดูแลความปลอดภัย ChatGPT ให้ดี และรีเซ็ตรหัสผ่านหากมีเหตุข้อมูลรั่วไหล การตั้งค่าเริ่มต้นของ ChatGPT จะเก็บประวัติการแชตเป็นค่าเริ่มต้น หากพนักงานใส่ข้อมูลที่เป็นความลับในแชตก็อาจจะทำให้ข้อมูลเหล่านี้หลุดไปยังคนร้ายด้วย ที่มา – Group-IB   ——————————————————————————————————————————————————————————   ที่มา : blognone     /     วันที่เผยแพร่ 21 มิ.ย.66 Link : https://www.blognone.com/node/134461

สหรัฐเจอฤทธิ์แก๊งโจรไซเบอร์รัสเซีย เจาะระบบผ่านแอปโอนถ่ายข้อมูล

Loading

  หน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง โดนโจมตีจากแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย โดยอาศัยช่องทางผ่านแอปพลิเคชันดาวน์โหลดข้อมูลยอดนิยม   เอริก โกลด์สตีน ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารสำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐ หรือ CISA แถลงเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2566 ว่า ขณะนี้ ทางสำนักงานกำลังให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานราชการของรัฐบาลกลางหลายแห่ง ที่พบการบุกรุกจากภายนอก โดยผ่านช่องทางการใช้งานแอปพลิชัน MOVEit   สำนักงาน CISA กำลังประเมินอย่างเร่งด่วนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หนึ่งในหน่วยงานที่ยืนยันมาแล้วว่าโดนแฮ็กระบบคือกระทรวงพลังงาน   นอกเหนือจากหน่วยงานราชการหลายแห่งแล้ว ยังมีบริษัทและองค์กรเอกชนจำนวนมากที่โดนแฮ็กข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ทาง CISA ระบุว่า แก๊งอาชญากรไซเบอร์ที่ชื่อว่า CLOP เป็นผู้ลงมือโจมตีไปทั่วโลกในครั้งนี้   CLOP เป็นแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย มีพฤติกรรมการก่ออาชญากรรมในลักษณะของการแฮ็กเข้าระบบของหน่วยงานแล้วขโมยข้อมูล จากนั้นก็นำไปเรียกค่าไถ่ซึ่งมักจะอยู่ในระดับหลายล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่ปรากฏการเรียกร้องในลักษณะดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการของสหรัฐ   เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการของ CISA กล่าวว่า ยังไม่พบผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ในหน่วยงานราชการที่เป็นกิจการของพลเรือน และเสริมว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์เพียงใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ เจาะเข้ามาในระบบเครือข่ายเพื่อมองหาโอกาสที่เป็นไปได้ในการก่ออาชญากรรม   การแฮ็กระบบทั่วโลกครั้งใหญ่นี้เริ่มต้นราว…

รายงานชี้ จีนอยู่เบื้องหลังแผนจารกรรมไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานรัฐโดนอ่วม

Loading

FILE PHOTO REUTERS   รายงานชี้ จีนอยู่เบื้องหลังแผนจารกรรมไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานรัฐโดนอ่วม   สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า Mandiant บริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของกูเกิลกล่าวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ได้รับการหนุนหลังจากทางการจีนได้ใช้ช่องโหว่ทางความปลอดภัยของระบบรักษาความปลอดภัยของอีเมลที่ได้รับความนิยม เพื่อเจาะเข้าสู่เครือข่ายขององค์กรสาธารณะและเอกชนหลายร้อยแห่งทั่วโลก โดยเกือบ 1 ใน 3 ของทั้งหมดเป็นหน่วยงานรัฐบาล   นายชาร์ลส์ คาร์มาคาล ผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีของ Mandiant ระบุว่า “นี่คือแคมเปญจารกรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดที่ทราบมาว่าดำเนินการโดยผู้คุกคามจากจีน นับตั้งแต่การแฮ็กเข้าสู่ระบบครั้งใหญ่ของ Microsoft Exchange เมื่อช่วงต้นปี 2021”   คาร์มาคาลกล่าวอีกว่า บรรดาแฮ็กเกอร์ได้ทำการโจมตีระบบป้องกันทางคอมพิวเตอร์ขององค์กรหลายร้อยแห่งให้เกิดช่องโหว่ โดยบางครั้งได้ทำการขโมยอีเมลของพนักงานคนสำคัญที่ทำหน้าที่ดูแลในประเด็นที่รัฐบาลจีนให้ความสนใจ Mandiant มั่นใจว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ถูกอ้างอิงในชื่อ ยูเอ็นซี4841 เป็นผู้อยู่เบื้องหลังโครงการจารกรรมทางไซเบอร์เป็นวงกว้างซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน   แฮ็กเกอร์จะทำการส่งอีเมลที่แนบไฟล์อันตรายไปเพื่อเข้าถึงอุปกรณ์และข้อมูลขององค์กรที่เป็นเป้าหมาย โดยพุ่งเป้าไปที่เหยื่อในอย่างน้อย 16 ประเทศ การกำหนดเป้าหมายให้ความสำคัญไปที่ประเด็นด้านนโยบายที่มีความสำคัญอย่างมากต่อรัฐบาลจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและไต้หวัน โดยเหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายยังรวมถึงกระทรวงต่างประเทศ องค์กรด้านการวิจัย และสำนักงานการค้าต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในฮ่องกงและไต้หวัน   ขณะเดียวกัน สำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ซีไอเอสเอ) ของสหรัฐออกมาระบุในวันเดียวกันว่า…