นักวิจัยเผยว่าแอปบนมือถือจำนวนมากถูกแฮ็กเกอร์เข้าแทรกซึม

Loading

  HUMAN Security บริษัทด้านไซเบอร์พบว่าแอปพลิเคชันจำนวนเกือบ 90 แอปที่ให้เปิดให้บริการอยู่บนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ถูกแฮ็กเกอร์เข้าควบคุมเพื่อแฝงโฆษณาปลอมเพื่อใช้ทำเงิน   ในจำนวนนี้มีถึง 80 แอปที่อยู่บน Android และอีก 9 แอปอยู่บน iOS ทั้งหมดนี้มียอดดาวน์โหลดรวมกันมากกว่า 13 ล้านครั้ง มีทั้งเกม แอปพักหน้าจอ หรือแม้แต่แอปกล้อง   HUMAN พบว่าแฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมแอปเหล่านี้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวในหลายรูปแบบด้วยกัน ตั้งแต่การปลอมเป็นแอปอื่น การแฝงโฆษณาปลอมเพื่อหลอกทำเงินจากเจ้าของโฆษณา และการนำข้อมูลการกดปุ่มในแอปเพื่อไปหลอกระบบว่าเป็นการกดดูโฆษณาของผู้ใช้   HUMAN เรียกกระบวนวิธีการแฮ็กนี้ว่า Scylla ซึ่งมีความซับซ้อนอย่างมาก และเชื่อว่าเหล่าแฮ็กเกอร์ผู้อยู่เบื้องหลังน่าจะกำลังพัฒนากลวิธีให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น   ทั้งนี้ ทาง HUMAN ระบุว่ากำลังทำงานร่วมกับ Google และ Apple อย่างใกล้ชิดเพื่อจัดการลบแอปเหล่านี้ออกจากแพลตฟอร์มของแต่ละเจ้าต่อไป   อย่างไรก็ดี แม้จะมีการนำแอปเหล่านี้ออกจากแพลตฟอร์มไปแล้ว แต่ผู้ใช้งานที่ดาวน์โหลดแอปเข้าไปในอุปกรณ์ของตัวเองยังมีความเสี่ยงอยู่จนกว่าจะลบแอปออกจากเครื่องไป   ผู้ใช้สามารถเข้าไปตรวจสอบแอปที่มีความเสี่ยงได้ที่นี่     ที่มา…

สายการบินแห่งชาติโปรตุเกสยืนยันไม่เจรจากับแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลลูกค้า

Loading

  TAP Air Portugal สายการบินแห่งชาติของโปรตุเกสออกมาประกาศว่าจะไม่ยอมเจรจากับแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลลูกค้าไปปล่อยบนดาร์กเว็บ   ข้อมูลทื่หลุดออกมามีทั้งชื่อลูกค้า สัญชาติ เพศ วันเกิด ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทร วันที่ลงทะเบียน และเลข Frequent Flyer แต่ไม่มีหลักฐานว่าข้อมูลการเงินหลุดไปแต่อย่างใด   สายการบินดังกล่าวถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า Ragna Locker เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้น TAP Air Portugal อ้างว่าสามารถยุติการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และยืนยันว่าไม่มีการหลุดรั่วของข้อมูลลูกค้าแต่อย่างใด   อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเพียง 1 เดือน ทาง Ragnar Locker ก็ออกมาเผยแพร่ข้อมูลลูกค้ามากกว่า 1.5 ล้านราย พร้อมบอกด้วยว่าทาง TAP Air Portugal ยังไม่ได้แก้ไขช่องโหว่ภายในระบบ ซึ่งทางสายการบินก็ออกมายืนยันว่าจะไม่เจรจาเป็นอันขาด   “เราไม่อยากเจรจา เพราะเราไม่อยากที่จะให้รางวัลกับพฤติกรรมแบบนี้” คริสติน อูร์มีเรส-วิเดเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TAP Air…

Symantec เผยรายละเอียด Noberus ทายาทมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่เคยถล่มบริษัทพลังงานสหรัฐฯ

Loading

    ทีม Threat Hunter ของ Symantec บริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เผยรายละเอียดของกลวิธี เครื่องมือ และขั้นตอน (TTPs) ในการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Noberus ที่ออกอาละวาดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา   Threat Hunter เชื่อว่า Noberus เป็นทายาทของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ในตระกูล Darkside และ BlackMatter ซึ่ง Darkside เป็นมัลแวร์ที่ถูกใช้ในการโจมตีท่อส่งพลังงานของ Colonial Pipeline บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021   เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) เคยออกประกาศขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Noberus หลังจากที่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 – มีนาคม 2022 Noberus เข้าไปสร้างความปั่นป่วนมากกว่า 60 องค์กร   Symantec ระบุว่าความอันตรายของ Noberus คือการที่มันถูกสร้างขึ้นโดยใช้ภาษา Rust ซึ่งผู้สร้างอย่าง Coreid อ้างว่าทำให้มันสามารถเข้าไปล็อกไฟล์ได้บนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย ตั้งแต่…

โผล่ YouTube แฮ็กเกอร์แอบติดมัลแวร์ ซ่อนลิงก์แจกโปรแกรมโกงเกม

Loading

  เกมในเกมกันเลย หลังมีการพบช่อง YouTube ที่ชอบทำคลิปสอนวิธีใช้โปรแกรมโกงเกม แล้วแจกลิงก์โหลดโปรแกรมดังกล่าวไว้ใต้คลิป (ที่อาจฝังโฆษณาในลิงก์แบบจัดเต็ม) ล่าสุดช่องเหล่านั้น แอบมีแฮ็กเกอร์ปลอมตัวมา เนียนแจกลิงก์โหลดโปรแกรมโกง แต่แท้จริงแล้วคือมัลแวร์ !!   รายงานจาก Kaspersky เผยกลวิธีเผยแพร่มัลแวร์ใหม่ ที่มุ่งเป้าไปที่เกมเมอร์ที่ชอบโหลดโปรแกรมโกงมาใช้ ซึ่งหาได้จากคลิปแนะนำใน YouTube บางช่องนี้เอง ซึ่งมีการกล่าวถึงเกมต่าง ๆ เช่น Final Fantasy XIV, Forza, Lego Star Wars, Rust, Spider-Man, Stray, VRChat, DayZ, F1 22, Farming Simulator และอีกมากมาย   ส่วนกลวิธีนั้น แฮ็กเกอร์จะทำเนียน เปิดช่องทำคลิปแนะนำวิธีใช้โปรแกรมโกงเกม หรือไม่ก็ไปแฮ็กช่องนั้นมาเลย จากนั้นก็ทำการใส่ลิงก์โหลดโปรแกรมดังกล่าวในช่อง Description หรือใต้คลิป YouTube แน่นอนว่าลิงก์โหลดนั้นไม่ใช้โปรแกรมโกงเกม หากแต่เป็น ‘RedLine’ มัลแวร์สุดอันตราย    …

Uber โดนแฮ็กผ่านพนักงานสัญญาจ้าง เข้าไม่ถึงข้อมูลลูกค้า แฮ็กเกอร์อาจเกี่ยว Lapsus$

Loading

  Uber ออกรายงานชี้แจงการถูกแฮ็กครั้งใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จุดเริ่มต้นเกิดจากบัญชีพนักงานสัญญาจ้าง (Uber EXT) ถูกแฮ็กก่อน โดยคาดว่าแฮ็กเกอร์ใช้วิธีซื้อรหัสผ่านรั่วมาจากแหล่งใต้ดิน dark web อีกที   ระบบของ Uber มีการยืนยันตัวตน 2FA ช่วยป้องกันอยู่ แฮ็กเกอร์จึงพยายามล็อกอินอยู่หลายครั้ง และมีครั้งที่พนักงานรายนี้เผลอกดยืนยันการล็อกอิน (ของแฮ็กเกอร์) เลยเข้าระบบได้   จากนั้น แฮ็กเกอร์เข้าถึงบัญชีของพนักงานคนอื่น ๆ ได้ และสุดท้ายได้สิทธิเข้า G-Suite กับ Slack และโพสต์ข้อความประกาศการแฮ็กใน Slack ของบริษัท   ตอนนี้ Uber กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าแฮ็กเกอร์เข้าถึงระบบภายในใดบ้าง ผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าไม่ได้เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้, ระบบ production ที่ให้บริการแอป, ซอร์สโค้ดไม่ถูกแก้ไข   สิ่งที่แฮ็กเกอร์เข้าถึงได้คือ ข้อความใน Slack, เอกสารที่ทีมบัญชีใช้ออกใบแจ้งหนี้, ฐานข้อมูลช่องโหว่ที่ใช้บริการของบริษัท HackerOne แต่ช่องโหว่ทั้งหมดถูกแก้ไขไปเรียบร้อยก่อนหน้าแล้ว   หลังตรวจพบการแฮ็ก ทีมความปลอดภัยของ Uber ปิดการทำงานของระบบภายในบางอย่าง,…

แฮ็กเกอร์แฝงลิงก์หลอกเสียเงินใน News Feed ของ Microsoft Edge

Loading

  Malwarebytes บริษัทด้านไซเบอร์เผยว่ามีกลุ่มผู้ไม่หวังดีใช้ฟีเจอร์ News Feed ซึ่งใช้สำหรับเผยแพร่ลิงก์ข่าวและโฆษณาของเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge ในการแฝงลิงก์โฆษณาปลอมที่พาผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์หลอกลวง   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ใช้ Taboola ซึ่งเป็นเครือข่ายโฆษณาในการกระจายลิงก์โฆษณา โฆษณาเหล่านี้แฝงไว้ด้วยเครื่องมือตรวจสอบว่าผู้ใช้งานเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งใจจะหลอกหรือไม่ อาทิ โซนเวลา และระบบตรวจจับบอต หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ใช้รายนั้นก็จะถูกลิงก์พาไปยังหน้าหลอกที่ไม่มีพิษภัยอะไร   ตัวอย่างหน้าหลอก (ที่มา: Malwarebytes/Bleeping Computer)   แต่หากเป็นเหยื่อที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ลิงก์นั้นพาไปยังหน้า Tech Support (หน้าให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิก) ปลอม และจะมีข้อความปลอมขึ้นมาว่าคอมพิวเตอร์ของเหยื่อถูกล็อก โดยแฮ็กเกอร์จะปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ที่จะมาคอยหลอกให้ซื้อเครื่องมือที่จะช่วยแก้ล็อกได้   สำหรับกรณีนี้ ทาง Microsoft ออกมาระบุว่าได้ร่วมกับผู้ให้บริการโฆษณาในการลบเนื้อหาและบล็อกแฮ็กเกอร์เหล่านี้ออกไปจากระบบเครือข่ายของบริษัทแล้ว     ที่มา Bleeping computer         —————————————————————————————————————— ที่มา :    แบไต๋       …