แค่เปิดไฟล์ Word ก็ถูกแฮ็กไได้!! สกมช.แนะผู้ใช้อัปเดต OS ทันที

Loading

  สกมช. แนะนำผู้ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ อัปเดตแพตช์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด แก้ไขช่องโหว่ CVE-2022-30190 ของ Microsoft Windows หลังกรณี Microsoft ออกรายงานเกี่ยวกับช่องโหว่ความปลอดภัย CVE-2022-30190 หรือ Follina เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2565   โดยแฮ็กไกอร์อาศัยช่องโหว่นี้ทำงานโดยการฝัง URL ในเอกสารรูปแบบ ms-msdt:/ (Microsoft Support Diagnostic Tool (MSDT)) เพื่อเข้าควบคุมระบบและโปรโตคอลได้จากระยะไกล เมื่อผู้ใช้เปิดเอกสารโค้ดที่เป็นอันตรายจะทำงานทันที ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเอกสารในรูปแบบพรีวิว เปิดแบบ Read-only หรือเปิดใน Word ที่ปิดฟีเจอร์มาโคร ซึ่งแฮ็กไเกอร์จะสามารถติดตั้งโปรแกรมเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูล ลบข้อมูล สร้างบัญชีใหม่ หรือขโมยข้อมูลส่วนตัวได้   พล.อ.ต.อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) มีความห่วงใยต่อประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ความปลอดภัย CVE-2022-30190 หรือ Follina เนื่องจากช่องโหว่นี้ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮ็กไเกอร์ที่จะนำมาใช้ในการโจมตีรูปแบบฟิชชิ่ง คือ การหลอกเหยื่อโดยส่งอีเมลพร้อมแนบไฟล์ Word ที่มีโค้ดอันตราย ทำให้ผู้ใช้งานหลงเชื่อ เปิดไฟล์และถูกโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ทันที…

แคสเปอร์สกี้ โชว์สถิติ ‘ฟิชชิ่ง’ ภัยร้ายโจมตีองค์กรธุรกิจ

Loading

  อาชญากรไซเบอร์มักคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการส่งข้อความสแปมและฟิชชิ่งไปยังทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางดิจิทัลในช่วงการระบาดใหญ่ เพื่อโจมตีแบบโซเชียลเอนจิเนียริง   แคสเปอร์สกี้ พบว่า การใส่หัวข้อและวลียอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมออนไลน์ในข้อความ เช่น การชอปปิง การสตรีมความบันเทิง การระบาดของโควิด-19 ทำให้เพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้จะไม่สงสัยและคลิกลิงก์ที่ติดมัลแวร์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตรายขึ้นอย่างมาก   ปีที่ผ่านมาระบบป้องกันฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) ของแคสเปอร์สกี้บล็อกลิงก์ฟิชชิ่งลิงก์กว่า 11,260,643 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิชชิ่งลิงก์ส่วนใหญ่ถูกบล็อกบนอุปกรณ์ของผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนในไทยพบการโจมตีกว่า 1,287,283 รายการ     ระบาดหนัก-แค่จุดเริ่มต้น   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อีเมลยังเป็นการสื่อสารรูปแบบหลักสำหรับการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   การพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งจำนวน 11 ล้านรายการในหนึ่งปี เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อข้อมูลสำคัญทั้งหมดถูกส่งผ่านอีเมล อาชญากรไซเบอร์มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำกำไรได้   ดังนั้น องค์กรควรตรวจสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมและเชิงลึกอย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์อีเมลที่มีความสำคัญมาก   ข้อมูลระบุว่า ในปี 2564 ลิงก์ฟิชชิ่งทั่วโลกจำนวน 253,365,212…

เจออีก มัลแวร์ซ่อนใน Word แฮ็กเกอร์ช่างสรรหาวิธีการโจมตี

Loading

  นักวิจัยของ HP เปิดเผยข้อมูลของมัลแวร์ตัวใหม่ที่ฝังโค้ดเก็บไว้ในคุณสมบัติเอกสารของไฟล์เอกสาร Microsoft Word ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ   โค้ดอันตรายนี้มีชื่อว่า SVCReady มันจะถูกซ่อนอยู่ในไฟล์เอกสารที่ส่งผ่านอีเมลแบบกระจาย ในลักษณะของการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ซึ่งหากผู้ใช้กดดาวน์โหลดไฟล์เอกสารไป มัลแวร์จะทำงานโดยการรันเพย์โหลด และโหลดมัลแวร์เพิ่มเติมครับ หากเครื่องใดไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก็จะมีความเสี่ยงมากที่สุด   เทคนิคซ่อนมัลแวร์ในลักษณะนี้ทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้นมาก เพราะมันมักจะไม่ถูกตรวจสอบผ่านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย และไฟล์เอกสาร Word ก็เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ทำให้หลายคนไม่ได้ทันระวังกับไฟล์ที่ถูกส่งมา และทำให้มันแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว   สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ไห้มัลแวร์ตัวนี้เข้าสู่ระบบ คือมีกฎทองสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือ ห้ามเปิดไฟล์ที่แนบมา หากไม่มั่นใจที่มา หรือไม่ว่าเนื้อหาในอีเมลจะพยายามบอกให้เราต้องรีบโหลดแค่ไหนก็ตาม   เพราะอีเมลฟิชชิงมักจะพยายามใส่ความเร่งด่วนให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ ด้วยการเรียกร้องให้ดำเนินการบางอย่าง เช่น การบอกว่าบัญชีจะถูกบล็อกหรือเงินในบัญชีจะถูกหัก หากไม่กดลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์นี้ในทันที มีวิธีสังเกตที่น่าสนใจอีกอย่าง คือฟิชชิ่งพวกนี้มักจะแนบมาในอีเมลที่สะกดผิด   ที่มาข้อมูล   https://tech.co/news/malware-word-documents-email-inbox     ————————————————————————————————————————- ที่มา :         Techhub         …

เตือนภัย ! แฮกเกอร์อาจยึดเครื่องของคุณผ่าน Microsoft Word

Loading

เตือนภัยสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ เชื่อว่าแทบทุกคนคงจะต้องใช้ Microsoft Office กันอยู่แล้ว ล่าสุดช่องโหว่ Zero Day ใหม่บน Microsoft Office นี้มีศักยภาพที่จะสามารถเข้ายึดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ทันที แม้ว่าคุณจะยังไม่ได้กดคลิกเพื่อเปิดไฟล์เลยก็ตาม แม้ว่าตอนนี้จะยังคงรอ Patch แก้ไขอย่างเป็นทางการจากทาง Microsoft อยู่ แต่ Microsoft ก็ได้ปล่อยวิธีแก้ไขชั่วคราว (Workaround) สำหรับช่องโหว่นี้ออกมาแล้ว โดยถ้าหากใครใช้ MS Office อยู่เป็นประจำ แนะนำให้ดำเนินการไว้ก่อน เพื่อเข้าไปดำเนินการปิด Microsoft Support Diagnostic Tool (MSDT) ไว้ชั่วคราว                                   Credit : Microsoft…

Microsoft ทลายฐานปฏิบัติการทางไซเบอร์ของแฮ็กเกอร์จากเลบานอน เชื่ออิหร่านมีเอี่ยว

Loading

  Microsoft บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เผยว่าได้พบและทำลายฐานปฏิบัติบน OneDrive ของ Polonium กลุ่มแฮ็กเกอร์จากเลบานอนที่พุ่งเป้าโจมตีทางไซเบอร์ต่อองค์กรต่าง ๆ ของอิสราเอล   ทางบริษัทยังระบุด้วยว่า Polonium ทำงานร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับกระทรวงข่าวกรองและความมั่นคงของอิหร่าน (MOIS) ซึ่งไม่ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลอิหร่านมักจ้างวานองค์กรภายนอกในการปฏิบัติการทางไซเบอร์ที่สนองต่อเป้าหมายของรัฐบาล   ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา Polonium โจมตีทางไซเบอร์ต่อมากกว่า 20 องค์กรของอิสราเอล ในจำนวนนี้มีองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในเลบานอนด้วย องค์กรที่เป็นเป้าหมายมีทั้งที่ดำเนินการในด้านการผลิต อุตสาหกรรมทางทหาร เกษตรกรรมและอาหาร ระบบการเงินการธนาคาร หน่วยงานของรัฐ สาธารณสุข ไอที ระบบคมนาคม ฯลฯ   Polonium เคยโจมตีผู้ให้บริการคลาวด์เพื่อใช้ในการโจมตีบริษัทการบินและสำนักงานกฎหมาย ซึ่งหลายบริษัทที่ตกเป็นเป้านั้นทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมทางทหารของรัฐบาลอิสราเอล   เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัติการของ Polonium คือบัญชี OneDrive ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น Command and Control หรือฐานในการปฏิบัติทางไซเบอร์ ทางกลุ่มยังได้ดัดแปลงบริการคลาวด์อย่าง OneDrive…

อัปเดตด่วน พบช่องโหว่ Zoom เปิดทางแฮ็กเกอร์เจาะเข้าเครื่อง

Loading

  หากตอนนี้ใครยังใช้ Zoom อยู่ ควรอัปเดตให้เป็นเวอร์ชั่น 5.10.0 ขึ้นไปโดยด่วน เพื่อแก้ไขช่องโหว่โปรโตคอล XMPP ที่แฮ็กเกอร์อาจเรียกใช้โค้ดจากระยะไกล และทำให้เข้าถึงเครื่องผู้ใช้ได้ครับ   ช่องโหว่ดังกล่าวค้นพบโดย Ivan Fratric นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Google Project Zero ซึ่งเขาได้มีการแจ้งไปจาก Zoom และได้มีการปล่อยอัปเดตออกมาในวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา   ทั้งนี้ ช่องโหว่ดังกล่าวถือเป็นช่องโหว่ Zero-day นอกจากการแจ้งให้ผู้ใช้ Zoom ให้อัปเดตแล้ว ผมเชื่อว่าข้อมูลเรื่องช่องโหว่ดังกล่าวน่าจะหลุดเข้าไปหูแฮ็กเกอร์ด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น รีบอัปเดตด่วนครับ   การอัปเดตทำได้โดยการเปิด Zoom ขึ้นมา กดที่รูปโปรไฟล์ แล้วเลือกคำว่า Check for update แล้วกดอัปได้เลย       ที่มาข้อมูล https://www.zdnet.com/article/zoom-patches-xmpp-vulnerability-chain-that-could-lead-to-remote-code-execution/     ———————————————————————————————————————– ที่มา : Techhub…