มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีโรงพยาบาล: ไซเบอร์ฆ่าคนได้จริง

Loading

    คืนวันที่ 11 กันยายน ของปี 2020 คงเป็นหนึ่งในค่ำคืนอันโศกเศร้ามากที่สุดของครอบครัวของผู้ป่วยวัย 78 ปีรายหนึ่ง ซึ่งป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่ต้องมาจบชีวิตลง เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟได้ เพราะระบบขัดข้องจากการมัลแวร์เรียกค่าไถ่     หญิงสูงวัยผู้นี้ต้องไปจบชีวิตบนรถพยาบาลระหว่างเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในเมืองวุพเพอร์ทาลที่อยู่ไกลออกไปกว่า 30 กิโลเมตร ทำให้การรักษาล่าช้าไปเป็นชั่วโมง   หากไม่มีแฮกเกอร์หิวเงินที่ปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าสู่ระบบโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟ ผู้ป่วยรายนี้ก็คงได้รับการรักษาจนกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวได้อีกครั้ง   แฮกโรงพยาบาลกระทบถึงชีวิตคนไข้   ระบบการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งหันมาพึ่งพาระบบไอทีเพิ่มมากขึ้น ทั้งระบบคลาวด์ เครือข่ายฐานข้อมูลภายใน ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับการทำงาน ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ารับการรักษาให้มากขึ้น   แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ โดยเฉพาะมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่ไม่เฉพาะแต่สร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังสร้างความสูญเสียให้เกิดกับคนไข้ที่มารับการรักษาด้วย   เนื่องจากการโจมตีแต่ละครั้งทำให้โรงพยาบาลต้องหันกลับใช้ระบบการทำงานด้วยมือ กระดาษ และปากกา ทำให้ระบบการทำงานช้าลง และแบกรับภาระคนไข้ไม่ได้เท่าที่เคย   ในกรณีโศกนาฎกรรมที่ดึสเซิลดอร์ฟ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำให้โรงพยาบาลรับคนไข้ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งจากที่เคยรับได้ถึงวันละมากกว่า 1,000 คน และยังไม่สามารถรับคนไข้ใหม่ได้อีกด้วย   บางโรงพยาบาลอย่างในฝรั่งเศส แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นต้องส่งคนไข้ที่อยู่ในการดูแลไปโรงพยาบาลอื่น ๆ…