ไบโอแล็บ ระเบิดเวลาที่ต้องรีบปลดชนวน

Loading

  มีหลายแนวคิดถูกหยิบขึ้นมาอธิบายการเกิดขึ้นของโควิด-19 หนึ่งในนั้นคือ โควิด-19 เกิดขึ้นภายในห้องทดลองทางชีวภาพหรือไบโอแล็บ แล้วเกิดการรั่วไหลหรือมีการจงใจปล่อยออกมาเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้กับระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลก   แน่นอนว่าคู่กรณีหลักในเรื่องนี้ย่อมหนีไม่พ้นจีนและสหรัฐ แต่จนถึงวันนี้คำกล่าวหาที่เกิดขึ้นต่อสองประเทศนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานหนักแน่นพอที่จะชี้ลงไปได้ว่าต้นทางของการระบาดมาจากไหนกันแน่   ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ หลายประเทศในโลกนี้มีการพัฒนาอาวุธชีวภาพเพื่อใช้ในการสงครามจริง เรื่องนี้คือสิ่งที่น่ากังวลมากกว่าการหาที่มาของโควิด-19 เสียอีก เพราะอาวุธชีวภาพมันเป็นระเบิดเวลาที่น่ากลัวเหลือเกิน หากมองในแง่ของการสงคราม     ข้อดีของอาวุธชีวภาพมี 4 อย่าง   1. อาวุธชีวภาพสามารถปิดเกมได้เร็ว เพราะแม้ใช้ในปริมาณน้อยก็สามารถสร้างความเสียหายให้กับกำลังทหารและประชาชนได้ในวงกว้าง โดยไม่ส่งผลเสียหายเหมือนการใช้อาวุธประเภทอื่นเพื่อให้ได้ผลเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ระเบิดนิวเคลียร์   2. มีต้นทุนในการผลิตและใช้ที่ต่ำ ด้วยปริมาณที่ไม่มาก จึงนำไปใช้ได้ง่าย ตรวจจับได้ยากจนกว่าจะสายเกินไปแล้ว ทั้งยังมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงเมื่อเทียบกับอาวุธทำลายล้างประเภทอื่นที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับชีวิตในระดับเดียวกัน   3. สามารถสร้างได้ง่าย หากเทียบกับการพัฒนาอาวุธประเภทอื่น อาวุธชีวภาพสามารถสร้างได้ง่ายกว่า ไม่ต้องใช้องค์ความรู้สูง หากเป็นแบบที่ไม่ซับซ้อนมากก็ไม่ต้องใช้วัตถุดิบพิเศษ ประเทศที่ไม่ได้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากนักจึงสามารถพัฒนาและครอบครองอาวุธประเภทนี้ได้   4. สามารถกระจายไปใช้งานในหลายพื้นที่พร้อมกันได้สะดวก เนื่องจากเป็นอาวุธที่ใช้ปริมาณไม่มาก ไม่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บมากนัก จึงสะดวกต่อการซุกซ่อนและเคลื่อนย้าย     ข้อจำกัดสำคัญของอาวุธชีวภาพมี 5 อย่าง…

การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโควิด 19 ของพนักงานทำได้หรือไม่ | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  มาตรการบังคับให้บุคคลต้องแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือแสดงผลตรวจเชื้อโควิด 19 ก่อนเข้ามาในสถานที่ เป็นประเด็นถกเถียงในสังคมไทย รวมถึงในประเทศอื่นๆ มีการกล่าวอ้างถึงสิทธิส่วนบุคคล และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของโควิด 19 มีแนวโน้มที่จะไม่หยุดยิ่งและมีการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา มาตรการที่หลาย ๆ องค์กรนำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระกระจายและการระบาดของโควิด 19 คือการให้พนักงานขององค์กรหรือบุคคลที่ต้องเข้ามายังสถานที่แสดงผลการฉีดวัคซีนหรือแสดงผลตรวจเชื้อโควิด 19 ก่อนเข้ามาในสถานที่ การดำเนินการดังกล่าวของเจ้าของอาคารสถานที่หรือนายจ้างก่อให้เกิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลาย ๆ ประเทศมุ่งให้การคุ้มครองเป็นพิเศษ วันนี้ผู้เขียนจึงอยากนำกรณีศึกษาเกี่ยวกับมาตรการบังคับให้บุคคลต้องแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 ข้อแนะนำของ Information Commissioner Office (“ICO”) ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้ UK GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษมาให้ท่านผู้อ่านพิจารณาในประเด็นดังนี้ 1. UK GDPR ใช้บังคับกับการเก็บรวบรวมข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวกับโควิด 19 หรือไม่ ICO ให้ความเห็นว่า หากเป็นเพียงการตรวจผลด้วยการดูหรืออ่านเอกสาร โดยที่ไม่มีการเก็บสำเนาผลตรวจกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็น “การประมวลผล” ตาม UK GDPR แต่หากมีการเก็บรวบรวมผลการตรวจโควิด 19 ไว้ไม่ว่าจะโดยการใช้เครื่องสแกน หรือการเก็บภาพถ่ายดิจิทัลหรือสำเนาผลตรวจ…

โควิด-19 ทำพิษตัดงบซีซีทีวี สจส.ขอติดเพิ่ม 6 เขตกว่า 2 พันกล้องถูกปฏิเสธ

Loading

  นายประพาส เหลืองศิรินภา ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. เปิดเผยว่า สำนักการจราจรและขนส่ง ได้ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่กรุงเทพฯไปแล้วรวมทั้งสิ้น จำนวน 63,425 กล้อง และมีโครงการที่จะติดตั้งเพิ่มในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต ตามนโยบาย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. โดยเน้นบริเวณพื้นที่สุ่มเสี่ยง จุดล่อแหลม จุดเกิดอาชญากรรมบ่อยครั้ง หรือที่เรียกว่า “กล้องชุมชน” เพื่อเป็นการป้องปราม รักษาความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นหลักฐานที่ใช้ในการหาตัวผู้กระทำความผิด หรือดำเนินคดี และจุดเชื่อมโยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ประชาชนในย่านที่พักอาศัยและระหว่างการเดินทาง อย่างไรก็ตาม สจส.ได้ขอจัดสรรงบประมาณติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต รวมจำนวน 2,221 กล้อง มาตั้งแต่งบประมาณปี 2564 แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเนื่องจากข้อจำกัดของงบประมาณที่ กทม.จำเป็นต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนจากการแพร่ระบาด โควิด-19 และในการขอจัดสรรงบประมาณปี 2565 ก็ถูกตัดออกเช่นกัน ทำให้ กทม.ไม่สามารถติดตั้งกล้องชุมชนเพิ่มเติมใน 2 ปีต่อเนื่องกัน จึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนกล้องซีซีทีวี…

นักกฎหมายชี้ ขึ้นเครื่องบินทั้งที่รู้ว่าติดโควิด มีความผิดทั้งอาญาและแพ่ง

Loading

  นักกฎหมาย ชี้ กรณีหนุ่มสาวนั่งเครื่องบินกลับบ้านที่นครศรีธรรมราชทั้งที่รู้ว่าตัวเองติดโควิด-19 ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ และยังเข้าข่ายผิดอาญาและแพ่งอีกด้วย ตำรวจตามจับได้ เมื่อวันที่ 14 เม.ย.64 ว่าที่พันตรี ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง กรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีคู่รักชายหญิงรู้ตัวว่าติดโควิด-19 แล้วยังนั่งเครื่องบินจากกรุงเทพฯไปยังต่างจังหวัดภูมิลำเนาเป็นผลให้สายการบินต้องพักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งผลัดเวรเพื่อกักตัวดูอาการ ทำให้ต้องเสียแรงงานกับผู้โดยสารอื่นๆ ที่ต้องประสบปัญหาติดตามกันมา รู้ตัวว่าตัวเองติดเชื้อโควิด-19 แล้วยังเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนมากตามที่มีข่าวเสนอไปแล้วนั้น โดยปกปิดอาการป่วยของตนเอง จนเป็นเหตุให้ผู้โดยสารอื่นอาจติดเชื้อโควิด-19 ได้ นอกจากจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อแล้ว ในทางอาญาอาจถือได้ว่าเจตนาทำร้ายร่างกายผู้อื่น กระทำโดยรู้สำนึก โดยประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่าจะทำให้ผู้โดยสารอื่นติดเชื้อโรคโควิด-19 เพราะตนเองทราบดีอยู่แล้ว ติดเชื้อมาตั้งแต่ก่อนเดินทาง และตนเองสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้โดยสารคนอื่นได้ และถ้าการติดเชื้อจนทำให้ผู้โดยสารอื่นป่วยรุนแรงถึงขั้นสาหัส หรือตาย โทษก็จะหนักขึ้นตามผลของการกระทำความผิดได้อีกด้วย ซึ่งคดีลักษณะนี้ ศาลในประเทศสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ได้เคยพิพากษาลงโทษทางอาญาแล้ว แม้ผู้โดยสารอื่นยังไม่ติดเชื้อก็เป็นความผิดอาญา ฐานพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นด้วย   สำหรับสถานที่เกิดเหตุในคดีอาญา เมื่อผู้ต้องหากระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ทุกท้องที่ แต่พนักงานสอบสวนท้องที่ใดจะเป็น “ผู้รับผิดชอบ” ในการสอบสวน และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ แบ่งเป็น 2 กรณี…