แฮ็กเกอร์ใช้ ‘SwiftSlicer Wiper’ ทำลายโดเมนวินโดว์

Loading

    จากสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ในขณะนี้ มีการเปิดการโจมตีแบบใหม่ ๆ ที่เรียกกันว่า hybrid war คือ มีการรบทั้งในรูปแบบที่เป็นสงครามทั่วไปและการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้ตลอด 24 ชั่วโมง   ซึ่งเมื่อดูทีท่าแล้วน่าจะมีการเปิดการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว โดยสาเหตุหลักน่าจะมาจากการมีความพยายามที่รัสเซียจะตัดขาดชาวยูเครนจากข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเป็นการเปิดการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ   โดยเริ่มจากการตัดสัญญานโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารเคลื่อนที่ในยูเครน อีกทั้งยังมีการโจมตีทางไซเบอร์กับสื่อของยูเครนอยู่เรื่อย ๆ   มีการเปิดเผยจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยของยูเครนโดยระบุว่า มัลแวร์ล้างข้อมูลตัวใหม่มีชื่อว่า “SwiftSlicer Wiper” ได้รับการพัฒนามาเพื่อลบสำเนางานและเขียนทับไฟล์สำคัญที่ระบบปฏิบัติการ Windows   โดยเฉพาะไดรเวอร์และฐานข้อมูล Active Directory ซึ่งกลุ่มแฮ็กเกอร์ Sandworm เป็นผู้พัฒนา Malware SwiftSlicer ตัวนี้โดยใช้ Active Directory Group Policy ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบโดเมนเรียกใช้สคริปต์และคำสั่งได้ทั่วทั้งอุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่าย Windows และมีการกำหนดเป้าหมายเฉพาะของโฟลเดอร์   มัลแวร์ตัวนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อทำลายไฟล์เท่านั้น แต่ยังทำลายโดเมน windows ทั้งหมดอีกด้วย โดย SwiftSlicer จะเขียนทับด้วยข้อมูลโดยใช้บล็อก 4096…

กลุ่มแฮ็กเกอร์ DarkBit โจมตีมหาวิทยาลัยชั้นนำของอิสราเอล

Loading

    กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่หน้าใหม่ทีใช้ชื่อว่า DarkBit ก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อสถาบันเทคโนโลยีอิสราเอล หรือ Technion หนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศ   ในจดหมายเรียกค่าไถ่ของ DarkBit ชี้ว่าเหตุที่โจมตีครั้งนี้ก็เพื่อประท้วงการปลดบุคลากรด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ของประเทศ และปล่อยข้อความที่สนับสนุนการต่อต้านชาติอิสราเอล โดยมีการเรียกเงินค่าไถ่ราว 1.7 ล้านเหรียญ (ราว 57.6 ล้านบาท)   ด้าน Technion อยู่ระหว่างการตอบโต้เหตุโจมตีที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งพยายามทำความเข้าใจกับเป้าหมายและเหตุผลของการโจมตีอยู่   ทางมหาวิทยาลัยชี้ว่าได้ให้ผู้เชี่ยวชาญที่เก่งที่สุดในด้านไซเบอร์ ทั้งจากในและนอก Technion และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและแก้ไขผลกระทบ ในเบื้องต้นมีการปิดกั้นทุกโครงข่ายการสื่อสารแล้ว รวมถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยด้วย   อย่างไรก็ดี ระบบการทำงานภายในมหาวิทยาลัยยังดำเนินไปอย่างเป็นปกติ แต่จะมีการเลื่อนสอบบางวิชาไปก่อน         อ้างอิง  Bleepingcomputer         ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :               …

JD Sports เผยข้อมูลลูกค้า 10 ล้านรายอาจถูกแฮ็ก ข้อมูลบัตรธนาคารโดนด้วย

Loading

    JD Sports ผู้จัดจำหน่ายชุดกีฬาชี้ว่าข้อมูลลูกค้าราว 10 ล้านคนเสี่ยงถูกแฮกหลังเกิดการโจมตีทางไซเบอร์   บริษัทชี้ว่าแฮกเกอร์อาจเข้าถึงข้อมูลชื่อ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ รายละเอียดคำสั่งซื้อระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2018 – ตุลาคม 2020 และเลขท้าย 4 ตัวของบัตรธนาคาร   ทางบริษัทได้ติดต่อไปยังลูกค้าที่ได้รับผลกระทบแล้ว และกำลังทำงานร่วมกับ ‘ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ชั้นนำ’ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของสหราชอาณาจักร (ICO) อยู่   JD Sports ยืนยันว่าข้อมูลที่เสี่ยงตกไปอยู่ในมือแฮกเกอร์มีน้อยมาก ทางบริษัทไม่ได้เก็บข้อมูลหมายเลขตัวเต็มของบัตรเงินสดไว้ และไม่เชื่อว่าแฮกเกอร์จะได้ข้อมูลรหัสผ่านของลูกค้าไป   “เราอยากขอโทษลูกค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้” นีล กรีนฮัลก์ (Neil Greenhalgh) ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของ JD Sports ระบุ และแนะนำให้ลูกค้าที่ได้รับคำเตือนระวังข้อความ อีเมล และโทรศัพท์หลอกลวง   สำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ดังกล่าว เกิดขึ้นต่อรายการคำสั่งซื้อแบรนด์ Size? Millets, Blacks, Scotts และ MilletSport…

เอฟบีไอชี้เกาหลีเหนือ แฮ็กบล็อกเชน “ฮาร์โมนี” สูญ 3,000 ล้านบาท

Loading

    หน่วยงานสอบสวนของรัฐบาลวอชิงตัน กล่าวว่า กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากเกาหลีเหนือ โจมตีบล็อกเชนของผู้พัฒนาในสหรัฐ เมื่อปีที่แล้ว สร้างความเสียหายมากกว่า 3,000 ล้านบาท   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ออกแถลงการณ์ว่า “ลาซารัส กรุ๊ป” และ “เอพีที38” ซึ่งเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือ อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อระบบ “ฮาร์โมนี ฮอไรซอนส์ บริดจ์” ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมบล็อกเชนของบริษัทฮาร์โมนี หนึ่งในผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนสกุลเงินดิจิทัลของสหรัฐ เมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว และสร้างความเสียหายมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,276.80 ล้านบาท)   Two hacker groups associated with North Korea, the Lazarus Group and APT38, were…

Unit 42 พบการฝังตัวของแฮ็กเกอร์ต่อโครงข่ายของรัฐบาลอิหร่าน

Loading

    ทีม Unit 42 ของ Palo Alto Networks พบว่าแฮกเกอร์ที่มีชื่อเรียกว่า BackdoorDiplomacy (หรือ Playful Taurus) ก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อองค์กรรัฐบาลอิหร่านในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงปลายเดือนธันวาคม 2022   Unit 42 ได้เฝ้าดูการที่โดเมนของรัฐบาลอิหร่านพยายามเชื่อมต่อไปยังโครงสร้างพื้นฐานมัลแวร์ที่ทาง BackdoorDiplomacy สร้างไว้   BackdoorDiplomacy เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่เชื่อกันว่ามาจากจีน โดยมีอีกหลายชื่อ อาทิ APT15, KeChang, NICKEL, และ Vixen Panda ที่ผ่านมามีประวัติปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์แบบฝังตัวต่อรัฐบาลในทวีปอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา   สำหรับการโจมตีล่าสุดนั้น Unit 42 พบการใช้ Backdoor (ช่องทางลัดเข้าไปยังระบบเป้าหมาย) ในการโจมตีหน่วยงานรัฐบาลในอิหร่าน   โดยจากการติดตามดู 4 องค์กรอิหร่าน อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรทรัพยากรธรมชาติ พบว่า…

โฆษณา ‘Search Engine Ad’ เครื่องมือใหม่ อาชญากรไซเบอร์

Loading

  หลายปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมากมายและหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดเอฟบีไอออกประกาศแจ้งเตือนว่า ขณะนี้อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้บริการโฆษณา “Search Engine Ad” โดยปลอมตัวเป็นแบรนด์เพื่อฉ้อโกงและหลอกล่อผู้ใช้งานให้เข้าระบบไปยังเว็บไซต์ปลอมที่อันตราย   เว็บไซต์เหล่านี้ดูภายนอกก็เหมือนกับหน้าเว็บอย่างเป็นทางการของธุรกิจต่างๆ ที่ถูกแอบอ้าง โดยเหล่าบรรดาแฮกเกอร์จะหลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือให้ป้อนข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบรวมถึงข้อมูลทางการเงิน   ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ใช้งานค้นหาโปรแกรมเพื่อดาวน์โหลด ที่หน้าเว็บไซต์ปลอมจะมีลิงก์สำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นมัลแวร์ซ่อนอยู่ ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์เลือกซื้อโฆษณา Search Engine Ad เพื่อให้แน่ใจว่าโฆษณาของพวกเขาจะปรากฏที่ด้านบนสุดของผลการค้นหาและเพื่อโปรโมทเว็บไซต์และทำการขโมยข้อมูลหรือแรนซัมแวร์   โดย Search Engine Ad จะมีความแตกต่างอยู่ระหว่างโฆษณาและผลการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตจริง อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือนดังกล่าวยังระบุอีกว่าอาชญากรไซเบอร์กำลังซื้อบริการเหล่านี้โดยใช้โดเมน (domain) ที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจหรือบริการจริงเพื่อจุดประสงค์ไม่ดีที่แอบแฝงอยู่   เอฟบีไอ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า โฆษณาเหล่านี้ยังถูกใช้เพื่อแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มการซื้อขายคริปโต (cryptocurrency) โดยเว็บไซต์ปลอมจะมีการขอให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลและจากนั้นจะทำการขโมยทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานออกไปทั้งหมด   หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฏหมายเน้นย้ำว่า แม้ว่าโฆษณา search engine บนเครื่องมือจะมีรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย แต่ผู้ใช้งานก็ควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวังเมื่อเข้าถึงหน้าเว็บผ่านลิงก์ที่โฆษณา และได้เสนอข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานเมื่อค้นหาธุรกิจหรือบริการออนไลน์ เหล่านี้คือ   ตรวจสอบ URL เพื่อหาข้อผิดพลาดก่อนที่จะคลิกโฆษณาเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย   ควรพิมพ์ URL…