Toyota Motor จะระงับการดำเนินงานบางส่วน หลังเหตุโจมตีไซเบอร์ต่อท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น

Loading

    Toyota Motor จะระงับการดำเนินงานในสายแพ็กเกจจิงของชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการส่งออก หลังมีเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อท่าเรือนาโกยา ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น   บริษัทชี้ว่าจะตัดสินใจว่าจะกลับมาดำเนินงานอีกครั้ง โดยดูจากความสามารถในการทำงานของท่าเรือฯ และชี้ว่ายังไม่เห็นว่าจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ทั้งในและต่างประเทศ   ท่าเรือนาโกยา อยู่ในภาคกลางของญี่ปุ่น เป็นที่ส่งออกรถยนต์ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่น แต่ต้องเผชิญกับการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้ไม่สามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์จากรถบรรทุกได้   การโจมตีดังกล่าวยังก่อให้เกิดความบกพร่องในระบบและทำให้การขนส่งล่าช้าไปมากกว่า 2 วันแล้ว   โดยสำนักงานการท่านาโกยาชี้ว่าระบบของท่าเรือได้กลับมาทำงานบางส่วนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา แต่กว่าจะทำงานได้ตามปกติก็ล่วงไปถึงเย็นแล้ว ซึ่งถือว่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้มาก         ที่มา Deccan Herald         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                           …

ไต้หวันผวา! เจอโดรนบินโฉบเหนือเกาะยุทธศาสตร์ เว็บกลาโหมโดนโจมตีไซเบอร์

Loading

  หลังจากนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางเยือนไต้หวันเมื่อวันที่ 2-3 สิงหาคม ท่าทีซึ่งสร้างความไม่พอใจกับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มองว่าไต้หวันเป็นของจีน และเคยประกาศว่าพร้อมที่จะใช้กำลังยึดไต้หวันเป็นของจีน สถานการณ์ซึ่งสร้างความตึงเครียดให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ล่าสุดกระทรวงกลาโหมไต้หวันเปิดเผยว่า ในช่วงคืนวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมาไม่กี่ชั่วโมง หลังนางเพโลซีเดินทางออกจากไต้หวันมุ่งหน้าไปยังประเทศเกาหลีใต้ มีเครื่องบินที่ไม่มีการแสดงตัวตนจำนวน 2 ลำที่คาดว่าจะเป็นโดรน บินเหนือเกาะจินเหมิน เกาะทางยุทธศาสตร์ของไต้หวัน ใกล้ชายฝั่งเมืองเซียเหมินของจีน โดยทางการไต้หวันต้องยิงพลุแฟลร์เพื่อผลักดันโดรนดังกล่าวออกจากพื้นที่ นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมยังระบุด้วยว่า เว็บไซต์ของกระทรวงถูกโจมตีไซเบอร์และต้องปิดลงเป็นการชั่วคราวในช่วงคืนวันเดียวกัน พร้อมทั้งระบุว่ากำลังทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดกับจีนที่มีมากขึ้น นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมไต้หวันยังเปิดเผยด้วยว่าจีนได้เริ่มการซ้อมรบโดยรอบเกาะไต้หวันตามที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้แล้วเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม และการซ้อมรบบางจุดเกิดขึ้นในน่านน้ำและน่านฟ้าของไต้หวันที่มีระยะ 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งไต้หวัน ท่าทีซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุว่าเป็นการปิดล้อมไต้หวันทางทะเลและทางอากาศ ทั้งนี้นางเพโลซี นับเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่สุดของสหรัฐอเมริกาที่เดินทางเยือนไต้หวันในรอบ 25 ปี โดยแสดงความชื่นชมการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยของไต้หวันและยืนยันว่าสหรัฐฯ จะอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับไต้หวัน พร้อมทั้งระบุด้วยว่าความไม่พอใจของจีนนั้นไม่สามารถหยุดบรรดาผู้นำโลกที่จะเดินทางเยือนไต้หวันได้     ที่มา : มติชนออนไลน์    /   วันที่เผยแพร่ 4 ส.ค.65 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_3488699

โจมตีไซเบอร์กระทรวงการต่างประเทศแคนาดา

Loading

รัฐบาลแคนาดาเผยเมื่อวันจันทร์ ระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงการต่างประเทศ ถูกโจมตีไซเบอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยระบบของบางหน่วยงานยังใช้การไม่ได้ แต่ปฏิเสธที่จะระบุผู้ต้องสงสัย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ว่า การโจมตีไซเบอร์ถูกตรวจพบเมื่อวันพุธ (19 ม.ค.) หนึ่งวันก่อนที่สำนักงานข่าวกรองสัญญาณของแคานาดาจะออกแถลงว่า หน่วยปฏิบัติการเครือข่ายระบบสาธารณูปโภคสำคัญของแคนาดา ควรเพิ่มมาตรการป้องกัน ภัยคุกคามที่รัฐบาลรัสเซียหนุนหลัง     แถลงการณ์ของคณะกรรมการบริหารการคลังแคนาดา (Treasury Board) ซึ่งรับผิดชอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐบาลทั้งหมด เมื่อวันจันทร์ กล่าวว่า ระบบอินเทอร์เน็ตของหลายหน่วยงานสำคัญอย่างยิ่ง ของกระทรวงการต่างประเทศ ยังทำงานได้ตามปกติ แต่บางหน่วยงานยังใช้การไม่ได้ และไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่า กระทรวงอื่นๆ ได้รับผลกระทบ แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่แสดงท่าทีแข็งกร้าว ต่อการเสริมกำลังทหารรัสเซีย ตามแนวเขตแดนด้านติดกับยูเครน     ออตตาวาแทบไม่เคยเปิดเผย การถูกโจมตีไซเบอร์ ในปี 2554 เจ้าหน้าที่แคนาดาเผยว่า “แฮกเกอร์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีรัฐบาลจีนหนุนหลัง ทำการเจาะล้วงข้อมูลองค์กรวิจัยชั้นนำแห่งหนึ่งของแคนาดา” แต่ทางการปักกิ่งปฏิเสธ ในปี 2557 อดีตรัฐมนตรีแคนาดารายหนึ่งเผยว่า ทีมแฮกเกอร์ชาวจีนตกเป็นผู้ต้องสงสัย เจาะล้วงข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการบริหารการคลัง และกระทรวงการคลังแคนาดา ในปี 2554.…

Microsoft เผยรายละเอียดการโจมตีไซเบอร์ต่อยูเครน บางส่วนเชื่อนี่เพียงแค่เริ่มต้น

Loading

  Microsoft ระบุว่าคอมพิวเตอร์จำนวนมากในระบบโครงข่ายของรัฐบาลยูเครนติดมัลแวร์ทำลายล้างซึ่งอำพรางเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หลังจากมีกรณีการแก้หน้าเว็บไซต์ (defacement) ของกระทรวงการต่างประเทศยูเครน และเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลมากกว่า 70 เว็บไซต์ล่ม Microsoft ยังระบุด้วยว่า การโจมตีสร้างความเสียหายต่อหน่วยงานรัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร และองค์กรไอทีจำนวนมาก “มัลแวร์ตัวนี้อำพรางตัวเองเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แต่เมื่อถูกเปิดใช้งานโดยผู้ทำการโจมตีก็จะสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์เป้าหมายจนใช้งานไม่ได้” Microsoft ระบุ โดยเสริมว่า มัลแวร์ตัวนี้จะทำงานต่อเมื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่นั้นถูกปิดลง สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรด้านไซเบอร์ในภาคเอกชนอธิบายว่า เริ่มจากการมีผู้ไม่หวังดีเจาะเข้าไปยังผู้ให้บริการซอฟแวร์ร่วมในการโจมตีที่เรียกว่า Supply-Chain Attack เซอร์ฮีย์ เดเมดยัค (Serhiy Demedyuk) รองเลขาธิการสภาความมั่นคงและการป้องกันประเทศแห่งชาติยูเครนระบุว่า แฮกเกอร์ได้ใช้มัลแวร์คล้ายกับที่หน่วยข่าวกรองของรัสเซียเคยใช้ ซึ่งในการสืบสวนขั้นต้นโดยสำนักงานความมั่นคงยูเครน (SBU) เชื่อว่าผู้ก่อเหตุโจมตีมีความสัมพันธ์กับหน่วยข่าวกรองของรัสเซีย แต่ทางรัสเซียได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ทั้งนี้ เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ปี 2557 ได้กลับมาร้อนระอุขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนให้หลังมานี้ และยังเป็นสมรภูมิการเมืองระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรก้าวเข้ามามีบทบาทคุ้มครองยูเครน ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานจากสื่อหลายสำนักว่าทางรัสเซียได้ระดมกำลังทหารมากกว่า 100,000 นายใกล้กับชายแดนยูเครน ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้ที่รัสเซียอาจเข้าบุกยูเครนอีกครั้งหนึ่ง และอาจจะผสมการรบแบบใช้กำลังทหารเข้ากับการโจมตีทางไซเบอร์ (Hybrid Warfare) เหมือนกับที่เคยทำกับจอร์เจียและยูเครนมาแล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัสเซียถูกกล่าวหาว่าโจมตีทางไซเบอร์ต่อยูเครน ตัวอย่างการโจมตีที่ผ่านมา อาทิ การเลือกตั้งระดับชาติยูเครนเกือบล่มเพราะการโจมตีทางไซเบอร์ในปี 2557 การโจมตีโรงไฟฟ้าจนไฟดับเป็นวงกว้างในช่วงปี…

โจมตีไซเบอร์หน่วยงานรัฐยูเครนครั้งใหญ่! จารกรรมข้อมูลทั้งประเทศ เร่งล่าจอมบงการ

Loading

  เจ้าหน้าที่ยูเครนกำลังสอบสวนการโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ต่อระบบอินเทอร์เน็ตของหน่วยงานรัฐบาลประมาณ 70 แห่ง รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศ คณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ และสภากลาโหม แม้ยูเครนหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวหามอสโกโดยตรง แต่เป็นที่เข้าใจได้ชัดว่า รัสเซียคือผู้ต้องสงสัย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ว่า ข้อความที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลยูเครนที่ถูกโจมตีไซเบอร์ เขียนเป็นภาษายูเครน รัสเซีย และโปแลนด์ อ่านว่า “ชาวยูเครนทั้งหลาย! ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดของพวกแก ถูกอัพโหลดเข้าเครือข่ายสาธารณะแล้ว ข้อมูลทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ถูกทำลายและจะไม่มีทางกอบกู้กลับคืนได้” และ “ข้อมูลเกี่ยวกับพวกแกทั้งหมด ได้กลายเป็นสาธารณะ จงกลัวและรอรับมือสิ่งเลวร้ายที่สุด นี่คือสิ่งตอบแทนสำหรับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของพวกแก” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศยูเครน กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุได้ว่า ใครอยู่เบื้องหลังการโจมตี แต่รัสเซียอยู่เบื้องหลังการโจมตีคล้ายกันนี้ในอดีต     รัฐบาลยูเครนเผยเมื่อวันศุกร์ว่า สามารถกู้เว็บไซต์ที่ถูกโจมตีได้เป็นส่วนใหญ่แล้ว และข้อมูลส่วนบุคคลไม่ถูกขโมย เว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐจำนวนมาก ถูกสั่งระงับใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้การโจมตีแพร่กระจาย     นายโจเซฟ บอร์เรลล์ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง กล่าวประณามการโจมตีไซเบอร์ครั้งนี้ และว่าคณะกรรมาธิการการเมืองและความมั่นคง และสำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ของสหภาพยุโรป เตรียมนัดประชุมหารือกัน เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือยูเครน…