รู้แล้วหนาว! “โจรไซเบอร์”อยู่กับตัว แฉข้อมูลคนไทยรั่วไหลเข้ามือโจรไซเบอร์ แนะ รบ.ยกระดับความปลอดภัย สางกม.ไซเบอร์ใหม่

Loading

วันนี้( 13 ธ.ค.) ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชน ที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และที่ปรึกษาหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอุบัติการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attacks) การเจาะระบบและการโจรกรรมข้อมูลของสายการบินในประเทศไทย

รู้ทัน Cyber Attack โจรไซเบอร์ที่ติดตามคุณไปทุกที่

Loading

  ปัญหาโจรกรรมข้อมูล การจับข้อมูลเป็นประกันเพื่อเรียกค่าไถ่ การแฮคบัญชีเพื่อขโมยเงิน ยังคงเป็นอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ หรือ Cyber Attack ที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนต้องพึงระวังให้มากและรู้ให้เท่าทันกลโกง   Cyber Attack หรือ อาชญากรรมทางไซเบอร์ คือ เป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและช่องทางออนไลน์ต่างๆ   รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2565 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคม ประจำปี 2565 เปิดเผยว่า     – คนไทยใช้เวลาในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยคนละ 7 ชั่วโมง 4 นาทีต่อวัน     – กิจกรรมออนไลน์ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การดูหนัง/ฟังเพลง การซื้อขายของ การทำธุรกรรม ทางการเงิน และการอ่านข่าว     – 3 อุปกรณ์หลัก (devices) ที่นิยมใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ 97.07% แท็บเล็ต…

‘เทคนิคโจร’ ก็พัฒนา ‘ปล้นออนไลน์’ อาวุธ ‘จุดอ่อนเหยื่อ’

Loading

  นอกจาก “ภัยโฆษณาเกินจริง” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้ชี้ให้เห็น “อันตราย” ไปแล้ว…กับ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” อย่างการ “ขโมยข้อมูล-ต้มตุ๋นออนไลน์” ก็เป็นอีกภัยที่ใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ   ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของไทย ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยอ้างอิงผลสำรวจของ Identity Theft Resource Center ที่พบว่า…ปี 2565 ทั่วโลกมีการโจมตีด้านข้อมูลส่วนบุคคลมากมาย โดยมีผู้เสียหายที่ถูกขโมยข้อมูลมากถึง 442 ล้านคน!!! ซึ่งแน่นอนว่าในจำนวนนี้ก็ย่อมมี “เหยื่อคนไทย” รวมอยู่ด้วย   ตัวเลขนี้ฉายชัด “สถานการณ์ปัญหา”   ที่โลกยุคใหม่ต้องเผชิญ “โจรไซเบอร์”   อีกหนึ่ง “ภัยคุกคามที่น่ากลัว” ในยุคนี้   “การแฮ็กข้อมูล การถูกเจาะระบบ กำลังเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะข้อมูลส่วนบุคคลได้กลายเป็นแหล่งทำเงินของแฮกเกอร์ไปแล้ว โดยแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลเหล่านี้ไปจะนำไปขายต่อเพื่อหาเงิน หรือแม้แต่สวมรอยแทนตัวตนของคนที่ถูกขโมยข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้” …เป็น “อันตราย”…

ยูเครนทลายรังโจรไซเบอร์สร้างตลาดออนไลน์ปลอมหลอกเอาข้อมูลเหยื่อ

Loading

  ตำรวจยูเครนจับกุม 2 ผู้ต้องหา และคุมตัวผู้เกี่ยวข้องอีก 10 ราย สำหรับความเชื่อมโยงกับแก๊งอาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้วิธีฟิชชิ่งและเปิดตลาดออนไลน์ในการขโมยเงินกว่า 4.3 ล้านเหรียญ (ราว 146 ล้านบาท) จากเหยื่อ 1,000 รายทั่วยุโรป   แก๊งที่ว่านี้สร้างเว็บไซต์ดูดข้อมูลมากกว่า 100 แห่งเพื่อหลอกเอาข้อมูลบัตรธนาคารของเหยื่อ และล้วงข้อมูลบัญชี   เว็บไซต์เหล่านี้หลอกว่าขายผลิตภัณฑ์หลายตัวในราคาต่ำกว่าตลาด ซึ่งเมื่อเหยื่อเผลอกรอกข้อมูลทางการเงินเพื่อซื้อสินค้าเหล่านี้ ก็จะถูกขโมยข้อมูลทันที ก่อนจะสูญเงินไปทั้งหมด   นอกจากนี้ ยังมีการเปิดคอลเซ็นเตอร์ 2 แห่ง ตั้งอยู่ในเมืองวินนิตเซีย และลวิฟ ของยูเครน ซึ่งมีการจ้างพนักงานที่มีหน้าที่คอยดึงดูดให้เหยื่อเข้ามาซื้อสินค้า   เหยื่อมาจากหลายประเทศทั่วยุโรป ทั้ง เช็กเกีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส   2 ผู้ต้องหาสำคัญที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นหัวโจกถูกตั้งข้อหาฉ้อโกง และสร้างองค์กรอาชญากรรม มีโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี ขณะที่เครือข่ายอีก 10 รายถูกเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปคุมตัวไว้สอบสวนต่อไป   โดยตำรวจยูเครนได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของเช็กเกียจนนำมาสู่การทลายรังโจรในครั้งนี้…

เรื่องต้องรู้? เมื่อประกาศใช้ ก.ม.ป้องกันโจรไซเบอร์!!

Loading

    ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว!! สำหรับ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566    หลังรัฐบาลเร่งตรา ก.ม.ฉบับนี้ออกมาใช้ให้เร่งด่วนที่สุด โดยหวัง “สกัดและเด็ดหัว” โจรไซเบอร์ ที่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายทางทรัพย์สินให้กับประชาชนอย่างมาก!!   หลายคนอาจนึกไม่ออกว่า คนไทยตกเป็นเหยื่อมากแค่ไหน? จากสถิติของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้เปิดรับแจ้งความออนไลน์ ผ่าน https://thaipoliceonline.com/ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียหายแจ้งความเป็นคดีสูงถึง 2.1 แสนคดี สร้างมูลค่าความเสียหายกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท!!     หรือ เรียกง่ายๆ ว่า มีคนแจ้งความถึงวันละเกือบ 600 คดี!! ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า รองลงมาคือ หลอกให้โอนเงิน!!   ขณะที่การอายัดบัญชีของทางเจ้าหน้าที่ มีการขออายัด 50,649  เคส จำนวน 68,870 บัญชี  ยอดเงิน 6,723 ล้านบาท แต่สามารถอายัดได้ทัน 445 ล้านบาท เท่านั้น!?!   สิ่งที่จะบรรเทาความเสียหายให้ประชาชนได้ คือ ทำอย่างไรจะสามารถอายัดยัญชีได้เร็วที่สุด ก่อนที่เงินจะถูกโอนออกจากบัญชีไป เพราะหากเงิน “ลอย” ออกจากบัญชีของเราไปแล้ว การจะได้เงินคืนจึงเป็นเรื่องยาก!!   จึงได้มีการออก ก.ม.ฉบับนี้ เพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น…

เตือนภัย ‘ออนไลน์’ ทริกโจรไซเบอร์ดูดเงิน

Loading

    ปัจจุบัน ‘ภัยออนไลน์’ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิต กลับกันเทคโนโลยีก็นำมาสู่ภัยร้าย หากมีคนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดี หรือเรียกว่า ‘มิจฉาชีพ’ นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหากำไรในทางมิชอบ   ซึ่งความเสียหายขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2565 มีคดีความออนไลน์กว่า 181,466 เรื่อง เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน รวมมูลค่าความเสียหาย 27,305 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเปอร์เซ็นต์สำเร็จยังสูง   เรื่องนี้ ‘กิตติ โฆษะวิสุทธิ์’ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือทีบี-เซิร์ต เปิดเผยว่า จากแนวโน้มภัยไซเบอร์ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรูปแบบหลากหลายเพื่อล่อลวงเอาข้อมูลสำคัญจากผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หวังโจรกรรมเงินจนนำมาสู่ความเสียหายทางทรัพย์สิน   สำหรับรูปแบบการล่อลวงเอาข้อมูลที่พบมากขึ้นในระยะหลัง คือ การหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน มีบริการที่เรียกว่า Accessibility…