สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…

จีนกวาดล้างโพสต์โซเชียลมีเดียกว่า 1.4 ล้านรายการ

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวว่า โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ 1.4 ล้านโพสต์ถูกลบ หลังจากการสอบสวนเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน การแสวงหาผลกำไรที่ผิดกฎหมาย และการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเวลา 2 เดือน   หน่วยงานกำกับดูแลบริหารไซเบอร์สเปซของจีน หรือ ซีเอซี กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า ได้ปิดบัญชีโซเชียลมีเดีย 67,000 บัญชี และลบโพสต์หลายแสนรายการระหว่างวันที่ 10 มีนาคม ถึง 22 พฤษภาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2564 จีนได้กำหนดเป้าหมายบัญชีโซเชียลมีเดียหลายพันล้านบัญชี เพื่อพยายาม “ทำความสะอาด” พื้นที่ไซเบอร์สเปซของตน และทำให้ทางการสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น   การปราบปรามครั้งล่าสุดมุ่งเป้าไปที่บัญชีบนแอปโซเชียลมีเดียยอดนิยมของจีน เช่น วีแชต (WeChat), โต่วอิน (Douyin) และ เว่ยป๋อ (Weibo) ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของสื่อที่เผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลทั่วไป แต่ไม่ได้ดำเนินการ หรือได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลหรือรัฐ   ทางการมักจับกุมพลเมืองและเซนเซอร์บัญชีสำหรับการเผยแพร่หรือแบ่งปันข้อมูลและข้อเท็จจริง ที่มีความละเอียดอ่อน หรือวิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาล หรือกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลดังกล่าวถูกเผยแพร่ในวงกว้าง   ตามรายงานของซีเอซี…

Digital Footprint คืออะไร ทำไมคนรุ่นใหม่ต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์โซเชียล

Loading

    ดิจิทัลฟุตพริ้นท์ คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดความประพฤติของบุคคลที่กระทำบนโลกอินเทอร์เน็ต และผู้ใหญ่หลายคนถึงกับเตือนว่า “สิ่งที่เคยกระทำในอดีตจะส่งผลถึงปัจจุบัน” ดังนั้น คิดก่อนโพสต์   Digital Footprint (ดิจิทัลฟุตพริ้นท์) หรือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่จะเก็บประวัติทางพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการกรอกข้อมูลใส่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ การแชร์หรือแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถค้นหาได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างก็ค้นเจอบนโลกดิจิทัลแล้ว   นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องกังวลก็คือ ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน วัยทำงาน หรือเจ้าของกิจการก็ต้องรอบคอบเรื่องการโพสต์ข้อความใดๆ ก็ตามบนโซเชียลมีเดีย   มีข้อมูลจาก CareerBuilder ระบุว่า เรื่องดิจิทัลฟุตพริ้นท์เป็นหนึ่งในเหตุผลที่องค์กรจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพนักงานใหม่ในการเข้าทำงาน หากพนักงานคนนั้นมีพฤติกรรมการโพสต์ภาพ วิดีโอหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด เหยียดเพศ บูลลี่หรือแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองแบบรุนแรง เหยียดศาสนา เป็นต้น     เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่มีองค์กรกว่า 41.19% ให้ความเห็นพ้องตรงกับผลวิจัยว่า นำการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มาใช้ประกอบในการพิจารณาคุณสมบัติในการรับเข้าทำงาน  …

‘เวียดนาม’ จ่อบังคับ ‘ยืนยันตัวตน’ คนใช้โซเชียลมีเดีย หวังปราบโกงออนไลน์

Loading

    “เวียดนาม” เตรียมกำหนดให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ของแพลตฟอร์มทั้งในและต่างประเทศ ต้องยืนยันตัวตน ในความพยายามที่จะควบคุมการโกงออนไลน์   สำนักข่าววอยซ์ ออฟ เวียดนาม (วีโอวี) ของทางการเวียดนาม รายงานว่า มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายโทรคมนาคมฉบับปรับปรุงใหม่ ที่มีกำหนดประกาศใช้ภายในสิ้นเดือนนี้ จะช่วยให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สามารถติดตามผู้กระทำความผิดด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือฝ่าฝืนกฎหมาย   นายเหวียน ถั่น หลำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสื่อสารเวียดนาม ระบุว่า มีหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่สามารถระบุเจ้าของบัญชีโซเชียลมีเดียที่ละเมิดกฎหมาย แต่ไม่สามารถติดตามพวกเขาได้ เนื่องจากอาชญากรเหล่านั้นใช้แอปพลิเคชันข้ามพรมแดน   “บัญชีที่ไม่ได้รับการยืนยัน ไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มในประเทศ หรือต่างประเทศ เช่น เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก และยูทูบ จะถูกรวมไว้ในมาตรการใหม่ด้วย”   รายงานข่าวระบุด้วยว่า ผู้ใช้ทั้งรายบุคคล และองค์กรจะอยู่ภายใต้มาตรการนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการบางรายไม่ได้เสนอการยืนยันตัวตนในเวียดนามในปัจจุบัน   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังต่อรอการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติของเวียดนาม และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใด ๆ ออกมา   การเคลื่อนไหวข้างต้น ยังมีขึ้นหลังเมื่อปี 2565…

รัฐแรกในแดนมะกัน ‘ยูทาห์’ ผ่าน กม. เด็กใช้โซเชียลต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่

Loading

The Salt Lake Tribune via AP   รัฐแรกในแดนมะกัน ‘ยูทาห์’ ผ่าน กม. เด็กใช้โซเชียลต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่   สำนักข่าวเอพีและเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม นายสเปนเซอร์ ค็อกซ์ ผู้ว่าการรัฐยูทาห์ ได้ลงนามรับรองร่างกฎหมายจำนวน 2 ฉบับ ที่ระบุให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองในการใช้งานโซเชียลมีเดีย ทำให้เป็นรัฐแรกในสหรัฐที่ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวขณะที่อีกหลายรัฐกำลังพิจารณาที่จะเสนอร่างกฎหมายในลักษณะเดียวกัน   กฎหมายดังกล่าวยังระบุไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ใช้โซเชียลมีเดียในช่วงระหว่าง 22.30 น. ถึงเวลา 06.30 น. และกำหนดให้บริษัทโซเชียลมีเดียยินยอมให้ผู้ปกครองสามารถเข้าบัญชีผู้ใช้งานของลูกได้ โดยกฎหมายดังกล่าวจะเริ่มมีผลในเดือนมีนาคม 2024 และถูกเสนอขึ้นมาเพื่อรับมือกับข้อกังวลว่าเยาวชนเสพติดการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น และความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เช่น การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ และการแอบเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานเด็ก   ค็อกซ์โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ว่า “เราจะไม่ยอมให้บริษัทโซเชียลมีเดียทำลายสุขภาพจิตของเยาวชนของเราอีกต่อไป” กฎหมายนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็กสามารถฟ้องร้องบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโซเชียลมีเดียจากความเสียหายทางด้านการเงิน ร่างกาย และจิตใจจากการใช้โซเชียลมีเดีย ได้ง่ายขึ้น   นายจอร์แดน…

9 สัญญาณการเมืองไทย…อันตรายบนโลกไซเบอร์!

Loading

  ใกล้ยุบสภาและใกล้เลือกตั้งเข้ามาทุกที นับจากนี้ไปก็เหลืออีกไม่ถึง 60 วันก็จะต้องไปเข้าคูหาหย่อนบัตรกันแล้ว   “ทีมข่าวอิศรา” พาคุณผู้อ่านไปดูสถานการณ์การหาเสียงโดยใช้ “โซเชียลมีเดีย” ซึ่งปัจจุบันนักการเมืองและพรรคการเมืองใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการหาคะแนน   แต่โซเชียลมีเดีย หรือสื่อสังคมออนไลน์ หลายคนคงทราบดีว่าแม้จะมี “คุณอนันต์” แต่ก็มี “โทษมหันต์” ด้วยเช่นกัน จึงมีหลายเรื่องที่ประชาชนอย่างเราๆ ต้องรู้เท่าทัน   ที่สำคัญโลกโซเชียลฯ มีทั้งเรื่องจริง เรื่องเท็จ เรื่องสร้างภาพ สร้างกระแส ปะปนกันจนเละตุ้มเป๊ะ   และต้องไม่ลืมว่าโลกไซเบอร์นั้น ข่าวจริงเดินทางช้ากว่าข่าวเท็จถึง 6 เท่า จึงมีคนตกเป็นเหยื่อ เสียท่า มากกว่าคนที่รู้เท่ากัน   พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร เขียนบทความวิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ   @@ “จับสัญญาณแปลกๆ ในโลกโซเชียลฯ ก่อนเลือกตั้ง 2566”   ประเด็นแรก ผลจากการเสพข่าวการเมือง โดยเฉพาะผ่านทางโซเชียลฯ   -ผลการศึกษาของนักการสื่อสารพบว่า การเสพข่าวการเมืองมากเกินไป จะทำให้ความเชื่อว่ามนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง และไม่มีความจริงใจ…