Slick แอปวัยรุ่นอินเดียทำฐานข้อมูลผู้ใช้นับแสนรายหลุดบนโลกออนไลน์

Loading

    Slick แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียสัญชาติอินเดียที่ขณะนี้กำลังมาแรงทำฐานข้อมูลผู้ใช้งานหลุดสู่สาธารณะเป็นเวลาหลายเดือน ในจำนวนนี้มีข้อมูลเด็กนักเรียนด้วย   ฐานข้อมูลนี้หลุดออกมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม มีทั้งชื่อนามสกุล เบอร์โทร วันเกิด และรูปโปรไฟล์ของผู้ใช้งานมากกว่า 153,000 คน   ผู้ที่เจอฐานข้อมูลที่หลุดออกมานี้คือ อนุรัก เซ็น (Anurag Sen) จาก CloudDefense.ai ซึ่งได้ขอให้เว็บไซต์ TechCrunch ช่วยแจ้งเตือนไปยัง Slick ซึ่งทาง Slick ก็ได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว   เซ็นยังได้จากแจ้งไปยังหน่วยตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์อินเดีย (CERT-In) ให้ทราบด้วยแล้ว   TechCrunch พบว่าการหลุดรั่วของฐานข้อมูลในครั้งนี้เกิดจากการตั้งค่าที่ผิดพลาด ทำให้ใครก็ตามที่รู้เลขไอพีของฐานข้อมูลก็จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้หมด   Slick เปิดให้ใช้งานครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 ก่อตั้งโดย อาจิต นันดา (Archit Nanda) อดีตผู้บริหาร Unacademy โดย Slick เป็นแพลตฟอร์มสำหรับนักเรียนและนักศึกษามาพูดคุยกันได้แบบไม่เปิดเผยตัวตน ในปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดถึง 100,000 ครั้ง…

สถิติ Digital2023 เปรียบเทียบพฤติกรรม ใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยกับทั่วโลก

Loading

    We are social เพื่งออกรายงาน “Digital 2023 Global Overview” เป็นการสรุปสถิติการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเข้าถึงเนื้อหาและบริการดิจิทัล พฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ต การใช้สื่อสังคมออนไลน์   ข้อมูลปีนี้ที่น่าสนใจคือ แม้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกล่าสุดจะเพิ่มขึ้น 1.9% เป็น 5,158 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 64.4% ของประชากรทั้งโลก แต่ก็กลับพบว่าผู้คนโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าปีก่อนถึง 4.8% กล่าวคือ เฉลี่ยคนละ 6 ชั่วโมง 37 นาทีต่อวัน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น ทำให้คนพิจารณาการเล่นออนไลน์ในสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น   ในรายงานระบุว่าผู้คนทั่วโลกเข้าเว็บไซต์หรือเล่นแอปต่าง ๆ เพื่อพูดคุยหรือส่งข้อความหาเพื่อนสูงถึง 94.8% ตามมาด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย 94.6% และการค้นหาข้อมูล 81.8% อันดับที่สี่คือ การดูและสินค้าออนไลน์ 76% การค้นหาสถานที่หรือดูแผนที่ 55% การใช้อีเมล 48.9% การฟังเพลง…

เดือน ธ.ค .”ดีอีเอส” ปิดเว็บผิด ก.ม.ตามคำสั่งศาล 728 URLs

Loading

  ดีอีเอส เผย ธ.ค. 65 ขอคำสั่งศาลระงับเว็บผิดกฎหมาย 728 URL ชี้ข่าวปลอมในโซเชียลสร้างความสับสน ตื่นตระหนกแก่ประชาชน ขอให้ตรวจสอบก่อนเชื่อและแชร์ ระวังทำผิด ก.ม.   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงดีอีเอส ได้ติดตามเรื่องคดีที่ผิดกฎหมายออนไลน์ รวมทั้งผลดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ซึ่งทางกระทรวงดีอีเอส ได้ดำเนินการยื่นขอศาลปิดกั้นเว็บไซด์ผิดกฎหมายในเดือนธันวาคม 2565 พบว่า ศาลมีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายแล้ว รวม 728 URLs แบ่งเป็น – กรณีหมิ่นสถาบันฯ 534 URLs – พนันออนไลน์ 139 URLs – ลามกอนาจาร 52 URLs – ความผิดตามกฎหมายอาญาอื่น 3 URLs   ขณะนี้พบว่ามีการโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จที่สร้างความตื่นตระหนก สร้างความสับสนให้กับประชาชน โดยกระทรวงได้เร่งติดตามมอนิเตอร์สถานการณ์ทุกวัน เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วว่าเข้าข่ายกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.…

เวียดนามเล็งแก้กฎหมาย ผู้ดูแลระบบต้องลบ “เฟคนิวส์” ภายใน 24 ชม.

Loading

  รัฐบาลเวียดนามเสนอการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ให้การลบเนื้อหาอันเป็นเท็จต้องเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง จากเดิมคือสองวัน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 4 พ.ย. ว่า กระทรวงข่าวสารของเวียดนามออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับการยกระดับความเข้มงวดของกฎหมายป้องกันและปราบปรามข่าวปลอม หรือเนื้อหาอันเป็นเท็จที่มีการเผยแพร่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยจะมีการเสนอปรับแก้กฏหมาย ให้ผู้ดูแลระบบต้องลบเนื้อหาที่มีลักษณะดังกล่าวออกจากระบบภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับคำสั่ง จากเดิมคือ 48 ชั่วโมง   ทั้งนี้ รายงานของรัฐบาลเวียดนาม ระบุด้วยว่า บทลงโทษเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายด้านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังใช้งานอยู่ในประเทศ ณ เวลานี้ มีความรุนแรงน้อยกว่าประเทศร่วมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 10 เท่า และทางการเวียดนามกำหนดเป้าหมายให้กฎหมายซึ่งได้รับการปรับแก้แล้ว มีผลบังคับใช้ภายในปี 2566   Vietnam to require 24-hour take-down for "false" social media content https://t.co/NowInryEpJ pic.twitter.com/pH9xxI69l4 — Reuters (@Reuters) November 4, 2022…

LinkedIn เริ่มบังคับยืนยันตัวตนด้วยอีเมลทำงาน-เบอร์โทร แก้ปัญหาบัญชีสแปม-หลอกลวง

Loading

  ไม่ได้มีแต่ Twitter ที่มีปัญหาบัญชีปลอมระบาด เพราะโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn ก็มีปัญหาบัญชีปลอมเพื่อหลอก scam ด้วยเช่นกัน   ล่าสุด LinkedIn เพิ่มมาตรการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้เพิ่ม โดยต้องยืนยันอีเมลทำงาน (work email) หรือหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งจะถูกนำไปแสดงในหน้า About this Profile ว่ายืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจริง ๆ และยังเพิ่มการระบุวันที่สร้างบัญชี เพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายขึ้นว่าเป็นบัญชีสร้างใหม่หรือไม่   ฟีเจอร์ตรวจสอบตัวตนยังทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ในวงจำกัด และจะค่อย ๆ ขยายในวงกว้างขึ้นต่อไป   ที่มา – CNN     —————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                          Blognone by mk   …

การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…