จาก ‘Influencer จัดตั้ง’ ถึง ‘Propaganda ยุค 5 G’/บทความพิเศษ จักรกฤษณ์ สิริริน

Loading

จาก ‘Influencer จัดตั้ง’ ถึง ‘Propaganda ยุค 5 G’   ก่อนยุค 1 G โลกของเรามี Propaganda ในฐานะ “โฆษณาชวนเชื่อ”   ที่ไม่ว่าจะอยู่ในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด ต่างก็ล้วนใช้ Propaganda เป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในยุทธศาสตร์การตลาด เช่น “ลัทธิฟาสซิสต์”   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ค่ายคอมมิวนิสต์” ที่ขึ้นชื่อลือชาด้านการนำแนวคิด Propaganda มาใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการประชาสัมพันธ์แนวคิดของพรรคฯ เพื่อดึงมวลชน และขยายเขตงานออกไปอย่างไม่สิ้นสุด   ศาสตราจารย์ ดร. Garth Jowett และศาสตราจารย์ ดร. Victoria O’Donnell เจ้าของหนังสือ Propaganda and Persuasion ได้อธิบายนิยามของ Propaganda ว่าหมายถึง “ความพยายามอย่างเป็นระบบโดยเจตนา ในการกำหนดรูปแบบการรับรู้ การปรับเปลี่ยนความเข้าใจ และโน้มน้าวพฤติกรรม เพื่อการตอบสนองความตั้งใจ จนกระทั่งบรรลุจุดมุ่งหมายของผู้โฆษณาชวนเชื่อ”   ศาสตราจารย์…

EU ทดลองสร้างโซเชียลของตัวเอง EU Voice และ EU Video ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส Mastodon

Loading

  ท่ามกลางประเด็นถกเถียงต่างๆ หลัง Twitter ตอบรับข้อเสนอซื้อของ Elon Musk ฝั่งของสหภาพยุโรปก็เริ่มทดลองเปิดบริการโซเชียลของตัวเอง ได้แก่ EU Voice (โซเชียลแบบ Twitter) และ EU Video (บริการวิดีโอแบบ YouTube)   บริการทั้งสองตัวเป็นการทดลองสร้างโซเชียลมีเดียทางเลือก (an alternative social media pilot program) โดยหน่วยงานด้านคุ้มครองข้อมูลของยุโรป European Data Protection Supervisor (EDPS) เป้าหมายหลักคือสร้างบริการโซเชียลที่คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ไม่หารายได้จากโฆษณา และสร้างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่โปร่งใส   บริการ EU Voice ใช้ซอฟต์แวร์ Mastodon ที่นิยมอยู่แล้ว (ทีม Donald Trump นำไปใช้สร้าง Truth Social) ส่วน EU Video ใช้ PeerTube ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อโฮสต์วิดีโอแบบ YouTube…

เผยไอพีผู้โพสต์ เว่ยโป๋ปราบเกรียนข่าวปลอม เปิดที่อยู่ทุกคอมเมนต์

Loading

  เผยไอพีผู้โพสต์ – วันที่ 28 เม.ย. รอยเตอร์รายงานว่า เว่ยโป๋ แอพพลิเคชั่นโซเชียลยอดนิยมของชาวจีน (เทียบเท่าทวิตเตอร์) ประกาศจะเปิดเผย IP Address ของผู้โพสต์แสดงความคิดเห็นทุกคน เพื่อเป็นมาตรการป้องปรามพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นอย่างไร้ความรับผิดชอบ   มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้คอมเมนต์ของผู้ใช้แพล็ตฟอร์มสนทนาดังกล่าวถูกแนบด้วย IP Address หมายเลขรหัสทางไซเบอร์ที่สามารถใช้บ่งบอกเครื่องที่ใช้งานและแหล่งที่มาได้   การประกาศข้างต้นมีชาวจีนเข้ามาอ่านกว่า 200 ล้านครั้งและถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมดิจิตอลของชาวจีนอย่างกว้างขวาง โดยบางคนมองว่าการเปิดเผย IP Address ผู้โพสต์เป็นเสมือนกับการที่ต้องการกระซิบข้างหูผู้ใช้ตลอดเวลาว่า “ระวังตัวให้ดี”   โปรไฟล์ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดที่อยู่และ IP Address ได้ (เว่ยโป๋)   อย่างไรก็ดี มีชาวจีนบางส่วนที่สนับสนุนมาตรการดังกล่าวด้วยโดยเฉพาะในช่วงที่จีนกำลังเผชิญกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนครั้งรุนแรง เพื่อปราบปรามการเผยแพร่ข่าวปลอมสร้างความสับสนและเข้าใจผิดให้สังคม   แถลงการณ์ของเว่ยโป๋ ระบุว่า มาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดพฤติกรรมการแอบอ้าง การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การใช้บ็อต และเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสตรวจสอบได้ของการแสดงคิดเห็นต่างๆ   “เว่ยโป๋ยืนหยัดเพื่อรักษาบรรยากาศการสนทนาที่ดีและเป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอมา รวมทั้งการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการในการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงได้อย่างรวดเร็วที่สุดเสมอ” เว่ยโป๋ ระบุ  …

ผู้นำฟิลิปปินส์วีโต้ร่างกฎหมาย “ยืนยันตัวตนบนโซเชียลมีเดีย”

Loading

  ผู้นำฟิลิปปินส์ยังไม่ลงนามรับรอง ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ การที่ประชาชน “ต้องยืนยันตัวตน” บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับ การละเมิดความเป็นส่วนตัว   สำนักข่าวต่างประเทศรายนงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่าประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต ใช้อำนาจวีโต้ ร่างกฎหมายซึ่งสภาคองเกรสของฟิลิปปินส์ มีมติเห็นชอบเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ว่าด้วยการที่ประชาชนต้อง “ยืนยันตัวตนทางกฎหมาย” ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าวในด้านความมั่นคง   ทั้งนี้ ทำเนียบมาลากันยังออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับเหตุผลที่ผู้นำฟิลิปปินส์คัดค้านร่างกฎหมายนี้ ที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า “กฎหมายซิมการ์ด” ว่ายังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับอีกหลายประเด็นปลีกย่อย ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็น “ช่องว่างอันตราย” ให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายก่อการล่วงละเมิด และการสอดแนมของเจ้าหน้าที่อาจสุ่มเสี่ยง เข้าข่ายเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเองด้วย   Senate President @sotto_tito took to Twitter on Friday to express his displeasure of President Rodrigo…

ปั้นอาสาสมัครดิจิทัลประจำหมู่บ้าน

Loading

  #เศรษฐศาสตร์ตลาดสด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งผลักดันเยาวชนคนรุ่นใหม่หัวใจอาสาเป็น Youtuber, Net Idol ด้านดิจิทัลในชุมชน เสริมทัพเครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล ประจำหมู่บ้าน หวังสร้างเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับพื้นที่ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และปลอดภัย   สืบเนื่องจากปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ที่แพร่กระจายตามพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียและอินเทอร์เน็ตของประชาชน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้งานโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้เกิดเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ง่าย   จากข้อมูลการเข้าร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก. ปอท) แนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีใน ปี พ.ศ. 2565 เมื่อพิจารณาข้อมูลจากสถิติการเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน บก.ปอท. ปี พ.ศ. 2561-2564 พบว่า รูปแบบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือใช้เทคโนโลยีในการกระทำความผิดที่มีประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีมากที่สุด 5 อันดับแรก ดังนี้ อันดับ 1 คือ ความผิดฐานหมิ่นประมาท รองลงมาคือ การแฮก เพื่อปรับเปลี่ยนหรือขโมยหรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ ความเสียหายรวมประมาณ 67 ล้านบาท อันดับ 3 คือ การหลอกขายสินค้าบริการ…

ฟิลิปปินส์ผ่าน ก.ม. บังคับให้ยืนยันตัวตนบนโซเชียลมีเดีย

Loading

  รัฐสภาฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ส่งผลให้ประชาชนต้องยืนยันตัวตนตามความเป็นจริง ในการสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ หวังลดปัญหาข่าวปลอม และการฉ้อโกง   รัฐสภาฟิลิปปินส์ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาของฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ว่าด้วยการให้ประชาชนทุกคนต้องยืนยันตัวตนทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการสอบสวนแกะรอยได้ หลังพบปัญหาการก่อกวนทางออนไลน์ การให้ข่าวเท็จ และมีการใช้ตัวตนปลอมในการสร้างแอ็กเคาต์ในโลกโซเชียลจำนวนมาก   แฟรงคลิน ดริลอน หนึ่งในวุฒิสมาชิกที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องแก้ปัญหาการไม่เปิดเผยตัวตนในโลกออนไลน์ ที่จะนำไปสู่การโจมตี มุ่งร้ายผู้บริสุทธิ์ในโลกโซเชียลมีเดีย โดยกฎหมายฉบับนี้ยังคงต้องรอให้ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตร์แต ลงนาม ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป   ทั้งนี้ แม้กฎหมายฉบับนี้จะมีการระบุบทลงโทษสถานหนัก ทั้งการจำคุกและการปรับเงินจากการให้ข้อมูลเท็จ แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัดว่า บรรดาผู้ให้บริการสื่อโซเชียลมีเดียจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไร ว่าข้อมูลที่มีการลงทะเบียนเป็นความจริง รวมถึงจะตรวจสอบข้อมูลของบัญชีที่ลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วอย่างไร ขณะที่เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นอย่างเป็นทางการต่อประเด็นนี้ นอกจากนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวยังรวมครอบคลุมไปถึงการลงทะเบียนใช้งานซิมโทรศัพท์มือถือกับผู้ให้บริการตามความเป็นจริงอีกด้วย   ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุดที่ 79 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 110 ล้านคน และยังถูกจัดอยู่ในประเทศอันดับต้นๆ ที่ประชากรใช้เวลาในโลกโซเชียลมีเดียต่อวันสูงสุดด้วย…