รายงานล่าสุดแคสเปอร์สกี้เผย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียอาเซียน 76% ตระหนักภัยไซเบอร์ ไม่เก็บข้อมูลการเงินไว้ในออนไลน์

Loading

หากคุณหวั่นใจทุกครั้งที่ต้องกรอกข้อมูลเครดิตการ์ด หรือข้อมูลการเงินลงในเว็บไซต์ช้อปปิ้งหรือในแอปชำระเงิน คุณไม่ใช่คนเดียวแน่นอน อย่างน้อยตามข้อมูลการสำรวจเรื่อง “Making Sense of Our Place in the Digital Reputation Economy” โดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัลระดับโลก พบว่าข้อมูลส่วนบุคคลบางประเภทนั้น ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้โซเชียลมีเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโดยมากมักเลือกไม่แชร์หรือเก็บทางออนไลน์     ผู้เข้าร่วมการสำรวจส่วนมาก (76%) จากทั้งหมด 861 คนในภูมิภาคนี้ยืนยันความตั้งใจที่จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ เช่น รายละเอียดบัตรเดบิต บัตรเครดิต ให้ห่างจากอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับหนึ่ง อัตราส่วนของกลุ่มคนที่เลือกที่จะไม่เก็บข้อมูลการเงินทางออนไลน์ มีอัตราสูงที่สุดในกลุ่ม Baby Boomers (85%) ตามด้วย Gen X (81%) และมิลเลนเนียล (75%) ในขณะที่เจเนเรชั่นที่เด็กที่สุด Gen Z นั้นเพียง 68% ไม่ใช่เรื่องแปลก จากงานวิจัยหลายชิ้นต่างระบุถึงประชากรรุ่นใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงประชากรจำนวนมากในภูมิภาคที่ยังเข้าไม่ถึงบริการการเงิน หรือยังไม่ได้โอกาสใช้บริการการเงิน และอัตราการใช้งานอุปกรณ์โมบายที่เป็นที่นิยม รวมทั้งการผลักดันจากภาครัฐให้ใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล  …

ฟังชัดๆ ไฉน พ.ต.ท.เต้นในติ๊กต๊อกโดนตั้งกก.สอบ จเรตำรวจฯชี้ฝ่าฝืนข้อห้ามเล่นโซเชียลที่ 9

Loading

  เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) กล่าวถึงกรณีปรากฏคลิป ตำรวจแต่งเครื่องแบบเต้นล้อเลียนนักร้องประเทศเพื่อนบ้าน เผยแพร่ปรากฏทางสื่อแขนงต่างๆ จนเป็นที่วิจารณ์ถึงความเหมาะสมจากสังคม ว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร ได้สั่งการให้ จตช. ติดตามดำเนินการกรณีดังกล่าว โดยเบื้องต้น ทราบว่า ตำรวจดังกล่าวคือ พ.ต.ท.อรรคพล ยี่เกาะ สว.กก.สส.ภ.จว.อุดรธานี แต่งกายเครื่องแบบ พ.ต.ท. ติดห่วงโซ่คล้องจมูก เต้นเลียนแบบเพลงนักร้องประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังเป็นกระแส เผยแพร่ทางแอพลิเคชั่น และสื่อแขนงต่างๆ จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม และตลกขบขัน ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อสั่งการ ทั้งๆ ที่ ผบ.ตร. และ จตช. เพิ่งสั่งการในที่ประชุมบริหาร ตร. เมื่อเดือน มีนาคม 2564 และ ผบ.ตร มีหนังสือ เมื่อ 2 เมษายน 2564 สั่งการกำชับทุกหน่วยให้ชี้แจง กำชับ…

พบข้อมูลผู้ใช้ LinkedIn กว่า 827 ล้านรายการ ถูกเร่ขายในเว็บไซต์กลุ่มแฮ็กเกอร์

Loading

  ในเว็บไซต์ของเหล่าแฮ็กเกอร์มีการโพสต์เร่ขายข้อมูลที่อ้างว่าเป็นผู้ใช้งาน LinkedIn จำนวนกว่า 827 ล้านรายการ   จากข้อมูลพบแฮ็กเกอร์ 2 กลุ่มที่ขายข้อมูลผู้ใช้ LinkedIn โดยหนึ่งในนั้นได้นำเสนอฐานข้อมูล 7 ตัวที่มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 827 ล้านรายการ ทั้งนี้สนนราคาอยู่ที่ราว 7,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับข้อมูลที่พบประกอบด้วย อาชีพ, ชื่อจริง, บริษัท, เว็บไซต์บริษัท, อีเมล, ลิงก์ไปยังโปรไฟล์, วันเริ่มทำงาน ,จำนวน Connection, หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่   อย่างไรก็ดีเมื่อทีมงาน LinkedIn ตรวจสอบพบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลสาธารณะและมีการประกบกับข้อมูลจากเว็บไซต์หลายแห่งหรือบริษัทเข้ามาด้วย ทั้งนี้ข้อมูลของผู้ใช้ที่ปิดเป็นส่วนตัวไว้ยังปลอดภัยดีเพราะบริษัทไม่ได้ทำข้อมูลรั่วไหลหรือถูกแฮ็กแต่อย่างใด โดยทีมงานตั้งใจที่จะสร้างมาตรการป้องกันข้อมูลของผู้ใช้ สำหรับผู้สนใจอ่านถ้อยแถลงของทีมงานสามารถเข้าไปดูประกาศได้ที่ https://news.linkedin.com/2021/april/an-update-from-linkedin   ถือว่าเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้เลยนะครับ กับการที่คนร้ายทำ Data Scraping จากโปรไฟล์ในอินเทอร์เน็ต แล้วมาเร่ขายต่อ เมื่ออาทิตย์ก่อนก็มีแจกฟรีข้อมูลผู้ใช้ Facebook กว่า 533 ล้านรายที่พบว่าออกมาตั้งแต่ 2 ปีก่อน (https://www.techtalkthai.com/533-millions-records-of-facebook-users-can-download-for-free-on-hacker-forums/) หรือล่าสุดไม่กี่วันก่อนมีการเร่ขายข้อมูลผู้ใช้…

ตีกรอบ 9 ข้อมูลทางออนไลน์ “ต้องห้ามโพสต์” ของตำรวจ

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือน 9 ข้อมูลและข้อความต้องห้าม “โพสต์” บนโซเชียลของตำรวจ ที่อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างไม่ตั้งใจ ระบุยังไม่เคยมีใครถูกลงโทษ แต่ปรามต้องคิดก่อนโพสต์ วันนี้ (11 มี.ค.2564) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอตสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พร้อมด้วยพล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ และพล.ต.ท.เชษฐา โกมลวรรถนะ หัวหน้าจเรตำรวจ ร่วมกันแถลงเปิดตัว “โครงการจัดทำแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการสำรวจ” เพื่อคู่มือแนะนำข้าราชการตำรวจทุกระดับให้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ที่เกิดประโยชน์และถูกต้อง หลังพบว่ามีข้าราชการตำรวจใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม เช่น ล้อเลียน กลั่นแกล้ง แสดงกิริยาขบขันจนเกินขอบเขต ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือจากสังคม รวมถึงการใช้สื่อออนไลน์ละเมิตบุคคลอื่น หรือกระทำผิดกฎหมายจนเกิดความเสียหายขึ้น สำหรับประเภทข้อมูลข่าวสารที่ไม่ควรเผยแพร่ ในรูปแบบข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว มี 9 ข้อ ดังนี้ ข้อมูลที่มีเนื้อหาพาดพิง หรือ ส่งในทางลบต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อมูลที่มีลักษณะยั่วยุ เสียดสี บิดเบือนโฆษณา ชวนเชื่อ สร้างความแตกแยกต่อหน่วยงาน…

จีนเพิ่มมาตรการคุมเข้ม “บล็อกเกอร์” ต้องมีหนังสือรับรองรัฐบาล

Loading

จีนเพิ่มมาตรการคุมเข้ม “บล็อกเกอร์” ต้องมีหนังสือรับรองจากรัฐบาล ก่อนเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต     17 ก.พ. 2564 สำนักข่าวเอพีรายงานว่า หน่วยเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีน ประกาศข้อกำหนดให้บล็อกเกอร์และอินฟลูเอนเซอร์ต้องมีหนังสือรับรอง ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีนก่อนจะเผยแพร่คอนเทนต์ต่าง ๆ โดยจะเริ่มบังคับใช้สัปดาห์หน้า แม้ว่าจีนจะกำหนดให้มีการขออนุญาตก่อนเผยแพร่เนื้อหาบางประเภทบนอินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 2560 เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและการทหาร แต่กฎใหม่ที่ออกมาล่าสุดนี้ขยายไปถึงเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ การศึกษา และการพิจารณาคดีด้วย “ติตัส เฉิน” ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายโซเชียลมีเดียจีน จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติซุนยัตเซ็น ประเทศไต้หวัน กล่าวว่า หน่วยเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ตของจีนต้องการควบคุมขั้นตอนทั้งหมดของการผลิตข้อมูลเพื่อเผยแพร่ ซึ่งสอดคล้องกับอำนาจอธิปไตยดิจิทัลที่ “สี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีจีน ทำให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อบังคับพื้นการสนทนาให้แคบลง “หม่า เชี่ยวหลิน” นักวิจัยด้านวิเทศสัมพันธ์ และคอลัมนิสต์ชาวจีน ที่มีผู้ติดตามกว่า 2 ล้านคนแพลตฟอร์มไมโครบล็อกอย่าง Weibo กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ Weibo ได้ขอให้เขาลบโพสต์ที่เกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐกิจทิ้ง “ดูเหมือนว่าตอนนี้ผมจะโพสต์เกี่ยวกับความบันเทิง อาหาร และเครื่องดื่มเท่านั้น” ในขณะที่ “หวัง…

‘กูเกิล’ แฉ ‘เกาหลีเหนือ’ ส่งแฮกเกอร์โจมตี ทีมวิจัยความปลอดภัยโซเชียล

Loading

  “กูเกิล” เผย เกาหลีเหนือส่งแฮกเกอร์ โจมตีทีมวิจัยด้านความปลอดภัยของสื่อโซเชียล โดยการสร้างบล็อก โปรไฟล์ทวิตเตอร์ อีเมล์และบัญชีลิงค์อินเทเลแกรม แฝงเข้าไปสอดแนม กูเกิล อิงค์เปิดเผยว่า ทางบริษัทเชื่อว่าแฮกเกอร์หลายรายในเกาหลีเหนือกำลังแฝงตัวเป็นบล็อกเกอร์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ และต้องการพุ่งเป้าโจมตีทีมนักวิจัยของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรายใหญ่ เช่น ทวิตเตอร์ และลิงค์อิน (LinkedIn) กูเกิลระบุว่า ทีมงาน Threat Analysis Group ของกูเกิลตรวจพบความเคลื่อนไหวที่มีเป้าหมายโจมตีทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาในบริษัทและองค์กรหลายแห่ง โดยเชื่อว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้ที่มาจากกลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ กูเกิลระบุว่า ปฏิบัติการดังกล่าวของแฮกเกอร์เหล่านี้มีความตั้งใจที่จะโจมตีทีมงานวิจัยด้านความปลอดภัยที่มีเทคนิคด้านวิศวกรรมโซเชียลแบบใหม่ (novel social engineering) อย่างไรก็ดี กูเกิลยังไม่สามารถระบุได้ในขณะนี้ว่าแฮกเกอร์ต้องการโจมตีทีมวิจัยของบริษัทใดบ้าง นายอดัม ไวด์แมนน์ เจ้าหน้าที่ของกูเกิลเปิดเผยว่า แฮกเกอร์ได้จัดตั้งบล็อกด้านการวิจัยและสร้างโปรไฟล์ทวิตเตอร์จำนวนมากเพื่อแฝงตัวเข้าติดต่อกับทีมวิจัยด้านความปลอดภัย โดยแฮกเกอร์ใช้บัญชีเหล่านี้เพื่อโพสต์ลิงค์ไปยังบล็อกดังกล่าวและแชร์วิดีโอเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากซอฟท์แวร์ที่พวกเขากล่าวอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบ นอกจากนี้ แฮกเกอร์ยังใช้บัญชีลิงค์อิน เทเลแกรม ดีสคอร์ด และอีเมล ในการแฝงตัวเพื่อติดต่อกับทีมวิจัยด้านความปลอดภัยด้วย นอกจากนี้ นายไวด์แมน ยังกล่าวว่า เมื่อเริ่มติดต่อสื่อสารกับทีมวิจัยได้แล้ว แฮกเกอร์เหล่านี้จะถามทีมวิจัยว่าต้องการจะเข้าร่วมในการวิจัยเรื่องความปลอดภัยหรือไม่ หลังจากนั้นแฮกเกอร์จะแชร์ไฟล์ให้กับทีมนักวิจัยซึ่งเป็นไฟล์ที่มีมัลแวร์ฝังอยู่ ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ที่จะสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ ลูกค้า หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเป้าหมายที่ต้องการโจมตี   ————————————————————————————————————————————————— ที่มา…