จีนเพิ่มมาตรการคุมเข้ม “บล็อกเกอร์” ต้องมีหนังสือรับรองรัฐบาล

Loading

จีนเพิ่มมาตรการคุมเข้ม “บล็อกเกอร์” ต้องมีหนังสือรับรองจากรัฐบาล ก่อนเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต     17 ก.พ. 2564 สำนักข่าวเอพีรายงานว่า หน่วยเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีน ประกาศข้อกำหนดให้บล็อกเกอร์และอินฟลูเอนเซอร์ต้องมีหนังสือรับรอง ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีนก่อนจะเผยแพร่คอนเทนต์ต่าง ๆ โดยจะเริ่มบังคับใช้สัปดาห์หน้า แม้ว่าจีนจะกำหนดให้มีการขออนุญาตก่อนเผยแพร่เนื้อหาบางประเภทบนอินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 2560 เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและการทหาร แต่กฎใหม่ที่ออกมาล่าสุดนี้ขยายไปถึงเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ การศึกษา และการพิจารณาคดีด้วย “ติตัส เฉิน” ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายโซเชียลมีเดียจีน จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติซุนยัตเซ็น ประเทศไต้หวัน กล่าวว่า หน่วยเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ตของจีนต้องการควบคุมขั้นตอนทั้งหมดของการผลิตข้อมูลเพื่อเผยแพร่ ซึ่งสอดคล้องกับอำนาจอธิปไตยดิจิทัลที่ “สี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีจีน ทำให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อบังคับพื้นการสนทนาให้แคบลง “หม่า เชี่ยวหลิน” นักวิจัยด้านวิเทศสัมพันธ์ และคอลัมนิสต์ชาวจีน ที่มีผู้ติดตามกว่า 2 ล้านคนแพลตฟอร์มไมโครบล็อกอย่าง Weibo กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ Weibo ได้ขอให้เขาลบโพสต์ที่เกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐกิจทิ้ง “ดูเหมือนว่าตอนนี้ผมจะโพสต์เกี่ยวกับความบันเทิง อาหาร และเครื่องดื่มเท่านั้น” ในขณะที่ “หวัง…

‘กูเกิล’ แฉ ‘เกาหลีเหนือ’ ส่งแฮกเกอร์โจมตี ทีมวิจัยความปลอดภัยโซเชียล

Loading

  “กูเกิล” เผย เกาหลีเหนือส่งแฮกเกอร์ โจมตีทีมวิจัยด้านความปลอดภัยของสื่อโซเชียล โดยการสร้างบล็อก โปรไฟล์ทวิตเตอร์ อีเมล์และบัญชีลิงค์อินเทเลแกรม แฝงเข้าไปสอดแนม กูเกิล อิงค์เปิดเผยว่า ทางบริษัทเชื่อว่าแฮกเกอร์หลายรายในเกาหลีเหนือกำลังแฝงตัวเป็นบล็อกเกอร์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ และต้องการพุ่งเป้าโจมตีทีมนักวิจัยของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรายใหญ่ เช่น ทวิตเตอร์ และลิงค์อิน (LinkedIn) กูเกิลระบุว่า ทีมงาน Threat Analysis Group ของกูเกิลตรวจพบความเคลื่อนไหวที่มีเป้าหมายโจมตีทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาในบริษัทและองค์กรหลายแห่ง โดยเชื่อว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้ที่มาจากกลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ กูเกิลระบุว่า ปฏิบัติการดังกล่าวของแฮกเกอร์เหล่านี้มีความตั้งใจที่จะโจมตีทีมงานวิจัยด้านความปลอดภัยที่มีเทคนิคด้านวิศวกรรมโซเชียลแบบใหม่ (novel social engineering) อย่างไรก็ดี กูเกิลยังไม่สามารถระบุได้ในขณะนี้ว่าแฮกเกอร์ต้องการโจมตีทีมวิจัยของบริษัทใดบ้าง นายอดัม ไวด์แมนน์ เจ้าหน้าที่ของกูเกิลเปิดเผยว่า แฮกเกอร์ได้จัดตั้งบล็อกด้านการวิจัยและสร้างโปรไฟล์ทวิตเตอร์จำนวนมากเพื่อแฝงตัวเข้าติดต่อกับทีมวิจัยด้านความปลอดภัย โดยแฮกเกอร์ใช้บัญชีเหล่านี้เพื่อโพสต์ลิงค์ไปยังบล็อกดังกล่าวและแชร์วิดีโอเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากซอฟท์แวร์ที่พวกเขากล่าวอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบ นอกจากนี้ แฮกเกอร์ยังใช้บัญชีลิงค์อิน เทเลแกรม ดีสคอร์ด และอีเมล ในการแฝงตัวเพื่อติดต่อกับทีมวิจัยด้านความปลอดภัยด้วย นอกจากนี้ นายไวด์แมน ยังกล่าวว่า เมื่อเริ่มติดต่อสื่อสารกับทีมวิจัยได้แล้ว แฮกเกอร์เหล่านี้จะถามทีมวิจัยว่าต้องการจะเข้าร่วมในการวิจัยเรื่องความปลอดภัยหรือไม่ หลังจากนั้นแฮกเกอร์จะแชร์ไฟล์ให้กับทีมนักวิจัยซึ่งเป็นไฟล์ที่มีมัลแวร์ฝังอยู่ ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ที่จะสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ ลูกค้า หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเป้าหมายที่ต้องการโจมตี   ————————————————————————————————————————————————— ที่มา…

‘หมู่เกาะโซโลมอน’ เตรียมแบนเฟสบุ๊กเพื่อปกป้อง ‘ความสามัคคีภายในชาติ’

Loading

In this Nov. 24, 2018, photo, ships are docked offshore in Honiara, the capital of the Solomon Islands. รัฐบาลประเทศหมู่เกาะโซโลมอน ประกาศสนับสนุนแผนห้ามใช้สื่อสังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ก (Facebook) เพื่อปกป้อง “ความเป็นเอกภาพแห่งชาติ” ท่ามกลางเสียงตอบโต้ว่ามาตรการนี้มีขึ้นเพื่อกลบเสียงวิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลมากกว่า เฟสบุ๊ก เป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารยอดนิยมของประชาชนชาวหมู่เกาะโซโลมอน ซึ่งมีภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยเกาะเล็กเกาะน้อยมากมายกระจายเป็นระยะทางมากกว่า 1,400 กม. ปัจจุบัน ประเทศหมู่เกาะแห่งนี้มีประชากรราว 685,000 คน และมีอยู่ราว 20% ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แต่รัฐบาลของหมู่เกาะโซโลมอนระบุว่า ที่ผ่านมาเฟสบุ๊กถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทางที่ผิด พร้อมเสนอแผนบล็อกเฟสบุ๊กและสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ จากความกังวลเรื่องการหมิ่นประมาทและการรังแกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ รวมทั้งต้องการจัดระเบียบพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเสียใหม่เพื่อปกป้องชุมชนจากถ้อยคำที่รุนแรงและละเมิดผู้อื่น รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของหมู่เกาะโซโลมอน ปีเตอร์ ชาเนล อโกวากา กล่าวว่า สิ่งที่ควรมาพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อ คือความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นเดียวกับสื่อสังคมออนไลน์ที่ควรใช้อย่างมีสติและฉลาดเท่าทัน ไม่ใช่ใช้เพื่อทำร้ายผู้อื่นเหมือนที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ผู้ต่อต้านบอกว่าคำสั่งห้ามใช้เฟสบุ๊กถือว่าขัดกับรัฐธรรมนูญของประเทศว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…

ดันกฎหมายห้ามแชร์ภาพใส่ร้ายตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่

Loading

ภาพประกอบ – ผู้ประท้วงต่อต้านการล็อคดาวน์ถูกตำรวจควบคุมตัวระหว่างการเดินขบวนในเมืองแฟรงก์เฟิร์ตอัมไมน์ทางตะวันตกของเยอรมนีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2020 (ภาพโดย Yann Schreiber / AFP) ฝรั่งเศสผลักดันกฎหมายเอาผิดผู้ที่แพร่ภาพหรือคลิปที่ทำให้ตำรวจดูเป็นผู้ร้ายในสายตาประชาชน สำนักข่าว France24 รายงานว่าฝรั่งเศสเสนอร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ โดยจะห้ามมิให้เผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีเจตนาจะป้ายสีเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มีภาพลักษณ์ที่เลวร้าย เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่จากการโจมตีที่มุ่งร้ายโดยใช้โซเชียลมีเดีย มาตรา 24 ของร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของฝรั่งเศสจะกำหนดความผิดทางอาญาใหม่ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปีและปรับ 45,000 ยูโร (ราว 1,6 ล้านบาท) หากผู้กระทำผิดเผยแพร่ภาพที่มีเป้าหมายซึ่ง “ทำร้ายให้ได้รับความกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือจิตใจ” แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อนี้ถูกเสนอครั้งแรกโดยฌอง มิเชล-โฟแวร์เกอ ซึ่งเป็น ส.ส. ของพรรค LREM ของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง หลังจากที่สหภาพตำรวจได้พยายามผลักดันเรื่องนี้มานาน อลิซ ตูโรต์ ส.ส. อีกคนของพรรค LREM กล่าวกับสถานีวิทยุ Inter radio ว่า จุดประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ก็คือเพื่อห้ามไม่ให้มีการเรียกร้องให้แก้แคนกับเจ้าหน้าที่และครอบครัวของพวกเขาด้วยวิธีการที่รุนแรง โดยผ่านทางการแพร่ภาพวิดีโอทางโซเชียลมีเดีย กฎหมายฉบับนี้ยังอนุญาตให้มีการแพร่ภาพบันทึกจากกล้องติดตัวตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ (body camera) เพื่อที่จะใช้เป็นการถ่วงดุลกับภาพที่มีผู็ถ่ายเอาไว้แล้วนำมาเผยแพร่ทางโซเชียลทีเดีย เนื่องจากผู้สนับสนุนกฎหมายบอกว่าภาพคลิของตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกโพสต์บนโซเชียลมีเดียมักถูกตัดต่อจนหลายคัร้งทำให้ผู้คนเข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจผิดไปจากบริบทของสถานการณ์แวดล้อม อย่างไรก็ตาม มีผู้ต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้…

‘โซเชียลมีเดีย’ ต้านข้อมูลผิด ๆ จากการเลือกตั้งสหรัฐฯ ได้หรือไม่?

Loading

Social Media Fake Activity ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ และยูทูบ ได้สัญญาว่าจะจัดการกับข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียพบว่า มาตรการของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ยังไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับข้อมูลเท็จ หรือการบิดเบือนข้อเท็จจริง ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี (Associated Press) บททดสอบของโซเชียลมีเดียเริ่มขึ้นในเช้าวันพุธที่ 4 พ.ย. ในขณะที่ยังมีการนับบัตรคะแนนในรัฐสมรภูมิอย่าง วิสคอนซิน มิชิแกน และเพนซิลวาเนีย เมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์​ ทรัมป์ แถลงที่ทำเนียบขาว อ้างถึงข้อมูลที่ผิด ๆ เกี่ยวกับผลการนับคะแนน และยังได้โพสท์ข้อความที่บิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลือกตั้งบนเฟสบุ๊กและทวิตเตอร์ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทรัมป์ได้พยายามบั่นทอนความน่าเชื่อถือของการลงคะแนนเสียงทางไปรษณีย์ และแสดงออกชัดเจนว่าตนต้องการให้ได้ผลการเลือกตั้งเมื่อมีการปิดคูหาเลือกตั้งในวันที่ 3 พ.ย. U.S. President Trump speaks to reporters about the 2020 presidential election at the White House…

‘ทวิตเตอร์-เฟซบุ๊ก-กูเกิ้ล’ พร้อมรับมือการบิดเบือนข้อมูลวันเลือกตั้ง

Loading

FILE – A woman in Los Angeles looks at the official Twitter account of U.S. President Donald Trump, June 23, 2020 ในวันเลือกตั้งที่ชาวอเมริกันใจจดใจจ่อรอฟังผลว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป บริษัทอินเตอร์เน็ตเช่นทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ต่างยกระดับการเฝ้าติดตามและกลั่นกรองการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารมากเป็นพิเศษ หลังจากที่บริษัทเหล่านี้ถูกวิจารณ์ว่า ปล่อยให้ผู้ใช้งานที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศปล่อยข่าวบิดเบือนในช่วงการเลือกตั้งเมื่อสี่ปีที่แล้ว นักวิเคราะห์มองว่า บริษัทต่างๆ เริ่มรับมือกับการบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้นเมื่อมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 และใช้วิธีดูแลเนื้อหาอย่างทันท่วงทีมากขึ้น เช่น ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการดูแลเนื้อหา สแปนดานา ซิงห์ นักวิเคราะห์นโยบายประจำสถาบัน New America’s Open Technology Institute มองว่า บริษัทอินเตอร์เน็ตนำเทคนิควิธีที่ใช้รับมือข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสมาใช้กับการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน แต่นั่นก็เท่ากับว่า บริษัทเหล่านี้ต้องชั่งน้ำหนักว่าจะเดินหน้าหยุดการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนต่อไป หรือจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานแสดงความเห็นของตนซึ่งอาจมีทั้งเรื่องจริงและเรื่องเท็จ ในประเด็นนี้ ซิงห์มองว่า บริษัทอินเตอร์เน็ทมีวิธีดูแลเนื้อหาอย่างแยบยลมากขึ้นกว่าการเอาเนื้อหาออกจากพื้นที่ของตน เช่น ขึ้นแถบแจ้งผู้ใช้งานว่าเนื้อหาดังกล่าวมีประเด็นน่ากังขา อย่างไรก็ตาม ซิงห์กล่าวว่า บริษัทเหล่านี้ไม่ได้เปิดเผยวิธีการกรองข้อมูลอย่างโปร่งใส…