เฟสบุ๊กเปิดตัว “เซคชั่นข่าว” ช่วยสำนักข่าวมีรายได้เพิ่ม-สู้ข่าวปลอม

Loading

FILE – The social media application, Facebook is displayed on Apple’s App Store, July 30, 2019. Facebook is launching a long-promised tool that lets users block the social network from gathering information about them on outside websites and apps. เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว เฟสบุ๊กเปิดตัวเซคชั่นใหม่เรียกว่า “News Tab” หรือ “หน้าข่าว” ผ่านแอพพ์เฟสบุ๊กในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะแสดงหัวข้อข่าวของสำนักข่าวใหญ่ต่าง ๆ เช่น The Wall Street Journal, The Washington…

เฟซบุ๊ก จับมือ สำนักข่าว เอเอฟพี ตรวจสอบข่าวปลอมในไทย

Loading

เฟซบุ๊ก ร่วมกับ สำนักข่าว เอเอฟพี เปิดโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย หากพบว่าไม่จริง จะแจ้งเตือนผู้ใช้งานก่อนแชร์ว่าปลอมพร้อมแสดงลิงก์ข่าวที่ถูกต้อง ขณะที่เพจข่าวปลอมจะถูกลดคะแนนการมองเห็น ส่งผลกระทบต่อการหารายได้จากเฟซบุ๊ก นางอันจาลี คาปูร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพันธมิตรข่าวประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เฟซบุ๊ก กล่าวว่า เฟซบุ๊กประกาศเปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อมูลเท็จโดยผู้ตรวจสอบภายนอก ในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาความโปร่งใสบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและพัฒนาคุณภาพของข่าวสารที่ผู้คนอ่านบนโลกออนไลน์ โดยเฟซบุ๊กร่วมมือกับ สำนักข่าว เอเอฟพี ซึ่งได้รับการรับรองโดยเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติ (International Fact Checking Network หรือ IFCN) ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่สถาบันพอยน์เตอร์ โดย เฟซบุ๊ก ได้เปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้ตรวจสอบภายนอกในเดือนธันวาคม 2559 และมีพันธมิตรกว่า 50 รายทั่วโลก ครอบคลุมกว่า 40 ภาษา มีเจ้าหน้าที่กว่า 30,000 คน กระจายตัวทำงานอยู่ในแต่ละประเทศ เพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ สำหรับการตรวจสอบ จะตรวจสอบบนเพจ หรือ ลิงก์ ข่าว ที่เป็นทั้งเนื้อหาข่าว รูปภาพและวิดีโอ ที่เปิดเป็นสาธารณะ เท่านั้น ไม่ได้ตรวจสอบกับเพจส่วนบุคคล เมื่อมีการตรวจสอบพบว่า…

เกาหลีใต้เล็งออกกฎหมายต่อต้านการบุลลี่ในโลกออนไลน์

Loading

ร่างกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นหลังการจากไปของไอดอลคนดังที่ถูกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตวิจารณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรงจนต้องจบชีวิตตัวเอง โลกอินเทอร์เน็ตเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในที่ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งรวมของ Hate Speech หรือการเอ่ยวาจาประทุษร้าย จนคนที่เป็นเป้าหมายตัดสินใจจบชีวิตหนีความเจ็บปวดจากคนที่อาจจะไม่แม้แต่จะรู้จักหรือเห็นหน้าค่าตากันเลยสักครั้ง ในขณะที่เจ้าของถ้อยคำทิ่มแทงจิตใจเหล่านี้ทำไปเพราะความสะใจเพียงชั่วครู่ชั่วยาม ไม่ได้ตระหนักถึงผลที่จะตามมาแม้แต่น้อย ล่าสุดสมาชิกรัฐสภาของเกาหลีใต้อย่างน้อย 9 คนได้ร่วมกันเสนอร่างกฎหมายต่อต้านการแสดงความคิดเห็นในช่องทางออนไลน์ด้วยถ้อยคำมุ่งร้าย หยาบคาย รุนแรง โดยคณะอนุกรรมการจะพิจารณารายละเอียดและข้อบังคับต่างๆ ภายในต้นเดือน ธ.ค.ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการคณะดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ, สมาคมนักฟุตบอลคนดัง, สหภาพแรงงานของคนในวงการบันเทิง, สหภาพแรงงานข้าราชการ รวมทั้งคนดังที่ที่เคยหรือมีคนใกล้ชิดเคยตกเป็นเหยื่อการใช้ถ้อยคำรุนแรง ร่างกฎหมายฉบับนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กฎหมายซอลลี” ซึ่งตั้งชื่อตามซอลลี นักร้องและนักแสดงเกาหลีใต้ที่เพิ่งตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง หลังจากทุกข์ทรมานกับภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการถูกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเธอด้วยถ้อยคำมุ่งร้ายมาตลอดเวลาที่เธออยู่ในวงการบันเทิง หลังการเสียชีวิตของเธอจึงเกิดการล่ารายชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎที่เข้มงวดกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่แสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสม รวมทั้งเรียกร้องให้เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของผู้แสดงความคิดเห็นด้วย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว สมาคมการบริหารงานวงการบันเทิงเกาหลี (CEMA) ได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจธุรกิจบันเทิงและศิลปิน รณรงค์เกี่ยวกับการใช้ภาษาในโลกออนไลน์ ทว่าด้วยเหตุขัดข้องบางอย่างจึงไม่สามารถผลักดันเป็นกฎหมาย ทั้งนี้ การสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้เมื่อปีที่แล้ว พบว่า ในจำนวนนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยม 50,000 คนที่เคยเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน 10.8% ถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (cyberbullying) ซึ่งสูงกว่านักเรียนที่ถูกทำร้ายร่างกายที่มีเพียง 10% เมื่อปลายปีที่แล้ว นักเรียนมัธยมปลายใน จ.ชุงช็องเหนือตัดสินใจฆ่าตัวตายหลังได้รับข้อความข่มขู่จากเพื่อน ส่วนอีกรายหนึ่งถูกเพื่อนข่มขืนแล้วนำเรื่องราวไปเปิดเผยทำให้มีคนส่งข้อความไปหาเธอทางเฟซบุ๊คเพื่อขอมีเพศสัมพันธ์ด้วยมากมาย จนเธอมีอาการซึมเศร้า อีชางโฮ จากสถาบันนโยบายเยาวชนแห่งชาติ…

ชุมนุมยุค 2019 ชาวฮ่องกงป้องกันการสอดแนมออนไลน์ และไม่ทิ้งรอยเท้าดิจิทัลอย่างไร

Loading

แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ มากมายในการชุมนุมเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ของชาวฮ่องกงครั้งนี้ แต่ประสบการณ์จาก Occupy Central เมื่อปี 2014 ก็ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนกลวิธีเพื่อปกป้องตัวเองเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวในการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น เพราะเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ในภายหลัง เมื่อปี 2014 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม มีการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง ครั้งนั้นตำรวจจับกุมชายคนหนึ่ง โดยอ้างว่าเขาโพสต์ข้อความชวนคนมาชุมนุมผ่านเว็บบอร์ด  และมีการส่งข้อความที่เป็นมัลแวร์แพร่กระจายไปทั่ววอทซแอป (WhatsApp) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์แอบดักฟังโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว นักวิจัยกล่าวว่าส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลจีน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เติบโตมาในโลกดิจิทัล และตระหนักดีถึงอันตรายจากการสอดแนมและการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากจีนแผ่นดินใหญ่และการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทำให้ผู้ชุมนุมเตรียมหาทางหลบหลีกเทคโนโลยีการสอดส่องประชาชนหลายรูปแบบ ครั้งนี้ ในวันแรกๆ ของการชุมนุมมีการเผยแพร่คู่มือ คีย์บอร์ด ฟรอนท์ไลน์ องค์กรรณรงค์เสรีภาพเน็ต เผยแพร่แผ่นพับว่าด้วยการปกป้องตัวตนสำหรับผู้ชุมนุม ตั้งแต่แนะนำไม่ให้ใช้ไวไฟสาธารณะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน หรือแม้แต่ห่อบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรของธนาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ จากการใช้สแกนเนอร์จากคลื่นความถี่ RFID ปกติแล้ว คนฮ่องกงใช้วอทซแอปเป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก แต่สำหรับการชุมนุม พวกเขาเปลี่ยนมาใช้แอปที่เข้ารหัสอย่าง เทเลแกรม (Telegram) แทน เพราะเชื่อว่าคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า และเพราะว่าสามารถสร้างกลุ่มสนทนาได้ใหญ่กว่าด้วย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เทเลแกรมประกาศว่า แอปเทเลแกรมเป็นเป้าหมายของการจู่โจมทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ต้นทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่…

มีผลแล้ว! ขอวีซ่าอเมริกาต้องแจงบัญชีโซเชียลมีเดียด้วย

Loading

ใบสมัครยื่นขอวีซ่าเข้าสหรัฐอเมริการูปแบบใหม่ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กำหนดให้ผู้ที่จะขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาเกือบทุกคนต้องแสดงบัญชีโซเชียลมีเดีย อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ที่ตนเองใช้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีเพียงผู้ถือพาสปอร์ตทูตและข้าราชการได้รับการยกเว้นจากมาตรการใหม่นี้ เมื่อเดือนมีนาคม 2018 รัฐบาลของทรัมป์เสนอกฎนี้ ตอนนั้น สหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (ACLU) โต้ว่าไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการติดตามโซเชียลมีเดียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเป็นธรรม และจะทำให้ประชาชนเซ็นเซอร์ตัวเองได้ ก่อนหน้านี้ ผู้ที่ต้องแสดงหลักฐานดังกล่าวมีเพียงผู้ยื่นขอวีซ่าที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม เช่น บุคคลที่มาจากประเทศในกลุ่มที่มีผู้ก่อการร้ายควบคุมอยู่ แต่ละปีมีประมาณ 65,000 คน หากใครให้ข้อมูลเท็จ ทางการบอกว่า อาจจะต้องเจอกับบทลงโทษที่ร้ายแรง ทั้งนี้ ข้อมูลบัญชีโซเชียลมีเดียที่ต้องแสดง เช่น อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ แต่หากผู้ยื่นขอวีซ่าต้องการแจ้งข้อมูลของแพลตฟอร์มอื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน “สำหรับการยื่นขอวีซ่า ต้องถือว่าความมั่นคงของประเทศมีความสำคัญที่สุด ผู้ที่เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาทุกคนต้องผ่านกระบวนการคัดกรองด้านความปลอดภัย เรากำลังหากลไกเพื่อพัฒนากระบวนการคัดกรองคนเพื่อปกป้องพลเมืองอเมริกัน ขณะเดียวกันก็สนับสนุนการเดินทางเข้าสหรัฐฯ อย่างถูกกฎหมาย” กระทรวงการต่างประเทศระบุ มาตรการใหม่นี้จะกระทบกับผู้ยื่นขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาที่มีประมาณ 14.7 ล้านคนต่อปี รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปทำงานหรือศึกษาที่สหรัฐอเมริกาด้วย ———————————————- ที่มา : The Momentum / 2 มิถุนายน 2562…