กองทัพสหรัฐฯ เสร็จสิ้นการทดสอบ Manta Ray โดรนสงครามใต้น้ำต้นแบบ
โดรนสงครามใต้น้ำต้นแบบของสหรัฐฯ Manta Ray รูปทรงคล้ายกระเบนราหูขนาดใหญ่ ผ่านการทดสอบเต็มรูปแบบเสร็จสิ้น หวังเสริมศักยภาพ พลิกโฉมความมั่นคงทางทะเล หากติดอาวุธ
โดรนสงครามใต้น้ำต้นแบบของสหรัฐฯ Manta Ray รูปทรงคล้ายกระเบนราหูขนาดใหญ่ ผ่านการทดสอบเต็มรูปแบบเสร็จสิ้น หวังเสริมศักยภาพ พลิกโฉมความมั่นคงทางทะเล หากติดอาวุธ
กองกำลังยูเครนเดินหน้ายึดคืนไครเมีย ยิงขีปนาวุธและส่งโดรนใต้น้ำเข้าถล่มอู่ต่อเรือของรัสเซียในเมืองเซวัสโตโปล บนชายฝั่งทะเลดำ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เรือของรัสเซียถูกทำลาย 2 ลำ และมีผู้บาดเจ็บ 24 ราย
เกาหลีเหนืออ้าง ทดสอบ “โดรนนิวเคลียร์ใต้น้ำ” สามารถทำให้เกิด “คลื่นสึนามิกัมมันตรังสี” ได้ เพื่อทำลายกองเรือและท่าเรือศัตรูโดยเฉพาะ วันนี้ (24 มี.ค.) KCNA สื่อของทางการเกาหลีเหนือรายงานว่า เกาหลีเหนือได้ทดสอบ “โดรนโจมตีใต้น้ำ” ที่มีความสามารถในการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งสามารถ “สร้างคลื่นสึนามิกัมมันตรังสี” ได้ ในการฝึกซ้อมเมื่อวานนี้ (23 มี.ค.) โดรนใต้น้ำรุ่นใหม่ของเกาหลีเหนือแล่นใต้น้ำที่ความลึก 80-150 เมตรเป็นเวลานานกว่า 59 ชั่วโมง และยิงระเบิดในน่านน้ำนอกชายฝั่งตะวันออกของประเทศ KCNA ระบุว่า โดรนใต้น้ำนี้มีชื่อว่า “แฮอิล” หรือที่แปลว่า “สึนามิ” โดยมีจุดประสงค์เพื่อลอบโจมตีน่านน้ำของศัตรู และทำลายกองเรือและท่าเรือเป้าหมาย โดยสร้างคลื่นกัมมันตรังสีขนาดใหญ่ผ่านการระเบิดใต้น้ำ สำนักข่าวเกาหลีเหนือรายงานว่า การทดสอบยุทโธปกรณ์ชนิดนี้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้นำ คิม จองอึน โดยตรง และ “โดรนนิวเคลียร์ใต้น้ำนี้สามารถติดตั้งไว้ที่ทุกชายฝั่งและท่าเรือได้ หรือลากโดยเรือผิวน้ำเพื่อปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ” ยังไม่ชัดเจนว่า เกาหลีเหนือได้พัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ขนาดย่อส่วนที่จำเป็นสำหรับนำมาติดตั้งอาวุธขนาดเล็กของตนอย่างเต็มที่หรือไม่ …
นักวิจัยพัฒนาต้นแบบ – ซินหัว รายงานว่าคณะนักวิจัยของจีนได้พัฒนาต้นแบบอากาศยาน 4 ใบพัด ซึ่งสามารถทะยานบินกลางอากาศและดำดิ่งใต้ผืนน้ำ ด้วยเป้าหมายสร้างยานพาหนะที่เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้เป็นวงกว้าง อากาศยาน 4 ใบพัด “ทีเจ-ฟลายอิงฟิช” (TJ-FlyingFish) ถูกพัฒนาโดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยระบบอัตโนมัติอัจฉริยะแห่งเซี่ยงไฮ้ สังกัดมหาวิทยาลัยถงจี้ และมหาวิทยาลัยฮ่องกงแห่งชาติจีน ต้นแบบของอากาศยานดังกล่าวมีน้ำหนัก 1.63 กิโลกรัม ฐานล้อกว้าง 380 มิลลิเมตร และสามารถทะยานบินกลางอากาศนาน 6 นาที หรือดำดิ่งใต้ผืนน้ำนานราว 40 นาที คณะนักวิจัยระบุด้วยว่าระยะการแล่นจะถูกเปลี่ยนตามสื่อกลางที่แตกต่างกันด้วยหน่วยแรงขับแบบสองสปีด และแรงขับเวกเตอร์จะถูกสร้างจากการหมุนของหน่วยแรงขับรอบแขนจับ ทำให้สามารถทำการเคลื่อนที่ใต้น้ำได้ ทั้งนี้ อากาศยาน 4 ใบพัดนี้มีศักยภาพการประยุกต์ใช้งานในการสำรวจทรัพยากร ภารกิจค้นหาและกู้ภัย การตรวจสอบทางวิศวกรรม และอื่น ๆ ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว