เปิด 5 แนวทาง “ทรู”ใช้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้า 50.5 ล้านเลขหมาย

Loading

  1 มิถุนายน 2566 ครบ 1 ปีที่กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) มีผลบังคับใช้ คงมีคำถามมากมายว่าแต่ละองค์กรทำอะไรไปบ้าง ซึ่งทรู คอร์ป หนึ่งในองค์กรที่มีลูกค้าจากการควบรวมทรู-ดีแทค มากถึง 50.5 ล้านเลขหมาย ได้ออกแนวทางหรือมาตรการอะไรในการดูแลลูกค้าทรู-ดีแทค เรื่องการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลไปบ้างแล้ว   ในช่วงปีที่ผ่านมา ทรู คอร์ปอยู่ในกระบวนการควบรวมทรู-ดีแทค ซึ่งมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทั้ง 2 องค์กรต่างให้ความสำคัญสูงสุดกับนโยบายการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งของลูกค้าและพนักงานในองค์กร ซึ่งภายหลังการรวมธุรกิจ ทรู คอร์ปได้นำสิ่งที่ดีที่สุด เข้มงวดที่สุดของแต่ละองค์กรมากำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy and Procedure เพื่อให้เป็นไปตามฟุตพรินต์มาตรฐานการปกป้องข้อมูลที่เป็นสากล และสอดคล้องกับกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป โดยทรู คอร์ป ได้ดำเนินการ 5 แนวทางสำคัญ เพื่อดูแลคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ดังนี้  …

นักวิเคราะห์เตือนแอป “พินตัวตัว” สามารถสอดแนมกิจกรรมบนโทรศัพท์มือถือ

Loading

  นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า “พินตัวตัว” (Pinduoduo) แอปพลิเคชันชอปปิงยอดนิยมที่สุดแอปหนึ่งของจีนนั้น สามารถฝ่าระบบป้องกันความปลอดภัยบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วสอดแนมกิจกรรมบนแอปอื่น ๆ ตลอดจนตรวจสอบการแจ้งเตือน อ่านข้อความส่วนตัว และเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า   โดยแอปดังกล่าวขายสินค้าเกือบทุกประเภท ตั้งแต่เสื้อผ้าไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีผู้ใช้งานกว่า 750 ล้านรายต่อเดือน   ขณะเดียวกัน นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เตือนด้วยว่า เมื่อติดตั้งแอปพินตัวตัวแล้วก็ยากที่จะลบมัลแวร์สอดแนมออกจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้   แม้แอปจำนวนมากรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานกันเป็นปกติ โดยบางครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายเตือนว่า พินตัวตัวนั้นละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยด้านข้อมูลมากกว่าแอปทั่ว ๆ ไป   สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้พูดคุยกับทีมความปลอดภัยทางไซเบอร์ประมาณ 6 ทีมจากเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ รวมถึงพนักงานทั้งในอดีตและปัจจุบันของพินตัวตัว โดยผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่ามีมัลแวร์อยู่บนแอปพินตัวตัว ซึ่งฉวยโอกาสจากความเปราะบางในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ขณะเดียวกันกลุ่มคนวงในระบุว่า มัลแวร์ดังกล่าวใช้ในการสอดแนมผู้ใช้งานและคู่แข่ง เพื่อกระตุ้นยอดขาย   “เราไม่เคยเห็นแอปขนาดใหญ่เช่นนี้พยายามเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ควรเข้าถึง โดยถือเป็นเรื่องผิดปกติเอามาก ๆ และไม่ดีต่อพินตัวตัวนัก” มิกโก ฮิปโพเนน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยบริษัทวิธซีเคียว (WithSecure) บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์จากฟินแลนด์กล่าว   มัลแวร์นั้นอ้างอิงถึงซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่พัฒนาขึ้นเพื่อขโมยข้อมูลหรือรุกล้ำระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยการเปิดเผยเรื่องมัลแวร์ในแอปพินตัวตัวมีขึ้นในช่วงที่สหรัฐตรวจสอบแอปติ๊กต๊อกอย่างเข้มงวด เนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านข้อมูล…

แก๊งขโมย iPhone แอบมองรหัสเครื่องแล้วดูดเงินเหยื่อหมดตัว เริ่มระบาดในสหรัฐฯ

Loading

หน้าจอเปลี่ยนรหัสผ่าน Apple ID ต้องใส่รหัสเดิม หรือรหัสผ่านเครื่องก็ได้เพื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน   Wall Street Journal รายงานถึงกลุ่มอาชญากรในสหรัฐฯ เริ่มพุ่งเป้าโจมตีกลุ่มผู้ใช้ไอโฟนที่เที่ยวผับบาร์ เมื่อคนร้ายได้รหัสผ่านเครื่องแล้วจะโจมตีเหยื่อด้วยการเปลี่ยนรหัสผ่าน สั่งโอนเงินออกจากบัญชีเหยื่อ รวมถึงเปิดบัตรเครดิตในชื่อเหยื่อไปใช้งาน   ตำรวจเชื่อว่าอาชญากรทำงานเป็นกลุ่ม อาจจะมีคนเข้ามาชวนคุยและแอบมองรหัสผ่านเครื่อง หรืออาจจะมีคนแอบถ่ายรหัสผ่านจากด้านหลัง จากนั้นเมื่อสบโอกาสก็จะขโมยโทรศัพท์จากเหยื่อไปตรง ๆ   คนร้ายรู้ดีว่าต้องเปลี่ยนรหัส iCloud ให้เร็วที่สุด เพื่อล็อกไม่ให้เจ้าของเครื่องตัวจริงเข้าไปล็อกโทรศัพท์ได้ โดยการเปลี่ยนรหัส iCloud นั้นต้องการเพียงรหัสเครื่องเพียงอย่างเดียว การใช้กุญแจ USB เพื่อป้องกันบัญชี Apple ID ก็ไม่ช่วยอะไร เพราะการเปลี่ยนรหัสผ่าน Apple ID บนไอโฟนยังคงต้องการเฉพาะรหัสผ่านเครื่องเท่านั้น   เมื่อได้บัญชี iCloud แล้วคนร้ายจะพยายามหาประโยชน์จากเหยื่อให้มากที่สุด ทั้งการโอนเงินออกจากบัญชีต่าง ๆ ที่มีแอปอยู่ในโทรศัพท์ คนร้ายเข้าเช็ครหัสผ่านที่เก็บไว้ใน iCloud Keychain บางกรณีคนร้ายถึงกับสั่งเปิดบัตรเครดิตเพิ่มเติมเพื่อหาเงินจากเหยื่อเพิ่ม ขณะที่เหยื่อไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ เพราะบัญชีอยู่กับคนร้ายไปทั้งหมด   เฉพาะในนิวยอร์ก ตำรวจเชื่อว่าแก๊งเดียวที่อาละวาดอยู่ตอนนี้ก่อคดีรูปแบบนี้ไม่น้อยกว่า 30…

เชื่อไหม ? อนาคต มือถือราคาถูกลง เพราะข้อมูลส่วนตัวเรามีค่ามากกว่า

Loading

  เปิดอนาคตที่ต้องหันมาฉุกคิด เมื่อมือถือจะราคาถูกลง แต่แลกมาด้วยข้อมูลและความอิสระในการลบแอปฯบางประเภทต้องหายไป เพราะแบรนด์โทรศัพท์ก็หากินด้วยวิธีอื่น   Deloitte Insights คาดการณ์อนาคตตลาดสมาร์ทโฟน ว่า รุ่นที่รองรับ 5G จะมีราคาถูกลง ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3,500 บาท มากขึ้น เพราะแบรนด์มือถือสามารถสร้างรายได้จากส่วนอื่น ได้มากกว่าแค่การขายโทรศัพท์   ซึ่งการที่ส่วนต่างของราคาขายไม่ได้เป็นรายได้หลักอีกต่อไป ทำให้เห็นว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟน อาจเป็นหนึ่งในสินค้าที่แบรนด์โทรศัพท์มือถือนำไปขายลูกค้าต่ออีกทอดหนึ่ง   ขายมือถือถูกจะรวยได้อย่างไร ?   จากข้อมูลของ ดีลอยด์ สรุปได้ว่า วิธีการสร้างรายได้ของแบรนด์มือถือนอกจากกินส่วนต่างในราคาขายแล้ว แบรนด์ต่าง ๆ ได้คิดค้นวิธีการสร้างรายได้แบบใหม่ คือ แอปฯที่ลงมาล่วงหน้า โฆษณา เนื้อหาในแอปฯ และ ตัวโหลดแอปฯของแบรนด์มือถือตัวเอง เพื่อนำข้อมูลและพฤติกรรมการใช้งานไปหากินอีกทางหนึ่ง   แอปฯที่ลงมาล่วงหน้า : หากเราสังเกตมือถือสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์หลาย ๆ ยี่ห้อจะมีแอปฯที่ติดตั้งมาล่วงหน้าให้ ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในช่องทางที่แบรนด์มือถือเก็บเงินแอปฯเหล่านั้น โดยแอปฯที่จ่ายเงินก็มีจุดประสงค์คือหว่านแหเพิ่มผู้ใช้นั่นเอง ซึ่งแบรนด์มือถือก็เก็บเงิน เพราะมองว่า…

ฟิลิปปินส์เริ่มบังคับใช้กฎหมาย “ลงทะเบียนซิมการ์ดมือถือ”

Loading

  ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ลงนามในกฎหมาย ว่าด้วยการที่ประชาชนต้องยืนยันตัวตนอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นเจ้าของซิมการ์ดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าหมายเลขใดก็ตาม   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ว่า ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ลงนามรับรองกฎหมาย ว่าด้วยการลงทะเบียนและการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเลขบัตรประชาชน และข้อมูลสำคัญในเบื้องต้นให้ครบถ้วน เพื่อปิดโอกาสของมิจฉาชีพ ในการใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อการก่ออาชญากรรม   ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศซึ่งมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือสูงสุดในทวีปเอเชีย คือ 61% จากประชากรประมาณ 110 ล้านคน และยังอยู่ในกลุ่มหัวตารางของการจัดอันดับโดยบริษัทวิจัยนานาชาติหลายแห่ง เกี่ยวกับการใช้เวลากับสมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียต่อวันอีกด้วย   LIVE: President Ferdinand R. Marcos Jr. signs the Subscriber Identity Module (SIM) Card Registration Act | October 10, 2022https://t.co/ECSbqXLb4Q — Office of the…

วิธีป้องกันไม่ให้มือถือ Android ถูกแฮก ยุค 2021

Loading

  วิธีป้องกันไม่ให้มือถือ Android ถูกแฮก หลังช่วงนี้มีการแฮกเป็นจำนวนมาก และการแฮกโทรศัพท์กำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ว่ามือถือ Android จะปลอดภัย แต่ก็สามารถถูกแฮกได้ ไม่มีอะไรปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ 100% ในโลกอินเทอร์เน็ตนี้ ตัวตนและความเป็นส่วนตัวของคุณอาจถูกเข้าถึงโดยคนอื่น โดยที่ตัวคุณเองอาจไม่รู้ตัว ที่สำคัญคือแฮกเกอร์ กำลังคิดเทคนิคใหม่ขั้นสูงในการแฮกมากขึ้น ดังนั้นเราต้องเตรียมรับมือ ด้วยการรู้วิธีป้องกันการถูกแฮกแบบใหม่ด้วยเช่นกัน   วิธีป้องกันไม่ให้มือถือ Android ถูกแฮก ปี 2021 ลองสำรวจและทำตามขั้นตอนดังนี้   Image : Techviral   1.อย่าบันทึกรหัสผ่านในเบราว์เซอร์ เรามักจะบันทึกรหัสผ่านของเราในบริการและไซต์ออนไลน์ อย่างไรก็ตาม คุณเคยคิดไหมว่าหากแฮ็กเกอร์เข้าถึงโทรศัพท์ของคุณ พวกเขาสามารถเข้าถึงบัญชีทั้งหมดได้โดยใช้รหัสผ่านที่บันทึกไว้ ดังนั้น อย่าบันทึกรหัสผ่านที่จำเป็นทั้งหมดของคุณบนบริการต่างๆและเว็บไซต์ออนไลน์   Image : iT24Hrs   2.ใช้การรักษาความปลอดภัยในตัวมือถือ Android คุณสามารถเลือกจากตัวเลือกการล็อกหน้าจอต่างๆ เช่น รหัสผ่าน, PIN, Pattern หรือใบหน้า, การปลดล็อกด้วยลายนิ้วมือ เป็ยต้น หากคุณกำลังตั้งค่า pattern…