“โรคทางจิตเวช” กับ “โรควิตกกังวล” แตกต่างกันอย่างไร

Loading

    หลายคนอาจสงสัยระหว่างคำว่า “โรคทางจิตเวช” กับ กับ “โรควิตกกังวล” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ในทางการแพทย์ ให้คำนิยามของทั้งสองคำนี้อย่างไร มาหาคำตอบกัน    โรคทางจิตเวช คือ อะไร “โรคทางจิตเวช” เป็นกลุ่มของโรคที่ส่งผลต่อความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และการรับรู้ของบุคคล อาจมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน หรือการเข้าสังคม   ตัวอย่างโรคในกลุ่มจิตเวช โรคจิตเภท (Schi zophrenia) – ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดหรือหวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน หากเป็นแล้วไม่รักษาตั้งแต่ต้น หรือปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้การรักษามีความยุ่งยาก และผลการรักษาไม่ดีนัก โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) – จะมีอารมณ์ขึ้นลงรุนแรงเป็นช่วงๆ อารมณ์แปรปรวนรุนแรง มีช่วงซึมเศร้าและช่วงอารมณ์ดีผิดปกติ – ช่วงเวลาที่เป็น Manic Episode (ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ) ผู้ป่วยจะรื่นเริงสนุกสนานผิดปกติ มีพลังในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่มีเหน็ดเหนื่อย มีความมั่นใจมาก ขาดความยับยั้งชั่งใจ หากถูกห้ามหรือขัดขวางในสิ่งที่ต้องการจะหงุดหงิด ในรายที่มีความรุนแรงจะพบมีอาการหลงผิดคิดว่ามีพลังวิเศษ – ช่วงเวลาที่เป็น Depressive Episode (ภาวะซึมเศร้า) ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่อหน่าย ซึมเศร้า…

เท็ด คาซินสกี ‘ยูนาบอมเมอร์’ มือระเบิดที่ส่งความตายผ่านไปรษณีย์

Loading

IN FOCUS การส่งพัสดุระเบิดของเขากินเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 17 ปี และนับเป็นการติดตามหาตัวคนร้ายที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อาชญากรรมของสหรัฐอเมริกา ที่ฮาร์เวิร์ด คาซินสกีเข้าร่วมการทดลองของเฮนรี เมอร์เรย์ (Henry Murray) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ที่ทดลองเทคนิค OSS หรือการควบคุมความคิด สำหรับหน่วยงานของซีไอเอ ผลจากการทดลองนี้เองที่ทำให้เท็ดเกิดความคิดเกี่ยวกับการโจมตีและการก่อการร้าย คาซินสกีเลือกเหยื่อของเขาแบบไม่ตั้งใจ สำหรับเขาแล้ว มันคือสัญลักษณ์ของวิถีชีวิตที่ใช้เทคโนโลยีในการทำลายความสงบสุขของสังคม คดีฆาตกรรมของคาซินสกีมีโทษถึงประหารชีวิต ครอบครัวของเขาให้ข่าวกับสื่อว่า เป็นเพราะสภาพจิตของเขาไม่ปกติ จิตแพทย์คนหนึ่งตรวจและพบอาการโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง   สายตาของเขาเหม่อลอย ระหว่างที่ภรรยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนึ่งในเหยื่อสังหารของเขาเอ่ยปากถาม “คุณชอบหรือที่จะมีใครขโมยความเป็นไปได้ในการมองเห็นแสงเดือน แสงตะวัน หรือความงดงามของธรรมชาติจากคุณไปตลอดชีวิตที่เหลือ” ก่อนที่ผู้พิพากษาจะประกาศคำตัดสินในวันที่ 4 พฤษภาคม 1998 ลงโทษจำคุก เธโอดอร์ จอห์น คาซินสกี (Theodore John Kaczynski) หรือที่ผู้คนรู้จักกันในชื่อ ‘ยูนาบอมเมอร์’ (Unabomber) ตลอดชีวิตถึง 8 ครั้ง และให้คุมขังไว้ในเรือนจำซึ่งมีการดูแลความปลอดภัยขั้นสูงสุด นับแต่นั้น คาซินสกีต้องไปชดใช้กรรมความผิดที่ เอดีเอ็กซ์ ฟลอเรนซ์ ในรัฐโคโลราโด ที่ซึ่งจัดเป็นเรือนจำที่มีมาตรการควบคุมนักโทษที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ห้องขังของเขามีความกว้างขนาด…