กลุ่ม RansomHouse โจมตีโรงพยาบาลในโคลอมเบียและลาตินอเมริกา

Loading

  องค์กรด้านการดูแลสุขภาพข้ามชาติ Keralty กำลังประสบกับภัยคุกคามการโจมตีด้วย Ransomware โดยกลุ่ม RansomHouse จนทำให้บริษัทในเครือทั้งหมดหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อระบบการรักษาพยาบาลของโคลอมเบีย   โดย Keralty เป็นผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของของประเทศโคลอมเบียที่ดำเนินงานเครือข่ายระหว่างประเทศของโรงพยาบาล 12 แห่งและศูนย์การแพทย์ 371 แห่งในลาตินอเมริกา สเปน สหรัฐอเมริกา และเอเชีย ซึ่งนี้มีพนักงานกว่า 24,000 คน และแพทย์ 10,000 คนที่ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน   การโจมตีในครั้งนี้ทำให้การบริหารงานด้วยระบบไอที เช่น การจัดตารางนัดหมายทางการแพทย์ และเว็บไซต์ของบริษัท เกิดเหตุขัดข้องจนส่งผลกระทบต่อระบบการรักษาพยาบาลของโคลอมเบีย ทำให้คนไข้รอนานกว่า 12 ชั่วโมงเพื่อเข้ารับการรักษา และผู้ป่วยบางรายเป็นลมเนื่องจากขาดการดูแลทางการแพทย์   ต่อมาเว็บไซต์ bleepingcomputer ได้สอบถาม Keralty เกี่ยวกับความคิดเห็นในการโจมตีครั้งนี้ ซึ่งยังไม่ได้รับคำตอบใด ๆ แต่พบว่ามีผู้ใช้ Twitter รายหนึ่งชื่อ Alexánder ได้ทวีตภาพหน้าจอของเซิร์ฟเวอร์ VMware ESXi พร้อมข้อความเรียกค่าไถ่ที่แสดงข้อความ ‘Dear…

มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำให้โรงพยาบาลในฝรั่งเศสต้องย้ายผู้ป่วยกะทันหัน

Loading

  โรงพยาบาลร่วมสอนหลักอังเดรมินโยในเขตเมืองของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต้องปิดระบบโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์หลังจากถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่   คิชาร์ เดเลปิแอร์ (Richard Delepierre) หนึ่งในกรรมการกำกับดูแลโรงพยาบาลชี้ว่าผู้ก่อเหตุได้เรียกค่าไถ่เข้ามายังโรงพยาบาลแล้ว แต่ทางโรงพยาบาลตัดสินใจที่จะไม่จ่าย   ฟรองชัวส์ บรอน (François Braun) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและการป้องกันเผยว่าสถานการณ์ปัจจุบันคือโรงพยาบาลแห่งนี้สามารถให้บริการได้เฉพาะแบบวอล์กอินและให้คำปรึกษาเท่านั้น แถมยังจำใจต้องย้ายผู้ป่วย 6 รายจากแผนกทารกแรกเกิดและไอซียูไปยังสถานบริการสุขภาพอื่น ๆ   หน่วยการแพทย์ระดับภูมิภาค (ARS) แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีนัดพบแพทย์ให้พยายามติดต่อแพทย์เจ้าของไข้หรือแผนกที่ใช้บริการอยู่ เพื่อรับคำแนะนำว่าควรจะย้ายไปรับการบริการในส่วนใดต่อไป   ขณะที่ ชอง-โนล บาคอต (Jean-Noël Barrot) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลและโทรคมนาคมชี้ว่าโรงพยาบาลสามารถแยกระบบที่ติดมัลแวร์ออกไปเพื่อลดการแพร่กระจายได้แล้ว รวมทั้งยังได้แจ้งไปยังหน่วยงานไซเบอร์หลักของฝรั่งเศส (ANSSI) แล้วด้วย   โดยทาง ANSSI อยู่ระหว่างการตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้นร่วมกับสำนักงานอัยการปารีสอยู่     ที่มา bleepingcomputer       ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :           …

“ชัยวุฒิ” ระบุ ดรามาประวัติคนไข้โผล่ถุงขนมผิดกฎหมาย PADA เจ้าตัวฟ้องได้ แจงช่วงแรกบังคับใช้กฎหมายอนุโลมได้

Loading

  รมว.ดีอีเอส ระบุ ดรามาประวัติคนไข้โผล่ถุงขนมผิดกฎหมาย PADA เจ้าตัวฟ้องได้ แจงช่วงแรกบังคับใช้กฎหมายอนุโลมได้ ย้ำ เอกสาร-ประวัติส่วนบุคคลต้องทำลาย ขายเป็นของเก่าไม่ได้ เหตุ เสียหายต่อเจ้าของข้อมูล   วันนี้ (20 ก.ย.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงกรณีการนำถุงกระดาษที่ใส่ขนมที่ ทำมาจากเอกสารประวัติผู้ป่วย รวมถึงใบรับรองการเสียชีวิต (ใบมรณบัตร) ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ว่า ตามกฎหมายถือว่ามีความผิด แต่ในช่วงแรก ยังไม่เน้นเอาผิด บังคับใช้กฎหมาย เพราะยังมีการผ่อนผันอยู่   แต่ตนขอฝากไปถึงผู้ประกอบการที่มีข้อมูลของลูกค้า ที่อาจไม่ตั้งใจ เช่น กระดาษสำเนาบัตรประชาชน ใบสมัครงาน เอกสารต่างๆ ที่มีข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรักษาให้ดีอย่าให้รั่วไหล   ถ้าจะทิ้งต้องทำลายด้วยการฉีกหรือเผาตามกระบวนการที่ถูกต้อง อย่านำไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าเพื่อนำไปใช้ต่อ เพราะข้อมูลเหล่านี้หากรั่วไหลไปถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการต้องรับทราบข้อกฎหมายตรงนี้ด้วย และข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถนำไปทิ้งขยะไม่ได้ ส่วนกรณีเจ้าตัวมีสิทธิฟ้องร้องได้ ซึ่งย้ำว่าในช่วงแรกยังเป็นช่วงตักเตือนและผ่อนผันอยู่       ————————————————————————————————————————— ที่มา :    ผู้จัดการออนไลน์ …

ความปลอดภัยอยู่ไหน? พบถุงใส่ขนมโตเกียวทำจากประวัติคนไข้-ใบมรณบัตรของโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี

Loading

  วันนี้ (19 กันยายน) ทีมข่าว THE STANDARD ได้รับเรื่องร้องเรียนจากหญิงรายหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เนื่องจากเธอสังเกตเห็นความผิดปกติจากห่อกระดาษขนมโตเกียวที่ซื้อมาจากสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในจังหวัด โดยที่ห่อขนมนั้นมีข้อมูลส่วนตัวคนไข้จากโรงพยาบาลในจังหวัดกำกับไว้   เอ (นามสมมติ) เล่าให้ทีมข่าวฟังว่า เมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา เธอและครอบครัวไปเที่ยวสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ระหว่างเดินทางกลับแวะซื้อขนมโตเกียวจำนวน 3 ห่อ เมื่อกลับถึงบ้านและจะทิ้งห่อขนมสังเกตเห็นว่ามีชื่อและหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลักระบุไว้ จึงตัดสินใจเปิดตามมุมห่อดังกล่าวให้กลับเป็นทรงกระดาษ A4   พบว่าเอกสารแผ่นนั้นระบุถึงประวัติส่วนตัวคนไข้ ประกอบด้วยชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ หมู่เลือด โรคประจำตัว สิทธิการรักษา ช่วงเวลาการเข้ารักษา อาการที่เข้ารักษา ที่อยู่ ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ญาติใกล้ชิด และมุมกระดาษด้านบนระบุชื่อโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ ห่อกระดาษทั้ง 3 ห่อมาจากโรงพยาบาลเดียวกัน แต่เป็นข้อมูลคนไข้ต่างกัน คาดว่าไม่ใช่ชุดสำเนา แต่เป็นข้อมูลต้นฉบับ สังเกตได้จากตรายางสีน้ำเงินประทับ   จากนั้นเพื่อความแน่ชัด วันต่อมา (18 กันยายน) เอจึงกลับไปซื้อขนมร้านเดิมอีกครั้งและสังเกตว่าในตู้กระจกมีกระดาษลักษณะเดียวกันอีก 1…

FBI ออกโรงเตือนภัยไซเบอร์ต่อสถาบันทางการแพทย์ที่อันตรายถึงตาย

Loading

  ภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อสถาบันทางการแพทย์ มีแนวโน้มอันตรายและแพร่หลายขึ้นเรื่อย ๆ   ในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา หรือ FBI ออกคำเตือนสถาบันทางการแพทย์หลายต่อหลายครั้งว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่ได้รับการอัปเดตซอฟแวร์มานานอาจเสี่ยงต่อการแฮ็กได้   ตัวอย่างของการแฮ็กโรงพยาบาลผ่านอุปกรณ์ทางการแพทย์คือการแฮ็กศูนย์การแพทย์ OakBend ในรัฐเท็กซัส ทำให้แฮ็กเกอร์ได้ข้อมูลประวัติลูกค้าไปมากกว่า 1 ล้านร้าย   องค์กรด้านการแพทย์ในปัจจุบันต่างพึ่งพาการใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อใช้ในงานด้านต่าง ๆ ตั้งแต่จัดเก็บข้อมูลคนไข้และส่งยาที่ใช้ในการรักษา เทคโนโลยีเหล่านี้นำมาซึ่งความเสี่ยงในการแฮ็ก โดยเฉพาะการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งสามารถขโมยข้อมูลและปิดระบบไปพร้อม ๆ กันด้วย   รายงานข่าวจาก NBC ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาอ้างรายงานจากสถาบันวิจัย Ponemon Institute ในสหรัฐฯ ระบุว่าองค์กรทางการแพทย์ที่ต้องประสบกับการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่จะมีตัวเลขการเสียชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น   ทั้งนี้ ทาง FBI และสภาครองเกรสได้ยื่นเสนอกฎหมายที่บังคับให้สำนักงานอาหารและยา (FDA) ออกแนวทางด้านการป้องกันภัยทางไซเบอร์ต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งทาง FDA นอกจากจะไม่ขัดข้องแล้วยังขออำนาจในการสร้างกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วย   นอกจากนี้ สถาบันวิจัยต่าง ๆ อย่างมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ ต่างก็ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้และพิสูจน์ให้เห็นว่าภัยทางไซเบอร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสถาบันทางการแพทย์และคนไข้ที่มารับบริการอย่างร้ายแรงเพียงใด   อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโควิด-19…

คอสตาริกาถูกโจมตีทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง แม้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาร่วมเดือน

Loading

  กองทุนความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมของประเทศคอสตาริกา (CCSS) ระบุว่าโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศถูกโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้ CCSS ต้องปิดระบบเก็บบันทึกดิจิทัล ส่งผลให้โรงพยาบาลและคลินิกกว่า 1,200 แห่งได้รับผลกระทบตามไปด้วย   “มันเป็นการโจมตีที่รุนแรงมาก แต่เราไม่พบว่าฐานข้อมูลสำคัญหรือระบบโครงข่ายได้รับความเสียหายแต่อย่างใด” อัลวาโร รามอส (Alvaro Ramos) ประธาน CCSS ระบุในการแถล่งข่าว โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า 30 จาก 1,500 เซิร์ฟเวอร์ที่ CCSS ดูแลอยู่ตกเป็นเป้าการโจมตี โดยคาดว่าเซิร์ฟเวอร์น่าจะล่มอยู่เป็นเวลาหลายวันเลยทีเดียว   รัฐบาลคอสตาริกาเคยระบุก่อนหน้านี้ว่าประเทศถูกโจมตีทางไซเบอร์หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อการระบบการค้าต่างประเทศและกลไกในการจัดเก็บภาษีของประเทศ ทำให้ประธานาธิบดี ร็อดริโก ชาเวส (Rodrigo Chaves) ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา   เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเคยสันนิษฐานว่าผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีคอสตาริกาคือ Conti กลุ่มแฮกเกอร์จากรัสเซีย แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบ   โดยรัฐบาลสหรัฐฯ อิสราเอล และสเปน เคยเสนอยื่นความช่วยเหลือต่อคอสตาริกาในการซ่อมแซมความเสียหายและป้องกันการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต     ที่มา…