เครือข่ายโรงพยาบาลในแคนาดาถูกโจมตีไซเบอร์ ระบบไอทีใช้งานไม่ได้ทั้งจังหวัด

Loading

  เครือข่ายโรงพยาบาลในจังหวัด Newfoundland and Labrador (ชื่อเป็นสองเขตแต่เป็นจังหวัดเดียวกัน) ถูกโจมตีไซเบอร์จนระบบไอทีใช้งานไม่ได้จำนวนมาก ทั้งอีเมล, ระบบส่งผลแล็บ, ระบบภาพวิเคราะห์โรค ทำให้โรงพยาบาลในเครือข่ายต้องกลับไปใช้เอกสารกระดาษจนติดขัด ตอนนี้มีคนไข้ถูกยกเลิกนัดแล้วนับพันราย ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าการโจมตีเป็นรูปแบบใด แต่คาดว่าน่าจะเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยเจ้าหน้าที่พบการโจมตีตั้งแต่วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา และเพิ่งกู้ระบบอีเมลได้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้อาจจะเป็นการโจมตีเครือข่ายโรงพยาบาลครั้งที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่ง เนื่องจากกระทบโรงพยาบาลจำนวนมาก ก่อนหน้านี้ระบบที่กระทบมักเป็นระบบของโรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือระบบบางส่วนของโรงพยาบาล   ที่มา – Gobal News, CBC   —————————————————————————————————————————————————— ที่มา :Blognone by lew             / วันที่เผยแพร่ 10 พ.ย.64 Link :https://www.blognone.com/node/125762

ระบบสาธารณสุขอิสราเอลถูกโจมตีทางไซเบอร์อย่างหนักหน่วง

Loading

  เจ้าหน้าที่ด้านไซเบอร์และบุคลากรทางการแพทย์ของอิสราเอลเผยว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา โรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งในอิสราเอลถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แต่เคราะห์ดีที่เจ้าหน้าที่สามารถจัดการกับการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ศูนย์การแพทย์ฮิลเลล ยาฟเฟ (Hillel Yaffe Medical Center) ในฮาเดรา ทางตอนเหนือของกรุงเทลอาวีฟ เป็นหนึ่งในสถาบันทางการแพทย์ที่ใช้เวลาหลายวันเพื่อฟื้นตัวจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (13 ตุลาคม) ที่ระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลหยุดชะงัก โดยในขณะนี้เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคกำลังพยายามกู้ระบบให้กลับมาใช้งานได้ ในระหว่างนี้บุคลากรจำเป็นต้องใช้ระบบกระดาษในการรับคนไข้ไปพลางก่อน หลายแหล่งเชื่อว่าการฟื้่นตัวอาจใช้เวลาหลายเดือน ทั้งนี้ ยังไม่ทราบว่าใครหรือกลุ่มใดอยู่เบื้องหลังการโจมตีที่เกิดขึ้น โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ริเริ่มกระบวนการสืบสวนแล้ว ที่มา Haaretz —————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai            / วันที่่เผยแพร่  17 ต.ค.2564 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/819308

สาวฟ้องโรงพยาบาลในรัฐแอละแบมา เนื่องจากไม่แจ้งเหตุโจมตีทางไซเบอร์ที่ทำให้ลูกเสียชีวิต

Loading

  เทรันนี คิดด์ (Teiranni Kidd) สาวชาวอเมริกัน ได้ยื่นฟ้องโรงพยาบาล Springhill Memorial ในรัฐแอละแบมาเนื่องจากไม่แจ้งให้ทราบถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2562 เมื่อครั้งที่เธอเข้าไปติดต่อเพื่อคลอดลูก ทำให้ นิคโก ไซลาร์ (Nicko Silar) ลูกสาวของเธอเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ได้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดของโรงพยาบาลดับเป็นเวลาเกือบ 8 วัน ระบบประวัติคนไข้ถูกปิดกั้นและบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลไม่สามารถเข้าดูอุปกรณ์ที่ใช้ในสังเกตการเต้นของหัวใจทารกในห้องทำคลอดได้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือเจ้าหน้าที่ไม่สังเกตเห็นสายสะดือที่รัดคอของหนูน้อยไซลาร์อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งก่อให้เกิดอาการกระทบกระเทือนทางสมอง และทำให้หนูน้อยเสียชีวิตหลังผ่านไป 9 เดือน เนื่องจากเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ คิดด์ระบุว่าเธอคงจะเลือกไปใช้บริการโรงพยาบาลอื่นถ้ารู้แต่แรกว่าสถานการณ์เลวร้ายดังเช่นที่ปรากฎในข้อความที่ส่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เคทลิน พาร์เนลล์ (Katelyn Parnell) สูตินรีแพทย์ที่ทำคลอดให้คิดด์ระบุว่าในตอนนั้น เธอไม่รู้ว่าระบบเครือข่ายขัดข้อง ไม่เช่นนั้นก็คงจะทำการผ่าคลอดให้กับคิดด์ไปแล้วถ้าหากเธอสามารถใช้เครื่องสังเกตการเต้นของหัวใจเพื่อดูชีพจรของไซลาร์ได้ ทางโรงพยาบาลได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการตายของไซลาร์ “ในตอนนั้น เรายังคงเปิดให้บริการและบุคลากรทางการแพทย์ของเราได้อุทิศตนเพื่อคนไข้ที่ต้องการพวกเรา โดยเรา พร้อมด้วยทีมแพทย์ที่ให้การรักษานั้นได้ตรวจสอบให้แน่ใจแล้วว่าสามารถทำการรักษาได้” เจฟฟรี เซนต์ แคลร์ (Jeffrey St. Clair) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Springhill ระบุต่อสำนักข่าว…

ระบบเครือข่ายของ Johnson Memorial Health ล่ม หลังถูกโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  เครือโรงพยาบาล Johnson Memorial Health รัฐอินดิแอนาของสหรัฐอเมริกา แถลงว่าได้ตกเป็นเหยื่อการโจมตีทางไซเบอร์ที่ทำให้ระบบเครือข่ายสารสนเทศล่มทั้งระบบ แต่ยืนยันเพิ่มเติมว่าระบบการให้บริการส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และแจ้งให้คนไข้อย่าเพิ่งยกเลิกนัดพบแพทย์ เว้นแต่จะมีการติดต่อจากโรงพยายาล “เรากำลังทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างใกล้ชิดเพื่อสืบสวนการโจมตีที่เกิดขึ้นและคืนสภาพระบบคอมพิวเตอร์ให้กลับไปอยู่ในสภาวะปกติโดยเร็วที่สุด” Johnson Memorial Health ระบุในคำแถลง ทั้งนี้ Johnson Memorial Health ไม่ได้เป็นผู้บริการทางการแพทย์รายแรกที่ประสบกับเหตุฉุกเฉินทางไซเบอร์ ก่อนหน้านี้ ในเดือนกันยายน Eskenazi Health ผู้ให้บริการทางการแพทย์อีกรายในรัฐเดียวกัน ก็เพิ่งถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยทาง Eskenazi แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 ตุลาคม) ว่ามีการนำข้อมูลทางการแพทย์ของบุคลากรและคนไข้ที่ขโมยไป อาทิ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการวินิจฉัยโรค และใบสั่งยา ปล่อยลงบนดาร์กเว็บ ที่มา Indystar   —————————————————————————————————————————— ที่มา : Beartai       / วันที่เผยแพร่   3 ต.ค.2564 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/801974

จีนสั่งเพิ่ม ‘ความปลอดภัย’ ในรพ. ห้ามจ้างรปภ.น้อยกว่า 3% ของจนท.

Loading

  ปักกิ่ง, 30 ก.ย. (ซินหัว) — คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) ศาลประชาชนสูงสุดจีน (SPC) สำนักงานอัยการประชาชนสูงสุดจีน (SPP) และกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน เผยแพร่คำสั่งว่าด้วยการเสริมสร้างความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ คำสั่งดังกล่าว มุ่งเน้นการปกป้องความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย และกระตุ้นให้สถาบันทางการแพทย์ติดตั้งระบบควบคุมความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานมากขึ้น โรงพยาบาลควรจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของบุคลากรทางการแพทย์ที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ หรือร้อยละ 0.3 ของจำนวนผู้ป่วยนอกรายวัน รวมถึงสร้างเครือข่ายรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการ อันประกอบด้วยการแจ้งเตือนการบุกรุก ระบบกล้องวงจรปิด ระบบควบคุมทางเข้า-ออก และระบบตรวจสอบไฟฟ้า นอกจากนั้น คำสั่งยังกระตุ้นให้สถาบันการแพทย์ปรับปรุงศักยภาพการให้บริการของตนเอง และเพิ่มความสามารถในการสื่อสารกับผู้ป่วยและการรับมือกับข้อพิพาท รวมถึงวางข้อกำหนดด้านการประสานงานระหว่างสถาบันการแพทย์และหน่วยงานความปลอดภัยสาธารณะที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น   ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : ซินหัวไทย    / วันที่เผยแพร่  30 ก.ย.2564 Link : https://www.xinhuathai.com/china/232925_20210930