เหตุใดสงครามกาซาถึงทำให้โลกออนไลน์น่าเชื่อถือน้อยลง

Loading

  ในช่วง 2-3 เดือนมานี้ การถกเถียงบนโซเชียลมีเดียในเรื่องความขัดแย้งอิสราเอลและกลุ่มฮามาสดูจะตึงเป็นพิเศษ   หลายคนกังวลว่าการต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้ผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ว่าอิสราเอลทำถูกแล้วเพราะเป็นการป้องกันตัวเอง ขณะที่บางส่วนก็เห็นใจชาวปาเลสไตน์และประณามอิสราเอล   ท่ามกลามความเห็นเหล่านี้ มีบางส่วนที่โพสต์เนื้อหาที่เป็นการบิดเบือนความจริง ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ     ข่าวที่กลุ่มชาวนาฝรั่งเศสนำมูลวัวมาทิ้งหน้าร้าน McDonald’s ถูกนำเสนอว่าเป็นการประท้วงอิสราเอล   ตั้งแต่การบิดเบือนตัวเลขผู้เสียชีวิต การโจมตีเนื้อหาข่าวด้วยข้อมูลเท็จ ใช้เนื้อหาจากเหตุการณ์ในอดีต หรือเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาปะปน หรือแม้แต่การ ‘สร้าง’ เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้น   สงครามกาซาทำให้ข้อมูลเท็จเพิ่มขึ้น   ภายหลังจากที่สงครามกาซาเริ่มขึ้น การปล่อยเท็จก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในจำนวนนี้มีทั้งการใช้ภาพจากวิดีโอเกมมาอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ และยังมีการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง AI เข้ามาบิดเบือนร่วมด้วย       Bohemia Interactive ผู้สร้าง ARMA 3 อธิบายว่าภาพจากเกมถูกนำไปบิดเบือนอย่างไรบ้าง   นี่ไม่ใช่คำกล่าวลอย ๆ แต่ยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญอย่าง พิปปา แอลเลน คินรอสส์ (Pippa Allen-Kinross) บรรณาธิการข่าวของ…

ผลสำรวจเผยผู้คนกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ กังวลการบิดเบือนข้อมูลในโลกออนไลน์

Loading

ผลสำรวจผู้คนกว่า 8,000 คนทั่วโลก ยอมรับมีความรู้สึกเป็นกังวลอิทธิพลของสื่อในโลกออนไลน์ เนื่องจากผู้คนในเวลานี้รับข่าวสารจากโซเชียลมีเดียเป็นหลัก โดย ผอ. ด้านวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อ 6 พ.ย. ว่า การบิดเบือนข้อมูล และคำพูดที่แสดงความเกลียดชังบนโลกออนไลน์ ได้ถูกเร่งและขยายจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงด้านความร่วมมือทางสังคม สันติภาพ และเสถียรภาพ

อะไรกันอยู่ดี ๆ ก็โดนแฮ็ก ! รับมืออย่างไรในวันที่มิจฉาชีพก็ปรับตัวตามโลกดิจิทัล

Loading

ในโลกที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 เข้ามาเป็นปัจจัยเร่งชั้นดีให้พวกเราปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ หลายองค์กรก็ได้เร่งทำ Digital Transformation ต้องบอกเลยว่ามิจฉาชีพก็ปรับตัวเองก็เช่นกัน ในโลกออนไลน์ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าและสำคัญที่สุดคือ “ข้อมูล” เรียกได้ว่าบนโลกออนไลน์เป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ของเหล่ามิจฉาชีพเลยก็ว่าได้

ฝ่ายไซเบอร์อิสราเอล ใช้ ‘เทคฯเอไอ’ ช่วยค้นหาผู้สูญหาย หลังฮามาสโจมตี

Loading

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับสูงของอิสราเอลหลายร้อยคน กำลังใช้เทคโนโลยีเอไอ “จดจำใบหน้า” เพื่อช่วยตามหาบุคคลสูญหาย หลังถูกกลุ่มฮามาสโจมตีประเทศ และจับพลเรือนเป็นตัวประกันราว 200 คน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันจันทร์ (16 ต.ค.) ว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับสูงของอิสราเอลหลายร้อยคน หยุดพักงานส่วนตัวชั่วคราว

ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ในอังกฤษ จะต้องส่งข้อมูลเพื่อสอบสวนกรณีเด็กเสียชีวิต

Loading

    เว็บไซต์ The Guardian รายงานเมื่อ 22 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภาสหราชอาณาจักรได้ผ่านร่างกฎหมายความปลอดภัยบนโลกออนไลน์   โดยกำหนดให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ต้องส่งข้อมูลของเด็กในกรณีที่ต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากภัยบนโลกออนไลน์ให้แก่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพผ่าน Office of Communications (Ofcom) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรคมนาคม และการสื่อสารในสหราชอาณาจักร เพื่อร่วมกันหาสาเหตุการเสียชีวิต   แม้ปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์จะแบ่งปันข้อมูลของเด็กที่เสียชีวิตให้กับเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพโดยสมัครใจแต่กฎหมายได้ให้อำนาจอย่างจำกัด เช่น กรณีของ Molly Russell ที่ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี ในการสืบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิต เนื่องจากข้อจำกัดด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินสตราแกรม ซึ่งผลการสืบสวนพบว่า เธอได้ดูเนื้อหาจำนวนมากเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ทั้งยังมีภาวะซึมเศร้า และทำร้ายตัวเอง สุดท้ายเธอได้ฆ่าตัวตายในอายุ 14 ปี   พ่อของ Russell กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพและครอบครัวจะต้องเข้าถึงข้อมูลบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของเด็ก “มาตรการนี้จะเป็นก้าวแรกในการหยุดวงจรการสูญเสียได้” และแม้บางแพลตฟอร์มจะมีฟีเจอร์ “มรดกดิจิทัล (Digital legacy)” ที่อนุญาตให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตสามารถเข้าถึงบัญชีได้ แต่ฟีเจอร์ดังกล่าวก็ไม่เหมาะกับเด็กที่เสียชีวิตอย่างกะทันหัน      …

‘ยิ่งปะทุ!’ ช่วงเลือกตั้ง ‘ถ้อยคำอันตราย’ ระวัง ‘ฟื้นไฟรุนแรง?’

Loading

    “ข้อความหรือถ้อยคำอันตราย (Dangerous Speech) เป็นประเด็นสากลไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย โดยเรื่องนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบในแง่ลบ ตั้งแต่การบั่นทอนบรรทัดฐานของสังคม จนถึงขั้นเลวร้ายที่สุดคือการนำไปสู่ความรุนแรง”   …นี่เป็นการระบุไว้โดยผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ที่สะท้อนถึง “ปัญหาจากข้อความอันตราย” โดยเรื่องนี้มีการระบุไว้บน เวทีนักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum ครั้งที่ 25 ที่ใช้ชื่อหัวข้อว่า “ตรวจสอบข้อความอันตรายบนโลกออนไลน์” ซึ่งจัดโดย Cofact – โคแฟค (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย เมื่อปลายเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา   ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้…   “Dangerous Speech” เป็นปัญหาสำคัญ   ที่ “สร้างผลกระทบเชิงลบให้สังคมมาก”   รายละเอียดเรื่องนี้ ที่ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลในวันนี้ มีหลายประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ปัญหาจากข้อความหรือถ้อยคำอันตราย” โดยเฉพาะบน “สื่อสังคมออนไลน์” ที่นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้มีการสะท้อนถึงมิติเรื่องนี้ไว้ในหลาย ๆ มุมมอง อาทิ สุภิญญา…