กสทช.-สกมช. ลุยปัดฝุ่นศูนย์ USO NET สู่แหล่งการเรียนรู้ป้องภัยไซเบอร์

Loading

  สำนักงาน กสทช.-สกมช.หนุนมาตรการขจัดภัยไซเบอร์ชูศูนย์ USO NET เสริมสกิลให้ความรู้ประชาชน-นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เสริมเกราะป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 เม.ย.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อเป็นการยกระดับทักษะทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ   นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. มีความตั้งใจในการผลักดันบริการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพการแข่งขันเชิงพาณิชย์ต่ำหรือ พื้นที่ชายขอบและพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นการลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมให้กับประชาชนทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเท่าทันภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีความรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ   นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า…

9 สัญญาณการเมืองไทย…อันตรายบนโลกไซเบอร์!

Loading

  ใกล้ยุบสภาและใกล้เลือกตั้งเข้ามาทุกที นับจากนี้ไปก็เหลืออีกไม่ถึง 60 วันก็จะต้องไปเข้าคูหาหย่อนบัตรกันแล้ว   “ทีมข่าวอิศรา” พาคุณผู้อ่านไปดูสถานการณ์การหาเสียงโดยใช้ “โซเชียลมีเดีย” ซึ่งปัจจุบันนักการเมืองและพรรคการเมืองใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการหาคะแนน   แต่โซเชียลมีเดีย หรือสื่อสังคมออนไลน์ หลายคนคงทราบดีว่าแม้จะมี “คุณอนันต์” แต่ก็มี “โทษมหันต์” ด้วยเช่นกัน จึงมีหลายเรื่องที่ประชาชนอย่างเราๆ ต้องรู้เท่าทัน   ที่สำคัญโลกโซเชียลฯ มีทั้งเรื่องจริง เรื่องเท็จ เรื่องสร้างภาพ สร้างกระแส ปะปนกันจนเละตุ้มเป๊ะ   และต้องไม่ลืมว่าโลกไซเบอร์นั้น ข่าวจริงเดินทางช้ากว่าข่าวเท็จถึง 6 เท่า จึงมีคนตกเป็นเหยื่อ เสียท่า มากกว่าคนที่รู้เท่ากัน   พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร เขียนบทความวิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ   @@ “จับสัญญาณแปลกๆ ในโลกโซเชียลฯ ก่อนเลือกตั้ง 2566”   ประเด็นแรก ผลจากการเสพข่าวการเมือง โดยเฉพาะผ่านทางโซเชียลฯ   -ผลการศึกษาของนักการสื่อสารพบว่า การเสพข่าวการเมืองมากเกินไป จะทำให้ความเชื่อว่ามนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง และไม่มีความจริงใจ…

รู้จักกับ Phishing การขโมยข้อมูลทางไซเบอร์

Loading

    รู้จักกับ Phishing การขโมยข้อมูลทางไซเบอร์และวิธีการรับมือรูปแบบต่าง ๆ   ปัจจุบันความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลบนโลกไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของบุคคลนั้น ๆ เช่น การทำงานและการเงิน เมื่อข้อมูลอยู่บนโลกออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจใช้ช่องทางดังกล่าวแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การหลอกให้โอนเงินและการขโมยเงินในบัญชีธนาคาร     ช่องทางการขโมยข้อมูลทางไซเบอร์   1. ปลอมอีเมล วิธีการปลอมอีเมลติดต่อให้ดูเหมือนเป็นอีเมลของธนาคารหรือบริษัทที่ถูกแอบอ้าง หากได้รับอีเมลแปลก ๆ ให้สังเกตชื่อที่อยู่ด้านหลังของอีเมลว่าเป็นชื่อของเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น ๆ จริงหรือไม่   2. เว็บไซต์ปลอมหลอกให้กรอกข้อมูล การปลอมเว็บไซต์และข้อมูลใหม่ทั้งระบบโดยลอกเลียนแบบมาจากเว็บไซต์ของธนาคารหรือบริษัทที่ถูกแอบอ้าง อย่างไรก็ตามจุดสังเกตเว็บไซต์ปลอมมีหลายจุด เช่น เมนูที่คลิกไม่ได้ การออกแบบที่ไม่สมส่วนหรือกระจัดกระจายไม่มีระเบียบ รวมไปถึง URL ชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อแปลก ๆ   3. โทรศัพท์ (Call Center) รูปแบบการหลอกขอข้อมูลและโอนเงินที่ระบาดมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มักใช้วิธีปลอมตัวเป็นธนาคารและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โทรมาสอบถามและแจ้งเหตุด่วนให้เหยื่อรีบโอนเงินกลับไป   4. ข้อความสั้น SMS การส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ของเหยื่อโดยตรงเพื่อหลอกให้คลิกลิงก์แปลก ๆ และกรอกข้อมูลต่าง ๆ…