การแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่ผ่านมา ถูกโจมตีทางไซเบอร์กว่า 450 ล้านครั้ง

Loading

  การแข่งขันโอลิมปิก 2020 และพาราลิมปิก 2020 ที่จัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว เผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์มากกว่า 450 ล้านครั้ง โดยผู้จัดงานระบุว่าสามารถป้องกันการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด และการแข่งขันไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด “เราสามารถยับยั้งการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ได้ อันเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและมาตรการเชิงตอบโต้ที่ได้มีการตระเตรียมไว้ก่อนหน้า” คณะกรรมการผู้จัดงานโตเกียวโอลิมปิกระบุ การโจมตีเกิดขึ้นตั้งแต่พิธีเปิดโอลิมปิกในวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา ไปจนถึงพิธีปิดงานพาราลิมปิกในวันที่ 5 กันยายน โดยส่วนใหญ่มุ่งโจมตีเว็บไซต์ทางการของงานและระบบเครือข่ายของคณะกรรมการผู้จัดงาน วิธีการหลักที่ใช้โจมตีคาดว่าน่าจะเป็น DDoS (Distributed Denial of Service) ซึ่งเป็นการปล่อยข้อมูลจำนวนมหาศาลจนเป้าหมายรับไม่ไหวและล่มไปในที่สุด ทว่าการโจมตีในความถี่ระดับนี้ยังถือว่าน้อยกว่าโอลิมปิกในครั้งก่อน ๆ โดยโอลิมปิก 2012 ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในปี 2555 ถูกโจมตีไปมากกว่า 2,300 ล้านครั้ง และโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2561 ในเมืองเปียงชาง ประเทศเกาหลีใต้ ถูกโจมตีไปมากกว่า 600 ล้านครั้ง Trend…

ตัดไฟแต่ต้นลม คณะกรรมการโอลิมปิกสากลออกกฎห้ามนักกีฬาแสดงออกทางการเมืองในสนาม

Loading

เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ IOC ออกข้อบังคับในกฎบัตรโอลิมปิก ให้หลีกเลี่ยงการแสดงออกเพื่อประท้วงทางการเมือง เพื่อนำมาใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี 2020 ที่จะจัดในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม นี้ โดยเนื้อหาของข้อบังคับที่มีความยาว 3 หน้ากระดาษระบุว่า ห้ามนักกีฬาที่มาร่วมการแข่งขันคุกเข่าประท้วง แสดงสัญลักษณ์มือที่ส่อความหมายไปในทางการเมือง หรือสวมเครื่องแต่งกายหรือปลอกแขนที่มีสัญลักษณ์การเมืองในสนามแข่งขัน บนสแตนด์เชียร์ และในหมู่บ้านนักกีฬา รวมถึงการแสดงออกในพิธีมอบเหรียญด้วย อย่างไรก็ตาม นักกีฬาสามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในโซเชียลมีเดียของตัวเองหรือในสื่อทางการได้ โดยสามารถให้สัมภาษณ์สื่อได้ ซึ่งรวมถึงในงานแถลงข่าว และในพื้นที่ที่นักกีฬาพบปะกับสื่อมวลชนหลังการแข่งขัน ข้อบังคับนี้ ยังบอกด้วยว่า “ไม่อนุญาตให้มีการประท้วง การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ศาสนา และเชื้อชาติ ในพื้นที่จัดแข่งขันโอลิมปิก พื้นที่ที่ทุกคนมารวมตัวกัน และพื้นที่อื่นๆ” โดยนักกีฬาที่ฝ่าฝืนกฎดังกล่าวในโอลิมปิกครั้งนี้จะได้รับบทลงโทษจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล โดยจะประเมินและพิจารณาโทษเป็นกรณีๆ ไป โธมัส แบช ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลกล่าวว่า ภารกิจของโอลิมปิกก็เพื่อรวมให้เป็นหนึ่งและไม่แบ่งแยก เราเป็นงานเดียวในโลกที่รวมทั่วโลกเข้าด้วยกันในการแข่งขันอย่างสันติ “ผมขอให้พวกเขา (นักการเมืองและนักกีฬา) เคารพภารกิจของการแข่งขันโอลิมปิก…