ไต้หวันลุยสอบเจ้าหน้าที่ต้องสงสัยปล่อยข้อมูลลับรั่วไหลถึงมือจีน

Loading

  ไต้หวันเปิดปฏิบัติการสอบสวนเจ้าหน้าที่หลายคนที่ต้องสงสัยว่าแอบเปิดเผยความลับทางการทหารให้กับจีน ตอกย้ำถึงภัยคุมคามด้านการจารกรรมข้อมูลจากจีนที่ไต้หวันต้องเผชิญ   กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุผ่านแถลงการณ์ในวันนี้ (2 ส.ค.) ว่า มีหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่า บุคลากรทางการทหาร ซึ่งรวมถึงนายทหารระดับพันโท ได้มอบข้อมูลที่ละเอียดอ่อนให้แก่คณะผู้แทนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน   ก่อนหน้านี้หนังสือพิมพ์ลิเบอร์ตี้ ไทม์สของไต้หวันรายงานว่า สมาชิกกองทัพอากาศและกองบัญชาการพิเศษทั้งที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่และที่เกษียณไปแล้วหลายรายตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ปล่อยข้อมูลลับให้กับจีน โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมแต่อย่างใด แต่รายงานว่า มีผู้ถูกควบคุมตัวไว้ 2 คน ขณะที่อีก 4 คนได้รับการประกันตัว   กองทัพไต้หวันต้องเผชิญความยากลำบากอย่างต่อเนื่องเพื่อสกัดสายลับที่เชื่อมโยงกับจีน โดยสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทางการทหารที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน มีความกังวลมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับความสามารถของไต้หวันในการเก็บความลับทางเทคโนโลยีและความลับอื่น ๆ ให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของจีน   กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุในวันนี้ว่า ทางกระทรวงฯ จะเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับความพยายามในการแทรกซึมจากจีนให้กับบุคลากรไต้หวัน ควบคู่ไปกับการยกระดับการรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ นายอเล็กซ์ หวง รองเลขาธิการของทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวันกล่าวในการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการรั่วไหลของข้อมูลครั้งล่าสุดว่า “เป็นเหตุการณ์ที่น่าละอายยิ่งและผู้กระทำผิดสมควรได้รับการลงโทษอย่างหนัก”   เมื่อปลายปีที่แล้ว กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุว่า การสอดแนมจากจีนเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรง และต่อมาในเดือน ม.ค. ไต้หวันได้ควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ประจำการ 3 นายและเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศที่เกษียณไปแล้ว 1 นายในข้อหาสอดแนม      …

ไต้หวันประกาศยกระดับ ‘ต่อต้านจารกรรม’ หลังพบทหารถูกซื้อตัวเป็น ‘สายลับจีน’

Loading

  กองทัพไต้หวันประกาศยกระดับความพยายามต่อต้านการจารกรรม หลังพบว่ามีทหารทั้งที่ยังรับราชการและปลดประจำการแล้วหลายนายทำงานเป็น “สายลับ” ให้จีน   รายงานการสอบสวนของสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า ในช่วงไม่กี่ปีมานี้จีนได้ใช้ปฏิบัติการจารกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะบั่นทอนความเข้มแข็งของกองทัพและคณะผู้นำไทเป รวมถึงบีบให้ไต้หวันยอมรับว่าเป็นดินแดนในอธิปไตยของจีน   สำนักข่าวกลางไต้หวัน (CNA) รายงานว่า พันโท “เซียว” (Hsiao) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกองบัญชาการการบินและหน่วยรบพิเศษไต้หวัน ถูกจับกุมฐานต้องสงสัยว่านำความลับด้านกลาโหมไปเปิดเผยแก่ “กองกำลังต่างชาติ รวมถึงจีน” และ “ก่อตั้งองค์กร” ขึ้นในไต้หวัน   พนักงานสอบสวนได้เข้าตรวจค้นกองบัญชาการทหารที่เมืองเถาหยวน (Taoyuan) ในสัปดาห์นี้ และยังมีทหารที่เกษียณอายุราชการแล้วอีก 4 นาย รวมถึงชายแซ่ “เซียว” (Hsiao) ซึ่งทำหน้าที่เป็น “คนกลาง” ถูกนำตัวมาสอบสวน   กระทรวงกลาโหมไต้หวันแถลงว่า ทางการได้ “รวบรวมข้อมูลหลักฐานอย่างแน่นหนา” ว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นจริง   “ท่ามกลางความพยายามแทรกซึมโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน กองกำลังแห่งชาติจะยังคงส่งเสริมการให้ความรู้ และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการจารกรรม”   กระทรวงยังระบุด้วยว่า รู้สึกเสียใจที่มีชาวไต้หวันจำนวนหนึ่งก่ออาชญากรรมด้วยการ “ขายชาติบ้านเมืองและประชาชน” ของตัวเอง   อเล็กซ์ หวง รองเลขาธิการของทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวัน ให้สัมภาษณ์ในงานแถลงข่าวว่า…

ไต้หวันปฏิเสธข่าวปลอม ร่วมมือสหรัฐปั่นโซเชียลแทรกแซงเลือกตั้งไทย

Loading

    ข่าวปลอมแพร่สะพัด สำนักงานผู้แทนสหรัฐประสานกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ให้ “ปฏิบัติการ IO” ระดมเผยแพร่ข่าวเชิงลบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-จีน เพื่อหวังส่งผลต่อการเลือกตั้งของประเทศไทย   ศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงไต้หวัน (Taiwan Factcheck Center) ออกรายงานตรวจสอบข่าวปลอม โดยระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีเอกสารทางราชการฉบับหนึ่งเผยแพร่อยู่บนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็น เอกสารลับภายในกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ที่ได้รับการประสานงานจากสถาบันอเมริกาในไต้หวัน American Institute in Taiwan หรือ AIT (สถานทูตสหรัฐฯ ประจำไต้หวันโดยพฤตินัย) และทางกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ได้สั่งการให้หน่วยทหารข้อมูลข่าวสารทำการเผยแพร่ข้อมูลเชิงลบเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เพื่อบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน และขัดขวางการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทย   เอกสารปลอมดังกล่าวยังอ้างว่า ให้ทหารของไต้หวันร่วมมือกับผู้แทนสหรัฐประจำไต้หวัน ทำปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการกวาดล้าง “ทุนจีนสีเทา” ของรัฐบาลไทย เพื่อต้านทานอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยหวังผลต่อการเลือกตั้งของประเทศไทย ทำลายกลุ่มที่ใกล้ชิดประเทศจีน และส่งผลเชิงลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย     ข่าวปลอมดังกล่าวแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ของไต้หวัน ฮ่องกง จีน รวมทั้ง โดยอ้างว่า กระทรวงกลาโหมไต้หวันร่วมมือกับสหรัฐ ทำปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร เพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งของไทย…

ฮึ่ม! จีนส่งฝูงบิน 37 ลำ เฉียดน่านฟ้าไต้หวัน สอดแนมกิจกรรมทางอากาศ

Loading

    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เครื่องบินกองทัพจีนจำนวน 37 ลำได้บินเข้าไปยังเขตป้องกันทางอากาศของไต้หวัน ขณะที่อากาศยานบางลำเคลื่อนที่ไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก จนทำให้ไต้หวันต้องเตรียมรับมือด้วยระบบป้องกันการโจมตีทางอากาศ นับเป็นการเบ่งแสนยานุภาพทางอากาศครั้งล่าสุดของปักกิ่งต่อเกาะดังกล่าว   กระทรวงกลาโหมของไต้หวันกล่าวว่า ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น สามารถตรวจจับเครื่องบินของกองทัพอากาศจีนได้ถึง 37 ลำ ซึ่งรวมถึงเครื่องบินขับไล่ J-11 และ J-16 ตลอดจนเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6 ที่สามารถติดตั้งระเบิดนิวเคลียร์ได้ โดยอากาศยานเหล่านี้บินเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของเขตแสดงตนเพื่อป้องกันภัยทางอากาศ (ADIZ) ซึ่งเป็นพื้นที่เปราะบางที่ไต้หวันเฝ้าติดตามและลาดตระเวนภัยคุกคามของเกาะ และพบว่า เครื่องบินบางลำของจีนยังบินไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวันและข้ามไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเพื่อสอดแนมทางกิจกรรมอากาศและการฝึกเดินเรือระยะไกล   ด้านไต้หวันได้ส่งเครื่องบินและเรือของตนเข้าไปเฝ้าระวังสถานการณ์ อีกทั้งยังเปิดใช้ระบบขีปนาวุธภาคพื้นดินทั้งนี้ จีนเสร็จสิ้นภารกิจลาดตระเวนทางอากาศที่ดำเนินการร่วมกับรัสเซียในระยะที่สองเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกแล้วเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน หลังจากได้ส่งเครื่องบินเข้าไปเคลื่อนไหวเหนือทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนตะวันออกเมื่อวันก่อน ส่งผลให้ให้ญี่ปุ่นกังวลเรื่องความมั่นคงของชาติ   ขณะที่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จีนซึ่งมองว่าไต้หวันซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนตนเอง ได้ส่งเครื่องบินกองทัพเข้าไปเคลื่อนไหวเฉียดเกาะแห่งนี้อย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะไม่ได้บินรุกล้ำน่านฟ้าของไต้หวันก็ตาม             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :   …

ปักกิ่งเผยจับกุมสื่อมวลชนไต้หวันข้อหาละเมิดกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

    รัฐบาลกรุงปักกิ่งเปิดเผยการจับกุมนักจัดรายวิทยุและผู้จัดพิมพ์หนังสือชาวไต้หวัน จากข้อกล่าวหาว่า “เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ”   หลี่ ยานเหอ ผู้จัดรายการวิทยุของ Radio Taiwan International และผู้พิมพ์เผยแพร่หนังสือวิจารณ์รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ ถูกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของจีนจับกุมขณะที่เขาเดินทางไปเยี่ยมญาติที่นครเซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนมีนาคม ก่อนที่จะมีรายงานออกมาเมื่อปลายเดือนเมษายนว่าเขาหายตัวไป   เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จู เฟ็งเหลียน โฆษกสำนักงานกิจการไต้หวันของรัฐบาลจีน ประกาศว่า หลี่ถูกทางการจีนจับกุมตัวไว้เพื่อสอบสวน “การกระทำผิดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ” พร้อมยืนยันว่าจะให้ความเคารพในสิทธิ์ของชาวไต้หวันผู้นี้ระหว่างการสอบสวน   หลี่ ยานเหอ เจ้าของนามปากกา “ฟูชา” เกิดที่ประเทศจีนแต่ย้ายไปอาศัยในไต้หวันเมื่อปี 2009 ต่อมาเขาก่อตั้งสำนักพิมพ์ กูซา เพรส (Gusa Press) ซึ่งเน้นตีพิมพ์หนังสือที่วิพากษ์วิจาณร์รัฐบาลปักกิ่ง   หลี่ ยังเป็นเจ้าของรายการ “Seeing China This Way — Time with Fucha” ซึ่งพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองจีน ออกอากาศทางสถานีวิทยุระหว่างประเทศไต้หวัน (Radio Taiwan International)   เสียงเรียกร้องการปล่อยตัว…

ไต้หวันเผยจีนกำหนดเขตห้ามบินส่งผลกระทบต่อเที่ยวบินราว 33 เที่ยว

Loading

  สำนักข่าวกลาง (CAN) ของทางการไต้หวันรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของนายหวัง โก-ไจ๋ รัฐมนตรีคมนาคมของไต้หวันว่า แผนการของจีนที่จะกำหนดเขตห้ามบินไปยังพื้นที่ทางภาคเหนือของไต้หวันในวันอาทิตย์ที่ 16 เม.ย.นี้นั้น จะส่งผลกระทบต่อเที่ยวบินประมาณ 33 เที่ยว   นายหวังเปิดเผยว่า ผลกระทบต่อเที่ยวบินต่าง ๆ นั้น ได้ลดลงอย่างมาก หลังจากไต้หวันประสบความสำเร็จในการเรียกร้องให้จีนลดแผนการลงอย่างมากที่จะปิดน่านฟ้าทางเหนือของไต้หวัน   ทั้งนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้ว่า จีนได้แจ้งกับไต้หวันในเบื้องต้นว่า จีนจะกำหนดเขตห้ามบินตั้งแต่วันที่ 16-18 เม.ย. แต่กระทรวงคมนาคมของไต้หวันเปิดเผยว่า แผนการกำหนดเขตห้ามบินดังกล่าวได้ถูกลดลงเหลือเพียง 27 นาทีในช่วงเช้าวันอาทิตย์นี้หลังจากไต้หวันทำการประท้วงแผนการดังกล่าว   CNA รายงานการเปิดเผยของนายหวังว่า กระทรวงคมนาคมได้หารือกับเจ้าหน้าที่ด้านการบินของญี่ปุ่นซึ่งจะออกหนังสือแจ้งในวันนี้ (13 เม.ย.) ต่อเรือและเครื่องบินต่าง ๆ ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ห้ามบินดังกล่าวในช่วงเวลาที่กำหนดในช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้   นายหวังกล่าวว่า การห้ามบินดังกล่าวอาจทำให้เที่ยวบินที่ได้รับผลกระทบต้องเพิ่มเวลาเดินทางพิเศษอีกไม่เกิน 1 ชั่วโมง เนื่องจากจะต้องเปลี่ยนเส้นทางบินจากเดิมลงไปทางใต้   กระทรวงคมนาคมของไต้หวันเผยแพร่แผนที่เมื่อวันพุธ (12 เม.ย.) ซึ่งระบุว่าเป็น “เขตกิจกรรมการบินและอวกาศ” ของจีนทางตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน และอยู่ใกล้กับกลุ่มเกาะเล็กเกาะน้อยที่เป็นข้อพิพาทซึ่งจีนเรียกว่าเตียวหยู ขณะที่ญี่ปุ่นเรียกว่าเซนกากุของญี่ปุ่น  …