คุก 5 ปีไม่รอลงอาญา “จตุพร” เปิดเอกสารลับราชการ

Loading

  ศาลอาญาจำ คุก 5 ปีไม่รอลงอาญา “จตุพร พรหมพันธุ์” ผิดความมั่นคงรัฐ เปิดเอกสารความลับราชการ กระทรวงการต่างประเทศ ปมไทย-กัมพูชา โยง’ทักษิณ’เป็นภัยรัฐ   เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษา ในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ   คำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2552 จำเลยนำหนังสือของกระทรวงการต่างประเทศ ลับมาก ด่วนที่สุด ที่ กต.1303/2355 ลงวันที่ 16 พ.ย.2552 เรื่องแนวทางการดำเนินการกับปัญหาความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา   ซึ่งเป็นความลับของทางราชการเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ ออกเผยเเพร่ทางสถานีโทรทัศน์ประชาชน (People Channel) โดยจำเลยแพร่ข้อความในหนังสือผ่านทางโทรทัศน์ ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเอกสารที่กระทรวงการ ต่างประเทศปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ อันเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้หรือได้ไปซึ่งข้อความที่ปกปิดไว้เป็นความลับใบหนังสือดังกล่าว   จำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เหตุเกิดที่แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 124 จำเลยให้การปฏิเสธและนัดฟังคำพิพากษาวันนี้…

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาอยู่ตรงไหน

Loading

  ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เยือนไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024 โดยวาระสำคัญคือการหารือกับ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาที่เป็นปัญหาคาราคาซังมากว่า 50 ปี   ปมปัญหาจากข้อพิพาทนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยเมื่อปี 2515 ก่อนที่ไทยจะประกาศในปี 2516 ซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ขีดเส้นล้ำเข้ามาทับเส้นของอีกฝ่าย ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันกว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น จึงส่งผลต่อสิทธิสัมปทานที่ทั้งไทยกับกัมพูชาได้ให้กับบริษัทเอกชนด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงทำให้ยังไม่มีใครสามารถเข้าไปดำเนินกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้   เนื้อที่ทางทะเลที่มีข้อพิพาทนี้มีการประเมินกันว่า มีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ไม่แพ้แหล่งในอ่าวไทย หากเจรจาสำเร็จ ไทยจะสามารถจัดหาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก หรือสามารถนำมาช่วยทดแทนปริมาณก๊าซในอ่าวไทยได้ในอนาคตอีกด้วย     ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย บทความโดย  ปัทมาสน์ ชนะรัชชรักษ์       ——————————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

เปิดโปรไฟล์ ฮุน มาเนต ก่อนเยือนไทย คุยประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

Loading

  ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เตรียมเดินทางเยือนไทยในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024 เพื่อหารือกับ เศรษฐา ทวีสิน เกี่ยวกับการค้าข้ามพรมแดน รวมถึงวาระสำคัญอย่างเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทกันมายาวนานกว่า 50 ปี   THE STANDARD พาไปทำความรู้จักกับผู้นำคนล่าสุดของกัมพูชา บุตรชายคนแรกของ ฮุน เซน กันให้มากขึ้น   หนุ่มนักเรียนนอก ฮุน มาเนต เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1977 เป็นบุตรชายคนแรกของ ฮุน เซน อดีตผู้นำกัมพูชาที่ปกครองประเทศมาเกือบ 40 ปี   ฮุน เซน ปูเส้นทางชีวิตให้ ฮุน มาเนต มาอย่างดี เขามีประวัติทั้งด้านการศึกษาและเส้นทางอาชีพที่เพียบพร้อมตั้งแต่วัยเยาว์จนเติบใหญ่ ชายผู้นี้เติบโตและได้รับการศึกษาในกรุงพนมเปญ ก่อนเข้ารับราชการในกองทัพกัมพูชาในปี 1995 ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเขาได้เข้าโรงเรียนทหารสหรัฐอเมริกาที่เวสต์พอยต์ และเป็นชาวกัมพูชาคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้   ส่วนทางด้านวิชาการ ฮุน มาเนต จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก…

‘OCA ไทย-กัมพูชา’ เรื่องสำคัญที่คนไทยควรรู้

Loading

  ‘OCA ไทย-กัมพูชา’ เรื่องสำคัญที่คนไทยควรรู้   ไทยและกัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนระหว่างกันทอดยาว 798 กิโลเมตร ซึ่งนอกจากดินแดนทางบกแล้ว เรายังมีพื้นที่เชื่อมต่อทางทะเลในฝั่งทะเลอ่าวไทยด้วยเช่นกัน จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้ชิดกันก่อให้เกิดประเด็น พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน (overlapping claims areas – OCA) จากการที่ทั้ง 2 ประเทศต่างอ้างสิทธิในไหล่ทวีปที่ล้ำเข้าไปในเขตของอีกฝ่าย   แน่นอนว่า OCA เป็นประเด็นละเอียดอ่อน เต็มไปด้วยเนื้อหาที่ซับซ้อน ทั้งยังเป็นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ การเจรจากับกัมพูชาจึงจำเป็นต้องใช้เวลา และใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยมีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ดูแลในประเด็นหลักการทางกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อทำให้การเจรจามีแนวทางและหลักยึดที่มั่นคง โดยไม่ส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาและบริบทการเมืองภายในทั้ง 2 ประเทศ   ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ไทยและกัมพูชาจะกลับมาเจรจาหาข้อยุติในประเด็น OCA อีกครั้งหลังจากว่างเว้นมากว่า 16 ปีตั้งแต่เกิดข้อพิพาท ทั้งยังจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยควรจะมีความเข้าใจในประเด็น OCA ในทุกมิติ     ต้นเหตุข้อพิพาทและที่มาของ OCA   ดร.สุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และประธานคณะทำงานร่วมว่าด้วยการกำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมทางทะลไทย-กัมพูชาหนึ่งในกลไกเจรจาข้อพิพาท OCA…