นับถอยหลัง 2 ปี ‘Deepfakes’ ป่วนโลกธุรกิจหนักยิ่งกว่าเดิม

Loading

  “การ์ทเนอร์” คาดการณ์ “Deepfakes” ที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เป็นผู้สร้างขึ้นจะทำให้อีกสองปีการใช้โซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนแบบเดิม ๆ ไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป   Keypoints : •  Deepfakes ทำลายระบบการพิสูจน์ตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ •  การโจมตีแบบ Deepfakes ที่สร้างโดยเอไอทำให้โซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป •  การปลอมแปลงข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพเป็นการโจมตีที่พบบ่อยที่สุด การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าในปี 2569 การโจมตีแบบ Deepfakes ที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์กับเทคโนโลยีระบุตัวตนบนใบหน้าหรือ Face Biometrics เป็นเหตุให้องค์กรประมาณ 30% มองว่าโซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนจะไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไปหากนำมาใช้แบบเอกเทศ   อากิฟ ข่าน รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีจุดเปลี่ยนสำคัญด้านเอไอเกิดขึ้นหลายประการ ซึ่งนั่นทำให้เกิดการสร้างภาพสังเคราะห์ขึ้นได้   ภาพใบหน้าคนจริง ๆ ที่สร้างขึ้นปลอม ๆ เหล่านี้ หรือที่เรียกว่า “Deepfakes” นั้น เปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำมาใช้เพื่อทำลายระบบการพิสูจน์ทราบตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์หรือทำให้ระบบใช้การได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ   ผลที่ตามมาก็คือ องค์กรต่างๆ…

สุดล้ำ! การชำระเงินแบบใหม่ในสหรัฐฯ แค่ “สแกนฝ่ามือ” ก็เรียบร้อย

Loading

  อีกขั้นของสังคมไร้เงินสด กับเทคโนโลยีของ “Amazon One” ชำระเงินง่าย ๆ ด้วยการ “สแกนฝ่ามือ” ไม่ต้องควักเงินในกระเป๋าให้ยุ่งยากอีกต่อไป   การจ่ายเงินเป็นเรื่องที่เราสามารถทำได้ง่ายขึ้นเรื่อย ๆ จากเมื่อก่อนที่ต้องใช้เงินสด ปัจจุบันก็มีช่องทางที่เป็นดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้แอปพลิเคชันทางการเงินต่าง ๆ การใช้บัตรเติมเงิน แต่ขณะนี้ที่สหรัฐฯ มีเทคโนโลยีการจ่ายเงินที่ล้ำกว่านั้น นั่นก็คือ “การสแกนฝ่ามือ”   นี่คือเทคโนโลยีของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง แอมะซอน (Amazon) ซึ่งใช้ชื่อว่า Amazon One เป็นเครื่องสแกนหน้าตาเหมือนที่เห็นได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้า แต่จากที่แตะบัตร ก็ใช้วิธีแตะมือเพื่อสแกนแทน   Amazon One ใช้ระบบไบโอเมตริกซ์ (Biometric) หรือการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพที่มีลักษณะเฉพาะตัวและไม่ซ้ำใคร โดยจะจดจำลายเส้นบนมือของแต่ละคนในการจำแนก่าใครเป็นใคร ทั้งยังอ่านโครงสร้างเส้นเลือดที่อยู่ใต้ฝ่ามือเพื่อความแม่นยำมากขึ้น เพราะมือของคนทุกคนนั้นมีความซับซ้อนมาก จึงไม่สามารถซ้ำกันได้อย่างแน่นอน   นอกจากนี้ข้อมูลยังถูกปกป้องไว้ด้วยระบบคราวด์ที่ชื่อ AWS Cloud ที่ได้รับการสนับสนุนโดยเครื่องมือรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์มากกว่า 300 รายการและคู่ค้าด้านความปลอดภัย 100,000 รายจากทั่วโลก   ในปัจจุบัน Amazon One…

CAC ยกร่างกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

  สำนักงานไซเบอร์สเปซจีน (CAC) เผยว่าได้ยกร่างกฎควบคุมความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า   CAC ชี้ว่าต้องมีการควบคุมให้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในจุดประสงค์เฉพาะและต้องมีความจำเป็นที่พอเหมาะ ภายใต้มาตรการเชิงป้องกันที่เข้มงวด   นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้ายังต้องได้รับความยินยอมจากปัจเจกบุคคล อีกทั้งยังควรใช้ระบบการยืนยันตัวตนที่ไม่ใช่ข้อมูลไบโอเมตริกซ์หากมีประสิทธิภาพเท่ากัน   ในร่างกฎของ CAC ยังห้ามการใช้อุปกรณ์ยืนยันตัวตนและการจับภาพในห้องพักโรงแรม ห้องน้ำสาธารณะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และสถานที่อื่น ๆ ที่จะละเมิดความเป็นส่วนตัว   การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยสาธารณะเท่านั้นและต้องมีป้ายเตือนที่เห็นเด่นชัดวางอยู่ใกล้ ๆ ด้วย     ที่มา   Reuters       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                    แบไต๋                     /…

อิตาลีสั่งห้ามใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพราะยังไม่มีกฎหมายที่รัดกุม

Loading

  สำนักงานคุ้มครองข้อมูลของอิตาลี (GPDP) สั่งห้ามการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าและเทคโนโลยี ‘smart glasses’ หรือเทคโนโลยีอื่นใดที่ใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ภายในประเทศ   คำสั่งข้างต้นออกมาภายหลังจากที่เมืองเลชเช ทางตอนใต้ของประเทศ และเมืองอเรซโซ ในแคว้นทัสคานี ประกาศจะนำเทคโนโลยีฯ ดังกล่าวมาใช้   GPDP ระบุว่าการสั่งห้ามในครั้งนี้จะมีผลไปจนกว่าจะมีการใช้บังคับกฎหมายเป็นการเฉพาะ หรือจนกว่าจะสิ้นปี โดยให้เหตุผลว่าที่ต้องห้ามเพราะว่าในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการควบคุมที่มารองรับได้อย่างเหมาะสม   แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ว่าหากเทศบาลใดอยากนำเทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิดไปใช้ จะต้องทำข้อตกลงด้านความปลอดภัยเมืองกับผู้แทนของรัฐบาลกลางก่อน โดยจะต้องมอบรายละเอียดของระบบที่จะนำมาใช้ รวมถึงวัตถุประสงค์ หลักเหตุผลรองรับทางกฎหมาย และรายชื่อฐานข้อมูลที่อุปกรณ์เหล่านี้จะเข้าถึง ประกอบกันด้วย   สำหรับ smart glasses เป็นแว่นอินฟราเรตที่ใช้จดจำหมายเลขทะเบียนของประชาชน     ที่มา iTnews         ————————————————————————————————————————- ที่มา :                     …