‘ไมโครซอฟท์’ เผย รัสเซียโจมตีไซเบอร์ 42 ประเทศพันธมิตรยูเครน

Loading

FILE – A security camera is seen near a Microsoft office building in Beijing, China, July 20, 2021. State-backed Russian hackers have engaged in “strategic espionage” against governments, think tanks, businesses and aid groups in 42 countries backing Ukraine   ไมโครซอฟท์ (Microsoft) บริษัทซอฟท์แวร์ยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน ระบุในรายงานที่ได้รับการเปิดเผยในวันพุธว่า แฮคเกอร์ชาวรัสเซีย ได้กระทำ “การจารกรรมเชิงกลยุทธ์” ต่อรัฐบาล สถาบันวิจัย ธุรกิจ และกลุ่มช่วยเหลือใน 42 ประเทศที่สนับสนุนยูเครน ตามรายงานของเอพี รายงานของไมโครซอฟท์…

Microsoft ยอมรับ แฮ็กเกอร์ Lapsus$ ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนจริง ยืนยันไม่ใช่ข้อมูลสำคัญ

Loading

  กลุ่มแฮ็กเกอร์ Lapsus$ ซึ่งระยะหลังเริ่มมีการลงมืออย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าไปโจมตี ซัมซุง, อินวิเดีย, ยูบิซอฟต์ ล่าสุดไมโครซอฟท์ ยอมรับว่าพวกเขาเป็นเหยื่อรายล่าสุดของแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้จริง   Lapsus$ กลุ่มแฮ็กเกอร์หน้าใหม่ ซึ่งกำลังเร่งสร้างชื่อเสียงในขณะนี้ ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อ 1-2 วันก่อนว่า พวกเขาได้เข้าถึงข้อมูลภายในของไมโครซอฟท์ โดยข้อมูลที่พวกเขาได้ไปนั้น เป็นซอร์สโค้ดของบิง (Bing) และคอร์ทานา (Cortana) มีขนาดไฟล์ทั้งสิ้น 37GB   วันอังคารตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ออกมายอมรับว่า แฮ็กเกอร์ได้ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนไปจริง ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้ติดตามกลุ่ม Lapsus$ มาสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อดูวิธีการทำงาน ไปจนถึงการโจมตีของกลุ่มดังกล่าว   ไมโครซอฟท์ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลที่รั่วไหลไปนั้นไม่ได้เป็นข้อมูลที่รุนแรง หรือน่าเป็นห่วงที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัท อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลสำคัญของลูกค้าใดๆ หลุดออกไป อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำการปิดช่องทางต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันเอาไว้เรียบร้อยแล้ว   ช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกว่า Lapsus$ เริ่มถูกพูดถึงบนหน้าข่าวเทคโนโลยีมากขึ้น จากการที่พวกเขาทำผลงานด้วยการแฮ็กระบบของอินวิเดีย (Nvidia), ซัมซุง…

ไมโครซอฟท์เตรียมสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลสิงคโปร์

Loading

  ไมโครซอฟท์เตรียมสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลสิงคโปร์   ไมโครซอฟท์ทำข้อตกลงกับ Home Team Science and Technology Agency (HTX) หน่วยงานด้านเทคโนโลยีภายใต้ Ministry of Home Affairs หรือ Home Team กระทรวงดูแลความมั่นคงภายในของสิงคโปร์ เตรียมพัฒนาคลาวด์ภาครัฐ (sovereign cloud) ให้เป็นการเฉพาะ   ไม่มีรายละเอียดว่าคลาวด์นี้จะมีความสามารถอะไรเป็นพิเศษบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วการสร้างคลาวด์เฉพาะสำหรับรัฐบาลเช่นนี้มักให้สิทธิ์ควบคุมข้อมูลได้มากขึ้น ห้ามนำข้อมูลออกนอกเขตแดนที่กำหนด ทางด้านไมโครซอฟท์ระบุว่าคลาวด์นี้จะสร้างบนพื้นฐานของ Microsoft Azure   นอกจากการสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลแล้ว ข้อตกลงนี้ยังรวมการฝึกบุคลากรของ HTX พร้อมการสอบใบรับรองอีกปละ 600 ตำแหน่ง   ที่มา – Microsoft     ————————————————————————————————————————————— ที่มา : Blognone by Lew           …

‘ไมโครซอฟท์’ เผยแฮกเกอร์รัสเซียพยายามเจาะล้วงข้อมูลรอบใหม่

Loading

  บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ ไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดเผยในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและเคยก่อเหตุจารกรรมล้วงข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเรียกกันว่า โซลาร์วินด์ส (SolarWinds) กำลังพยายามโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกอีกครั้ง ไมโครซอฟท์ กล่าวว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่มีชื่อว่า โนเบลเลียม (Nobelium) ได้ใช้ยุทธวิธีใหม่เพื่อฉกฉวยประโยชน์จากการเข้าถึงระบบคลาวด์ของภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์ กับลูกค้าหรือผู้ใช้เทคโนโลยีของบริษัทเหล่านั้น ไมโครซอฟท์มีแถลงการณ์เมื่อวันอาทิตย์ว่า ได้จับตามองการโจมตีของโนเบลเลียมมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และได้แจ้งให้บริษัทต่าง ๆ ที่ตกเป็นเป้าหมายมากกว่า 140 แห่งรับทราบในจำนวนนี้คาดว่ามีอย่างน้อย 14 บริษัทที่ถูกเจาะล้วงระบบคอมพิวเตอร์แล้ว ไมโครซอฟท์ระบุว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม กลุ่มโนเบลเลียมได้ก่อเหตุโจมตีแล้วเกือบ 23,000 ครั้ง แต่ประสบความสำเร็จเพียงไม่กี่ครั้ง โดยเป้าหมายส่วนใหญ่คือหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ และบรรดาสถาบันวิจัยหรือ think tank ในอเมริกา รวมทั้งในยูเครน อังกฤษ และประเทศสมาชิกขององค์การนาโต้ รัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวหาว่า หน่วยงานข่าวกรองของรัสเซีย SVR อยู่เบื้องหลังการลอบเจาะล้วงข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ หรือ โซลาร์วินด์ส เมื่อปีที่แล้ว แต่ทางการรัสเซียได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อเหตุการณ์ดังกล่าว (ข้อมูลบางส่วนจากสำนักข่าวเอพี และรอยเตอร์) ————————————————————————————————————————————————…

ไมโครซอฟท์รายงานภัยไซเบอร์ปี 2021 การโจมตีส่วนมากมาจากรัสเซีย, Ransomware โจมตีกลุ่มค้าปลีกหนักสุด

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานการป้องกันภัยไซเบอร์ประจำปี 2021 ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ช่วงกลางปี 2020 จนถึงกลางปี 2021 ที่ผ่านมา แสดงถึงระดับภัยที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มคนร้ายในโลกไซเบอร์มีระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในตัวเอง   การโจมตีรูปแบบต่างๆ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย เช่น ค่าเจาะระบบ 250 ดอลลาร์ (8,000 บาท), ค่าใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ 66 ดอลลาร์ (2,000 บาท), ค่ารหัสผ่านที่ถูกเจาะ 0.97 ดอลลาร์ (30 บาท) ต่อ 1,000 รายการ, ค่าส่งเมลหลอกลวงแบบเจาะจง (spearphishing) ครั้งละ 100 – 1,000 ดอลลาร์ (3,400 – 34,000 บาท) รายงานพบว่ากลุ่มแฮกเกอร์ระดับรัฐ (nation state actor) มาจากฝั่งรัสเซียสูงสุด โดยนับจากปริมาณการโจมตี รองลงมาได้แก่ เกาหลีเหนือ, อิหร่าน, จีน, เกาหลีใต้, ตุรกี…