พร้อมหรือยังกับการรับมือ Top SaaS Cybersecurity (จบ)

Loading

    สัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเสนอวิธีการรับมือ Top SaaS Cybersecurity ในปี 2566 ไปแล้ว 2 วิธีด้วยกัน สำหรับในตอนที่ 2 นี้ เราจะมาตามกันต่อสำหรับวิธีการรับมือที่เหลือรวมถึงบทสรุปกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง   Software ที่มีช่องโหว่และการแพตช์ (patch) : ประเด็นนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ในทุกองค์กรและทุกธุรกิจ ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่บริษัท SaaS เพราะเมื่อเรา host app ด้วยตนเองแล้ว ในทุกครั้งต้องแน่ใจก่อนว่าระบบความปลอดภัยจะเริ่มทำงานเมื่อมีการเปิดระบบปฏิบัติการและ library patch ขึ้น   แต่น่าเสียดายที่สิ่งนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอยู่ และขณะนี้ก็ยังมีการค้นพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในระบบปฏิบัติการและ library และความพยายามในการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง   การใช้แนวทางปฏิบัติของ DevOps และโครงสร้างพื้นฐานชั่วคราวสามารถช่วยให้แน่ใจว่าบริการขององค์กรได้รับการปรับใช้กับระบบที่แพตช์อย่างสมบูรณ์ในแต่ละรุ่น แต่ก็ยังต้องตรวจสอบหาจุดอ่อนแบบใหม่ ๆ ที่อาจพบระหว่างรุ่นต่าง ๆ ด้วย   อีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการโฮสต์ด้วยตนเองคือข้อเสนอแบบฟรี (และจ่ายเงิน) แบบไร้เซิร์ฟเวอร์และ Platform as a Service (PaaS) ที่เรียกใช้…

วิธีตั้งค่าบัญชี Apple ID ให้ปลอดภัย ปกป้องความเป็นส่วนตัว

Loading

  วิธีตั้งค่าบัญชี Apple ID ให้ปลอดภัย ปกป้องความเป็นส่วนตัว ซึ่ง Apple ID เปรียบเสมือนกุญแจที่สำคัญในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของ Apple เช่น App Store, Apple Music, iCloud และอื่นๆ อีกมากมาย และรวมถึงบริการอื่นๆ เช่น รายชื่อเบอร์โทรศัพท์ การชำระเงิน และข้อมูลความปลอดภัย ดังนั้น คุณต้องรักษา Apple ID ของคุณให้ปลอดภัย มาดูกันว่าจะรักษาบัญชี Apple ID อย่างไรให้ปลอดภัยด้วยเคล็ดลับต่างๆ ดังนี้   วิธีตั้งค่าบัญชี Apple ID ให้ปลอดภัย ปกป้องความเป็นส่วนตัว   1. ใช้การตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัย     เพื่อให้บัญชี Apple ID ปลอดภัยยิ่งขึ้น การเปิดใช้งาน 2FA เป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นหากมีผู้อื่นทราบรหัสผ่านของคุณ…

แม้เปิด 2FA ก็ถูกแฮกบัญชีได้ ด้วยการขโมย “คุกกี้” บนเว็บเบราว์เซอร์

Loading

  คุกกี้ ของหวานของเหล่าแฮกเกอร์ ที่ทำให้บัญชีของคุณถูกแฮกได้ภายในไม่กี่วินาที   การยืนยันตัวตนขั้นที่สอง หรือ Two–Factor Authentication (2FA) คือ หนึ่งในวิธีการที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่บัญชีออนไลน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอีเมลและบัญชีโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม แม้นี่จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีวิธีใดที่ป้องกันได้ 100% และคุณยังสามารถถูกแฮกบัญชีได้แม้จะเปิดใช้งาน 2FA แล้ว   แต่แฮกเกอร์เจาะเข้าระบบที่มี 2FA ได้อย่างไร? ในบทความนี้จะขอเตือนภัยผู้อ่านทุกท่าน ถึงวิธีการที่แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์ของคุณได้โดยไม่ผ่าน 2FA พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นที่สามารถทำได้   ที่มาของภาพ Unsplash   รู้จัก Two–Factor Authentication (2FA)   การยืนยันตัวตนขั้นที่สอง หรือ 2FA ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันชั้นที่สองให้แก่บัญชีผู้ใช้ของคุณ ซึ่งมักอยู่จะในรูปรหัสผ่านตัวเลขแบบสุ่ม โดยทางแพลตฟอร์มจะส่งรหัสผ่านเหล่านี้มาให้คุณผ่านทางข้อความ SMS, อีเมล หรือใช้รหัสผ่านจากแอปพลิเคชันสร้าง 2FA ที่แพลตฟอร์มรองรับ   ที่มาของภาพ Wiki Commons   ซึ่งรหัสผ่านของ…

เปิดวิธี ยืนยันตัวตน 2 ชั้น (2FA) ป้องกันถูกแฮก IG ไม่คลิกลิงก์-ให้รหัสผู้อื่น

Loading

  “เปิดวิธี ยืนยันตัวตน 2 ชั้น (2FA) ป้องกันถูกแฮก IG หลัง “เดียร์น่า” นักแสดง ถูกแฮกไอจีร้านชานม ดีอี เตือน! ไม่ควรให้ชื่อและรหัสผ่านบัญชีโซเชียลกับใคร”   เปิดวิธี ยืนยันตัวตน 2 ชั้น (2FA) ป้องกันถูกแฮก IG “เดียร์น่า” นักแสดง ถูกแฮกไอจีร้านชานม เตือนไม่ควรให้ชื่อและรหัสผ่านบัญชีโซเชียลกับใคร ไม่ควรคลิกลิงก์-กรอกข้อมูลส่วนตัวในลิงก์ที่ไม่รู้จัก   วันนี้ (27 มิ.ย. 65) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมทั้งนายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลฯ นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล เลขานุการ รมว.ดีอีเอส ร่วมกับ พ.ต.อ.เอกนิรุจฒิ์ วันสิริภักดิ์ ผกก.2 บก.สอท.1 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) แถลงข่าว “การรับเรื่องร้องเรียนจากนางเอกนักแสดงสาว ถูกแฮกไอจีร้านชานม” กรณีนางสาวเดียร์น่า…

ลบด่วน! บริษัทความปลอดภัยตรวจพบมัลแวร์ที่มาพร้อมแอปชื่อ ‘2FA Authenticator’ บน Google Play Store!

Loading

  Pradeo บริษัทด้านความปลอดภัยมือถือสำรวจพบแอปพลิเคชันใน Google Play Store ที่ตามชื่อเหมือนจะช่วยให้ผู้ใช้ปลอดภัยมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วตัวแอปกลับแอบปล่อยมัลแวร์ที่แฮกเกอร์ใช้ โดยแอปดังกล่าวมีชื่อว่า ‘2FA Authenticator’   2FA หรือที่รู้จักในชื่อ two-factor authentication (การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น แต่แอปพลิเคชัน 2FA Authenticator กลับมีจุดประสงค์ที่แท้จริงคือการติดตั้งมัลแวร์อันตรายที่ชื่อ ‘Vultur’ ลงบนอุปกรณ์ของผู้ใช้       Vultur จะมุ่งเป้าไปที่แอปบริการทางการเงินเพื่อที่มันจะสามารถขโมยข้อมูลธนาคารรวมถึงเงินของผู้ใช้ ซึ่ง Pradeo แนะนำว่า หากใครเผลอติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าวลงบนสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตของตนเองควรรีบลบแอปนี้ทิ้งทันที   Pradeo ค้นพบว่า 2FA Authenticator จะมีการขออนุญาตผู้ใช้เพื่อเข้าถึงความสามารถบางอย่าง และสามารถเพิ่มสิทธิ์การเข้าถึงต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น การถ่ายรูปและวิดีโอผ่านกล้องของอุปกรณ์ผู้ใช้, ยกเลิกการล็อกหน้าจอ, สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้, ทำงานเมื่อเปิดเครื่องแบบอัตโนมัติ หรือการเข้าถึงและใช้งานไบโอเมตริก หรือลายนิ้วมือของผู้ใช้ เป็นต้น  …