ผู้เชี่ยวชาญจีนชี้โอกาสและความเสี่ยงในยุคแห่ง AI

Loading

  CGTN: ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นหัวข้อหนึ่งที่ถกเถียงกันมากในเวทีป๋ออ้าว ฟอรัม ในปีนี้ เนื้อหาที่สร้างขึ้นโดย AI ที่แพร่หลายมากขึ้น และแพลตฟอร์ม Sora ที่สามารถสร้างวิดีโอขึ้นได้เองสร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก   บทความจาก : Opportunities and risks in the era of AI   เทคโนโลยี AI ได้แสดงถึงศักยภาพที่ก้าวล้ำไปกว่าการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แบบดั้งเดิม และสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นในวงการต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความกังวลหลายอย่าง เช่น การแยกแยะข้อมูลเท็จที่ยากลำบาก และงานหลายอย่างที่เสี่ยงจะถูกทดแทนด้วย AI เราสามารถประเมินสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนี้   ในอนาคต ระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถตอบสนองต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ (human-machine environment system) โดยจะผสานระหว่าง AI Internet of things สมาร์ท เซนเซอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เข้าใจ และตอบสนองต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมได้อย่างชาญฉลาด…

เตือน!! แฮ็กเกอร์ใช้ AI สร้างวิดีโอน่าเชื่อถือ หลอกล่อเหยื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พ่วงมัลแวร์

Loading

  แฮ็กเกอร์ใช้วิธีการใหม่ในการหลอกล่อเหยื่อ ด้วยการใช้ AI สร้างวิดีโอเพิ่มความน่าเชื่อถือ   ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างคอนเทนต์ให้เราได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบทความ, การสร้างภาพงานศิลป์ กระทั่งการสร้างวิดีโอให้ดูสมจริง ทว่า นี่กลับกลายเป็นช่องทางให้แฮ็กเกอร์สามารถหลอกลวงเหยื่อได้แนบเนียนขึ้นกว่าเดิม!!   การโจมตีบนยูทูบเพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน   CloudSEK บริษัทด้าน AI คาดการณ์ว่า ในแต่ละเดือนจะพบการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ (YouTube) เพิ่มขึ้น 200-300% ซึ่งการโจมตีจะอยู่ในรูปแบบการฝังโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ลงในลิงก์ที่มากับวิดีโอ โดยมัลแวร์เหล่านี้จะมีความสามารถในการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเหยื่อได้ เช่น ไวดาร์ (Vidar), เรดไลน์ (RedLine) และแรคคูน (Raccoon)     หลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลด “มัลแวร์”   สำหรับวิธีการที่แฮ็กเกอร์ใช้หลอกล่อเหยื่อ ให้เข้ามาดาวน์โหลดมัลแวร์จากลิงก์ที่อยู่ในส่วนขยายความ (Description) ของยูทูบ คือ การสร้างวิดีโอที่น่าเชื่อถือโดยมีผู้บรรยายประกอบ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะอาศัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสร้างวิดีโอเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ แพลตฟอร์มซินธิเซีย (Synthesia) และ ดี-ไอดี…