ภาพวันแม่กับการใช้เทคโนโลยี

Loading

  การเผยแพร่ภาพแม่กับลูกเนื่องในโอกาสวันแม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แทนที่จะสื่อถึงชาวโลกว่าพระองค์ทรงมีสุขภาพดีเป็นปกติแล้วและกำลังมีความสุขอยู่กับพระโอรสและพระธิดา กลับสร้างปัญหาสาหัสแบบคาดไม่ถึง   กล่าวคือ ไม่นานหลังจากภาพนั้นกระจายออกไป สำนักข่าวใหญ่หลายแห่งแถลงว่า ตนได้บอกให้ผู้รับภาพงดเผยแพร่ต่อเพราะสงสัยว่าภาพนั้นได้รับการตกแต่งด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยส่งผลให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงเต็มร้อย   ต่อมา เจ้าหญิงทรงรับว่าพระองค์ทรงตกแต่งภาพนั้นจริงและทรงขออภัยในความไม่เดียงสาของความเป็นช่างภาพมือใหม่ซึ่งทดลองใช้เทคโนโลยีที่ไม่ค่อยคุ้นเคย   เหตุการณ์นั้นบานปลายเป็นประเด็นใหญ่ภายในเวลาอันสั้น เนื่องจากมีผู้ชี้ว่าทางในวังของอังกฤษได้ใช้วิธีสร้างภาพให้ดูดีเกินความเป็นจริงมานาน และฝ่ายต่อต้านการมีกษัตริย์ได้พยายามขุดคุ้ยเรื่องในแนวนี้มาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง   ในบางกรณีถึงกับใช้เทคโนโลยีใหม่แอบถ่ายภาพ หรือดักฟังการสนทนาของราชวงศ์ส่งผลให้เรื่องไปถึงโรงศาล การเผยแพร่ภาพดังกล่าวจึงอาจเป็นน้ำผึ้งอีกหนึ่งหยดที่ส่งผลให้เกิดจุดพลิกผันอันสำคัญยิ่งในราชวงศ์อังกฤษได้   ผู้ดูโดยทั่วไปคงไม่รู้ว่าภาพดังกล่าวนั้นได้รับการตกแต่ง แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ มีทั้งเทคโนโลยีร่วมสมัยและความเชี่ยวชาญในการดูภาพจึงรู้ เมื่อรู้แล้วก็มิได้อำไว้เพราะเกรงใจราชวงศ์ หากแถลงออกมาเนื่องจากยึดจรรยาบรรณในด้านวิชาชีพของตนสูงกว่าความเกรงใจในตัวบุคคล หรือสถานะทางสังคมของเขารวมทั้งราชวงศ์   เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นประเด็นใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกครั้ง กล่าวคือ เทคโนโลยีมีประโยชน์มหาศาล แต่มีโทษ หรือคำสาปแฝงมาด้วยเสมอ   โทษอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความมักง่าย และความตั้งใจใช้เทคโนโลยีโดยขาดจรรยาบรรณ หรือเจตนาร้าย   ภาพ : เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงขอโทษที่ตกแต่งภาพทางการจากสำนักพระราชวังเคนซิงตัน จนสำนักข่าวดังหลายแห่งลบออกจากระบบ   ด้านประโยชน์นั้นเราคุ้นเคยกับมันในชีวิตประจำวันจนแทบไม่นึกถึง ผู้กำลังอ่านบทความนี้คงมีเครื่องมือทำด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยและอาจใช้มันอ่านอยู่ด้วยรวมทั้งโทรศัพท์อัจฉริยะ คอมพิวเตอร์จำพวกพกพาและคอมพิวเตอร์จำพวกตั้งโต๊ะ   ส่วนผู้อ่านการพิมพ์บนหน้ากระดาษก็อาจมิได้นึกถึงว่ากระดาษและตัวหนังสือที่ปรากฏต่อหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกัน   ส่วนด้านโทษก็มีมาก…

“เมื่อ AI เข้าสภา”

Loading

  คลิปที่แชร์กันมากเมื่อสองสัปดาห์ก่อน เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับ AI ในรัฐสภาสิงคโปร์ ซึ่งเป็นช่วงที่ผมเขียนเรื่อง AI ลงในคอลัมน์นี้พอดี วันนี้เลยขอต่อเรื่องนี้ครับ   หลังจากที่ ChatGPT เข้ามาสั่นสะเทือนโลกเมื่อปลายปี 2565 แล้ว ไม่กี่เดือนต่อมา   ก็มีเวอร์ชันใหม่ ๆ ตามมา ซึ่งเป็น AI ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างมาก   คลิปที่แชร์กัน มีความยาวเพียง 4 นาที เนื้อหาคือ ส.ส. สิงคโปร์คนหนึ่งได้อภิปรายว่า AI   รุ่นใหม่ ๆ ที่จะออกมาในอนาคตอันใกล้ จะทำให้สั่นสะท้านสังคมมนุษย์มากยิ่งขึ้น   ตัวอย่างเช่นคาดกันว่าภายในปีนี้ OpenAI ซึ่งเป็นเจ้าของ ChatGPT จะนำเสนอ “SORA” ที่มีความสามารถในการ เปลี่ยนภาษาเขียน คือ ตัวหนังสือธรรมดาๆ นี่แหละ ให้เป็นวิดีโอได้ด้วย แถมยังคาดหวังกันว่า คุณภาพของวิดีโอที่ได้ออกมานั้น จะอยู่ในระดับภาพยนต์ฮอลลีวู้ดเลยทีเดียว   ที่น่ากลัวอีกเรื่องหนึ่งก็คือเทคโนโลยี…

Google Research รายงานความก้าวหน้า AI เตือนภัยน้ำท่วม – รองรับข้อมูล 80 ประเทศ – คาดการณ์ได้ล่วงหน้า 7 วัน

Loading

กูเกิลเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ว่าด้วยเทคโนโลยี Machine Learning ที่ถูกใช้ในการพยากรณ์การเกิดน้ำท่วมในสเกลทั่วโลก ซึ่งกูเกิลเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2008 ผ่านเครื่องมือ Flood Hub รองรับข้อมูลใน 80 ประเทศ

เจอช่องโหว่ AI คายความลับ เข้ารหัสดักฟังข้อมูล

Loading

แม้ผู้ช่วยอัจฉริยะ (AI Assistant) จะเหมือนเพื่อนสนิทที่ไว้ใจปรึกษาเรื่องต่างๆ ได้ แต่การสื่อสารที่เข้ารหัสกับ AI อาจไม่ปลอดภัย 100% โดยล่าสุด นักวิจัยชาวอิสราเอล ค้นพบช่องโหว่ที่แฮ็กเกอร์สามารถดักฟังข้อมูลจากการตอบกลับที่เข้ารหัสของ AI ได้

“ไมโครซอฟท์” เล็งเปิดตัวเครื่องมือ AI ด้านความปลอดภัย-ช่วยลูกค้าติดตามแฮ็กเกอร์

Loading

ไมโครซอฟท์ คอร์ป มีแผนเปิดตัวเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ที่จะช่วยให้พนักงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์สรุปเหตุการณ์น่าสงสัย และเปิดโปงวิธีการอันแยบยลที่บรรดาแฮ็กเกอร์ใช้เพื่อปิดบังเป้าหมายของตัวเอง

รู้ทัน 5 Scammer กับเทคนิคใหม่ หลอกจนเสียท่า

Loading

  เมื่อเราคิดว่าฉลาดพอ พวก Scammer จะมีเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้โจมตีเราเสมอ ผมเลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ 5 Scammer ใหม่ในปี 2024 นี้ เพื่อให้เรารับมือกับมันได้ครับ   1. Spear phishing     เราอาจคุ้นเคยกับ Phishing อยู่แล้ว แต่ถ้า Spear phishing ล่ะ? มันเป็นความพยายามในการโจมตีด้วยฟิชชิ่งแบบกำหนดเป้าหมาย โดย Scammer จะใช้ข้อมูลของเราที่อาจเคยถูกขาย หรือถูกแฮ็กมา เช่น ข้อมูลชื่อ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อโน้มน้าวว่าพวกเขาเป็นองค์กรที่ดูน่าเชื่อถือ และถ้าหากเราเชื่อ ก็อาจเสียเงินให้พวกเขาโดยไม่รู้ตัว   แต่เป้าหมาย Spear phishing อาจไม่ใช่คนทั่วไป ต้องเป็นคนที่มีเงินในบัญชีระดับที่พวกเขาคิดว่า “คุ้มค่าพอที่เสียเวลารวบรวมข้อมูล” หรือผู้บริหารการเงินในองค์กรใหญ่ ๆ   วิธีป้องกัน แม้พวกเขาจะมีข้อมูลเราทุก ๆ…