สหรัฐสั่งหน่วยงานรัฐคุมเข้มการใช้ AI, ป้องกันกระทบสิทธิ-ความปลอดภัยปชช.
ทำเนียบขาวออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐที่มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องใช้ “มาตรการป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม” ภายในวันที่ 1 ธ.ค.
ทำเนียบขาวออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐที่มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องใช้ “มาตรการป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม” ภายในวันที่ 1 ธ.ค.
การเผยแพร่ภาพแม่กับลูกเนื่องในโอกาสวันแม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แทนที่จะสื่อถึงชาวโลกว่าพระองค์ทรงมีสุขภาพดีเป็นปกติแล้วและกำลังมีความสุขอยู่กับพระโอรสและพระธิดา กลับสร้างปัญหาสาหัสแบบคาดไม่ถึง กล่าวคือ ไม่นานหลังจากภาพนั้นกระจายออกไป สำนักข่าวใหญ่หลายแห่งแถลงว่า ตนได้บอกให้ผู้รับภาพงดเผยแพร่ต่อเพราะสงสัยว่าภาพนั้นได้รับการตกแต่งด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยส่งผลให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงเต็มร้อย ต่อมา เจ้าหญิงทรงรับว่าพระองค์ทรงตกแต่งภาพนั้นจริงและทรงขออภัยในความไม่เดียงสาของความเป็นช่างภาพมือใหม่ซึ่งทดลองใช้เทคโนโลยีที่ไม่ค่อยคุ้นเคย เหตุการณ์นั้นบานปลายเป็นประเด็นใหญ่ภายในเวลาอันสั้น เนื่องจากมีผู้ชี้ว่าทางในวังของอังกฤษได้ใช้วิธีสร้างภาพให้ดูดีเกินความเป็นจริงมานาน และฝ่ายต่อต้านการมีกษัตริย์ได้พยายามขุดคุ้ยเรื่องในแนวนี้มาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ในบางกรณีถึงกับใช้เทคโนโลยีใหม่แอบถ่ายภาพ หรือดักฟังการสนทนาของราชวงศ์ส่งผลให้เรื่องไปถึงโรงศาล การเผยแพร่ภาพดังกล่าวจึงอาจเป็นน้ำผึ้งอีกหนึ่งหยดที่ส่งผลให้เกิดจุดพลิกผันอันสำคัญยิ่งในราชวงศ์อังกฤษได้ ผู้ดูโดยทั่วไปคงไม่รู้ว่าภาพดังกล่าวนั้นได้รับการตกแต่ง แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ มีทั้งเทคโนโลยีร่วมสมัยและความเชี่ยวชาญในการดูภาพจึงรู้ เมื่อรู้แล้วก็มิได้อำไว้เพราะเกรงใจราชวงศ์ หากแถลงออกมาเนื่องจากยึดจรรยาบรรณในด้านวิชาชีพของตนสูงกว่าความเกรงใจในตัวบุคคล หรือสถานะทางสังคมของเขารวมทั้งราชวงศ์ เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นประเด็นใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกครั้ง กล่าวคือ เทคโนโลยีมีประโยชน์มหาศาล แต่มีโทษ หรือคำสาปแฝงมาด้วยเสมอ โทษอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความมักง่าย และความตั้งใจใช้เทคโนโลยีโดยขาดจรรยาบรรณ หรือเจตนาร้าย ภาพ : เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงขอโทษที่ตกแต่งภาพทางการจากสำนักพระราชวังเคนซิงตัน จนสำนักข่าวดังหลายแห่งลบออกจากระบบ ด้านประโยชน์นั้นเราคุ้นเคยกับมันในชีวิตประจำวันจนแทบไม่นึกถึง ผู้กำลังอ่านบทความนี้คงมีเครื่องมือทำด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยและอาจใช้มันอ่านอยู่ด้วยรวมทั้งโทรศัพท์อัจฉริยะ คอมพิวเตอร์จำพวกพกพาและคอมพิวเตอร์จำพวกตั้งโต๊ะ ส่วนผู้อ่านการพิมพ์บนหน้ากระดาษก็อาจมิได้นึกถึงว่ากระดาษและตัวหนังสือที่ปรากฏต่อหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกัน ส่วนด้านโทษก็มีมาก…
คลิปที่แชร์กันมากเมื่อสองสัปดาห์ก่อน เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับ AI ในรัฐสภาสิงคโปร์ ซึ่งเป็นช่วงที่ผมเขียนเรื่อง AI ลงในคอลัมน์นี้พอดี วันนี้เลยขอต่อเรื่องนี้ครับ หลังจากที่ ChatGPT เข้ามาสั่นสะเทือนโลกเมื่อปลายปี 2565 แล้ว ไม่กี่เดือนต่อมา ก็มีเวอร์ชันใหม่ ๆ ตามมา ซึ่งเป็น AI ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างมาก คลิปที่แชร์กัน มีความยาวเพียง 4 นาที เนื้อหาคือ ส.ส. สิงคโปร์คนหนึ่งได้อภิปรายว่า AI รุ่นใหม่ ๆ ที่จะออกมาในอนาคตอันใกล้ จะทำให้สั่นสะท้านสังคมมนุษย์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นคาดกันว่าภายในปีนี้ OpenAI ซึ่งเป็นเจ้าของ ChatGPT จะนำเสนอ “SORA” ที่มีความสามารถในการ เปลี่ยนภาษาเขียน คือ ตัวหนังสือธรรมดาๆ นี่แหละ ให้เป็นวิดีโอได้ด้วย แถมยังคาดหวังกันว่า คุณภาพของวิดีโอที่ได้ออกมานั้น จะอยู่ในระดับภาพยนต์ฮอลลีวู้ดเลยทีเดียว ที่น่ากลัวอีกเรื่องหนึ่งก็คือเทคโนโลยี…
กูเกิลเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ว่าด้วยเทคโนโลยี Machine Learning ที่ถูกใช้ในการพยากรณ์การเกิดน้ำท่วมในสเกลทั่วโลก ซึ่งกูเกิลเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2008 ผ่านเครื่องมือ Flood Hub รองรับข้อมูลใน 80 ประเทศ
แม้ผู้ช่วยอัจฉริยะ (AI Assistant) จะเหมือนเพื่อนสนิทที่ไว้ใจปรึกษาเรื่องต่างๆ ได้ แต่การสื่อสารที่เข้ารหัสกับ AI อาจไม่ปลอดภัย 100% โดยล่าสุด นักวิจัยชาวอิสราเอล ค้นพบช่องโหว่ที่แฮ็กเกอร์สามารถดักฟังข้อมูลจากการตอบกลับที่เข้ารหัสของ AI ได้
ไมโครซอฟท์ คอร์ป มีแผนเปิดตัวเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ที่จะช่วยให้พนักงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์สรุปเหตุการณ์น่าสงสัย และเปิดโปงวิธีการอันแยบยลที่บรรดาแฮ็กเกอร์ใช้เพื่อปิดบังเป้าหมายของตัวเอง
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว