คนไม่ไหว AI ต้องช่วย! ระวังปี 67 ภัยไซเบอร์ล้นมือ (Cyber Weekend)

Loading

  ชัดเจนแล้วว่าแนวโน้มหลักในวงการไซเบอร์ซิเคียวริตีปี 2567 จะต่อยอดจากปี 2566 ทั้งภาวะภัยออนไลน์ที่ส่อแววล้นทะลักยิ่งขึ้นจนมนุษย์ไม่อาจจัดการได้เอง และการยกทัพปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยเสริมแกร่งกระบวนการต้านโจรไฮเทค   สถานการณ์แบบนี้ทำให้หลายบริษัทหนักใจกับระบบไซเบอร์ซิเคียวริตีของตัวเอง โดยเฉพาะบริษัทที่ยังใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายรุ่นดั้งเดิม ซึ่งอาจใช้งานคนละยี่ห้อหรือมีการแยกกันทำงานเป็นชิ้นเพราะเมื่อทำงานร่วมกันไม่ได้ การสร้างระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทำงานอัตโนมัติก็เกิดไม่ได้จึงต้องมีการเพิ่มพนักงานเข้ามาดูแล และสุดท้ายทำให้ไม่สามารถพาตัวเองให้รองรับภัยมหาศาลในปีถัด ๆ ไป แถมยังอาจทำให้เสียต้นทุนโดยใช่เหตุ   ความเสียหายนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะผลวิจัยบอกว่าเวลาที่ถูกโจมตี บริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 21 วันในการตรวจสอบพบเจอ แปลว่ากว่าจะได้เริ่มดำเนินการอุดช่องโหว่แฮ็กเกอร์สามารถนำข้อมูลไปทำสิ่งร้ายได้นานหลายสัปดาห์แล้ว ความท้าทายเหล่านี้ทำให้คำว่าการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations) หรือที่คนทั่วโลกเรียกกันว่า SecOps นั้นมีความสำคัญมากขึ้น โดยการสำรวจล่าสุดพบว่า 52% ของบริษัททั่วโลกนั้นมอง SecOps เป็นงานมีความยุ่งยาก และบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่มี   ***ภัยล้นคนไม่ไหว   รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวถึงผลสำรวจใหม่ที่จัดทำร่วมกับ IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of…

‘เร้ดแฮท’ เปิดคาดการณ์ กระแส ‘โลกเทคโนโลยี’ ปี 67

Loading

  จับตาเมกะเทรนด์ทางเทคโนโลยี ปี 2567 อะไรที่จะมีอิทธิพลต่อโลกธุรกิจ เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา เป็นปีแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เอไอ รวมถึง ChatGPT ที่เข้ามาสร้างแรงสั่นสะเทือน เป็นหัวข้อสนทนากันทั่วโลก   Keypoints : •  เอไอจะยังคงเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญในปี 2567 •  ChatGPT เป็นตัวนำให้ gen AI เป็นที่รู้จักในวงกว้าง •  ความปลอดภัยบนไซเบอร์ยังคงเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกของเป้าหมายการจัดหาเงินทุน   สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท เปิดมุมมองว่า ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ความท้าทาย แต่เป็นโอกาสที่องค์กรและธุรกิจต่างๆ สามารถใช้เพื่อปลดล็อกความเป็นไปได้มากมายที่เทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้นำมาให้สำหรับปี 2567 เร้ดแฮทได้คาดการณ์แนวโน้มสำคัญสามประการที่อาจส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างมีนัยสำคัญประกอบด้วย     เกินกว่าการใช้ ‘คลาวด์’   ก้าวไกลเกินกว่าการใช้คลาวด์ : ในอดีตองค์กรต่างพบว่า การดึงคุณประโยชน์จากข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) มาสร้างมูลค่าให้องค์กรเป็นเรื่องยาก   แต่ความล้ำหน้าด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และล่าสุดคือความสามารถของ…

ฟิลิปปินส์อาสาวางกรอบกฎหมายกำกับดูแล AI ให้ภูมิภาคอาเซียน

Loading

ความสามารถอันล้นเหลือของปัญญาประดิษฐ์ ทำให้หลายภาคส่วนเกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้งาน AI ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านลิขสิทธิ์และจริยธรรม ทำให้ประเด็นการออกกฎเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการใช้งาน AI จึงถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ

OpenAI ลบนโยบายห้ามใช้เครื่องมือเอไอในการทหาร หลังร่วมมือก.กลาโหม

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า โอเพนเอไอ (OpenAI) ได้เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการห้ามใช้แชตจีพีที (ChatGPT) และเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) อื่น ๆ เพื่อจุดประสงค์ทางทหาร ก่อนหน้านี้นโยบายของโอเพนเอไอไม่อนุญาตให้ใช้โมเดลเอไอในงานทางทหาร และการทำสงคราม

‘ทรู’ นำทัพ ‘รัฐ-เอกชน’ ถกประเด็นใหญ่ ‘AI’ จริยธรรม และ ‘การกำกับดูแล’

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่”   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่” ไม่ว่าประเด็นด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ทักษะ และช่องว่างในขีดความสามารถทางการแข่งขัน   และเพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนา AI ที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงได้จัดงานสัมมนา AI Gets Good โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้มั่นใจว่า AI จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมไทย?”     กำกับดูแล = อุปสรรคหรือส่งเสริม?…

กฎหมายกำกับ AI ฉบับแรกของโลก จากสหภาพยุโรป ใกล้ความจริงขึ้นอีกก้าว

Loading

  หลังจากที่ Chat GPT ได้เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายปี 2565 AI (Artificial intelligence) หรือ Generative AI ก็เป็นคำที่ทุกท่านได้ยินผ่านหูและเห็นผ่านตากันบ่อยขึ้นมาก   ทางสหภาพยุโรปได้เล็งเห็นความสำคัญของ AI และผลกระทบในวงกว้างของการใช้ AI มาซักระยะแล้ว และประกาศร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวพึ่งได้รับความเห็นชอบจากตัวแทนเจรจาของสภายุโรปและประธานของคณะมนตรียุโรปโดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566   ร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI นี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงในรายละเอียดและถูกคาดหมายว่าจะเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ที่มีความครอบคลุมฉบับแรกของโลก   หลักการสำคัญของร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ดังกล่าวคือ การกำหนดให้มีการแยกประเภทการใช้งาน AI ตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป และกำหนดระดับความเข้มข้นของการกำกับแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยง   (1) การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk)   การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ หมายถึง การใช้ AI…