กฎหมายกำกับ AI ฉบับแรกของโลก จากสหภาพยุโรป ใกล้ความจริงขึ้นอีกก้าว

Loading

  หลังจากที่ Chat GPT ได้เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายปี 2565 AI (Artificial intelligence) หรือ Generative AI ก็เป็นคำที่ทุกท่านได้ยินผ่านหูและเห็นผ่านตากันบ่อยขึ้นมาก   ทางสหภาพยุโรปได้เล็งเห็นความสำคัญของ AI และผลกระทบในวงกว้างของการใช้ AI มาซักระยะแล้ว และประกาศร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวพึ่งได้รับความเห็นชอบจากตัวแทนเจรจาของสภายุโรปและประธานของคณะมนตรียุโรปโดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566   ร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI นี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงในรายละเอียดและถูกคาดหมายว่าจะเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ที่มีความครอบคลุมฉบับแรกของโลก   หลักการสำคัญของร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ดังกล่าวคือ การกำหนดให้มีการแยกประเภทการใช้งาน AI ตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป และกำหนดระดับความเข้มข้นของการกำกับแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยง   (1) การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk)   การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ หมายถึง การใช้ AI…

นักวิจัยพบว่าพื้นผิวของลิ้นอาจระบุตัวตนของเราได้ผ่านการทดสอบด้วย AI

Loading

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และมหาวิทยาลัยลีดส์ได้ร่วมกันสร้างปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการอ่านภาพ 3 มิติของลิ้นมนุษย์เพื่อระบุลักษณะของมนุษย์แต่ละคน ซึ่งลิ้นของคนเราจะมีปุ่มลิ้น (Papillae) ขนาดเล็กจำนวนหลายพันปุ่มที่ช่วยในการลิ้มรส การสัมผัส การพูด และการกลืน

ชวนคิด เมื่อ AI กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?

Loading

  ชวนคิด เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา พร้อมกับการใช้ Data Science โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?   ดร.เจษฎา กาญจนะ นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. ชวนคิดย้อนเวลาไปประมาณกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อหนึ่งสัปดาห์ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 11 ถึงวันที่ 18 ผู้ใช้งาน Facebook จำนวน 689,003 คน (หรือประมาณ 1 ใน 2,500 คนของผู้ใช้งานขณะนั้น) ถูกสุ่มให้ใช้อัลกอริทึมที่ถูกปรับเปลี่ยนสำหรับคัดเลือกให้เห็น News Feed หรือข้อความของเพื่อนแค่บางแบบเท่านั้น   ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งเห็นข่าวดี หรือข้อความบวกเยอะกว่าข้อความเชิงลบ ในขณะที่ผู้ใช้อีกกลุ่ม เห็นข่าวร้ายหรือข้อความลบเยอะกว่า จุดประสงค์ของการทดลองคือ การศึกษาการแพร่กระจายทางอารมณ์ (emotional contagion) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook และทีมวิจัยต้องการดูว่า อารมณ์สามารถส่งต่อระหว่างคนเมื่อเห็นเฉพาะข้อความตามตัวอักษร โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพได้หรือไม่…

เหตุใดสงครามกาซาถึงทำให้โลกออนไลน์น่าเชื่อถือน้อยลง

Loading

  ในช่วง 2-3 เดือนมานี้ การถกเถียงบนโซเชียลมีเดียในเรื่องความขัดแย้งอิสราเอลและกลุ่มฮามาสดูจะตึงเป็นพิเศษ   หลายคนกังวลว่าการต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้ผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ว่าอิสราเอลทำถูกแล้วเพราะเป็นการป้องกันตัวเอง ขณะที่บางส่วนก็เห็นใจชาวปาเลสไตน์และประณามอิสราเอล   ท่ามกลามความเห็นเหล่านี้ มีบางส่วนที่โพสต์เนื้อหาที่เป็นการบิดเบือนความจริง ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ     ข่าวที่กลุ่มชาวนาฝรั่งเศสนำมูลวัวมาทิ้งหน้าร้าน McDonald’s ถูกนำเสนอว่าเป็นการประท้วงอิสราเอล   ตั้งแต่การบิดเบือนตัวเลขผู้เสียชีวิต การโจมตีเนื้อหาข่าวด้วยข้อมูลเท็จ ใช้เนื้อหาจากเหตุการณ์ในอดีต หรือเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาปะปน หรือแม้แต่การ ‘สร้าง’ เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้น   สงครามกาซาทำให้ข้อมูลเท็จเพิ่มขึ้น   ภายหลังจากที่สงครามกาซาเริ่มขึ้น การปล่อยเท็จก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในจำนวนนี้มีทั้งการใช้ภาพจากวิดีโอเกมมาอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ และยังมีการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง AI เข้ามาบิดเบือนร่วมด้วย       Bohemia Interactive ผู้สร้าง ARMA 3 อธิบายว่าภาพจากเกมถูกนำไปบิดเบือนอย่างไรบ้าง   นี่ไม่ใช่คำกล่าวลอย ๆ แต่ยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญอย่าง พิปปา แอลเลน คินรอสส์ (Pippa Allen-Kinross) บรรณาธิการข่าวของ…

กทปส.หนุนพัฒนาแพลตฟอร์มติดตามบุคคลจาก CCTV

Loading

รศ.ดร.มงคล เอกปัญญาพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเจ้าของโครงการระบบแพลตฟอร์มสำหรับการติดตามบุคคลจากกล้องหลายตัว กล่าวว่า แรงผลักดันที่ทำให้เกิดแนวคิดที่จะทำ “โครงการระบบแพลตฟอร์มสำหรับการติดตามบุคคลจากกล้องหลายตัว” มาจากความสนใจที่จะนำ “AI” มาทำงานค้นหาและติดตามผู้ต้องสงสัยแทนคน

GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศจาก Google

Loading

  การพยากรณ์อากาศ หนึ่งในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง แต่หลายครั้งเราก็ต้องตั้งคำถามว่าสามารถเชื่อถือได้แค่ไหน เมื่อเราก็เคยเห็นพยากรณ์อากาศผิดพลาดมาหลายครั้ง แต่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปจากการมาถึงของ GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศจาก Google   เมื่อพูดถึงการพยากรณ์อากาศอาจทำให้หลายท่านรู้สึกแคลงใจอยู่ไม่น้อย จริงอยู่อุตุนิยมวิทยาถือเป็นส่วนที่ช่วยคาดเดาสภาพอากาศและภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้ามาหลายครั้ง ช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนมากมายจากเหตุร้ายหรือภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นได้มาก   ในขณะเดียวกันเราเองก็ทราบดีว่าการพยากรณ์อากาศมีขีดจำกัด หลายครั้งข้อมูลที่พยากรณ์ออกมาล่วงหน้าเกิดการผิดพลาด หรือมีปัจจัยอื่นแทรกซ้อนเข้ามาจนไม่ตรงกับข้อมูลที่รายงาน นำไปสู่การเกิดความเข้าใจผิดซึ่งชวนให้เรากังขาในข้อมูลที่ได้รับไม่มากก็น้อย   แต่ทุกอย่างอาจเปลี่ยนไปเมื่อบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ Google ได้ประการเปิดตัวสุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศ     GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศ ผลงานนี้มาจากบริษัท Deepmind ที่มีเจ้าของเป็นบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google กับการพัฒนาระบบ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ รูปแบบใหม่ในชื่อ GraphCast ที่สามารถพยากรณ์สภาพอากาศได้อย่างแม่นยำเป็นระยะเวลาถึง 10 วัน โดยอาศัยระยะเวลาในการประมวลผลเพียงนาทีเดียว   รูปแบบการทำงานของระบบพยากรณ์อากาศในปัจจุบันอาศัยระบบ Numerical Weather Prediction (NWP) โดยการตรวจสอบข้อมูลสภาพอากาศทั่วโลกในช่วงเวลานั้นๆ แล้วจึงนำข้อมูลดิบไปผ่านสมการทางฟิสิกส์เฉพาะบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จึงประมวลออกมาเป็นคำตอบ   ในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์พวกเขาทำการป้อนข้อมูลอากาศย้อนหลังจำนวนมหาศาล GraphCast ได้รับการเทรนข้อมูลวิเคราะห์สภาพอากาศทั้งภาพถ่ายดาวเทียม เรดาร์ และข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศทั่วโลก ข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลากว่า…