ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI

Loading

    ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI   AI วาดรูปที่เคยเป็นที่ฮือฮามาก ๆ ในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้ง Dall-E2, Midjourney จนตอนนี้ ผ่านมาแค่ครึ่งปี แต่ AI วาดรูปก็กลายเป็นเรื่องปกติไปที่เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ใช้ บางคนก็เอาไปใช้เป็นรูปประกอบ บางคนเอารูปนั้นไปขาย บางที่ก็ฝึกให้ AI เรียนรู้สไตล์ภาพของศิลปิน แล้วสร้างภาพใหม่ในสไตล์นั้นขึ้นมา แต่ เอ๊ะ…แล้วแบบนี้ มันจะเรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือผิดกฎหมายไหม?   ซึ่งเรื่องนี้ก็มีรายงานข่าวจากต่างประเทศว่า มีศิลปิน 3 คนรวมตัวกันยื่นฟ้อง Midjourney และ Stable Diffusion เอไอวาดรูปที่เป็นที่นิยมมาก ๆ ข้อหาละเมิดสิทธิ์ของ “ศิลปินหลายล้านคน” ด้วยการเอารูปของพวกเขาไปเทรน AI แต่คดียังไม่จบนะคะ   1/ As I learned more about how the…

ระวังเสียงปลอม AI เลียนเสียงเป็นคนรู้จักหรือคนมีชื่อเสียง! คนร้ายอาจใช้หลอกโอนเงินได้

Loading

ภาพ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   ระวังเสียงปลอม AI เลียนเสียงเป็นคนรู้จักหรือคนมีชื่อเสียง เพื่อหลอกโอนเงิน เนื่องด้วยมีเทคโนโลยีที่ทำให้เปลี่ยนเสียงตัวเราเองเป็นเสียงคนอื่นหรือคนที่มีชื่อเสียง นำมาใช้ในการโทรผ่านโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเพื่อหลอกโอนเงิน ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ได้ฝากเตือนพร้อมวิธีป้องกันดังนี้   วิธีเช็ก AI SCAM CALLS ก่อนโดนหลอก –  ปลายสายเสียงเหมือนคนรู้จัก แต่ใช้เบอร์แปลกโทรมา หรืออ้างว่าเปิดเบอร์ใหม่ –  พูดเรื่องประเด็นเงิน ๆ ทอง ๆ มาก่อนเรื่องอื่น หลอกยืมเงิน –  สอบถาม ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกให้แน่ใจก่อน อาทิเช่น ทำงานที่ไหน เกิดวันอะไร เป็นต้น   แนวทางการป้องกัน โปรดสงสัยไว้ก่อนเมื่อรับสายเบอร์แปลก ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนโอนเงินและไม่เผยแพร่คลิปวีดีโอหรือเสียงสู่สาธารณะโดยไม่จำเป็น หรือแชร์ให้เฉพาะเพื่อนหรือครอบครัวอนุญาต   ลักษณะการปลอมเสียงเป็นอย่างไร สามารถชมได้ที่วิดีโอด้านล่าง   อ้างอิง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :     …

ภาครัฐเร่งพัฒนาจริยธรรม เทคโนโลยี AI หลังเอกชนตื่นตัวลงทุนมากขึ้น

Loading

  ETDA ร่วมกับ สวทช. เผยความพร้อมองค์กรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI สำหรับบริการดิจิทัล เตรียมวางหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาล   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กร เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม   การใช้ดัชนีการวัด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร 2. ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านเทคโนโลยี 5. ด้านธรรมาภิบาล   ผลที่ได้จากการประเมินตามด้านต่าง ๆ จะนำไปสู่การแบ่งความพร้อมขององค์กรได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับ Unaware = ยังไม่มีความตระหนัก/ อยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้ Aware = มีความตระหนักและเริ่มนำ…

หมดกันความเป็นส่วนตัว! เมื่ออากู๋ “Google” ขอขุดดาต้ามาสอน AI

Loading

  กำแพงความเป็นส่วนตัวถูกทำลายลงอีกครั้ง เมื่อ Search Engine ยักษ์ใหญ่อย่าง “Google” ขออนุญาต “ขุด” ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทุกอย่างที่เราเคยโพสต์ทางออนไลน์ ด้วยเหตุผลว่าจะนำไปสอน AI   การก้าวล้ำเส้นแบ่งของความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์เริ่มต้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ Google ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัว โดยระบุอย่างชัดเจนว่าบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการขุดข้อมูลทุกอย่างที่พวกเราโพสต์ทางออนไลน์เพื่อสร้างเครื่องมือ AI   โดยนโยบายใหม่ของ Google ระบุว่า “Google จะใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟีเจอร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ และสาธารณะ”     “Google” ยกตัวอย่างว่า ข้อมูลจะถูกใช้ฝึกโมเดล AI ของ Google และสร้างผลิตภัณฑ์รวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Google Translate, Bard และเพิ่มความสามารถของ Cloud AI ซึ่งเพิ่มเติมจากเดิมที่ Google เคยบอกว่าข้อมูลจะใช้สำหรับโมเดลภาษาเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้กระโดดเข้ามาสู่ตลาด “AI” เป็นที่เรียบร้อย   ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ดูจะไม่ปกตินักคือ โดยทั่วไปแล้ว…

ฟ้อง! OpenAI ใช้ข้อมูลสาธารณะฝึก ChatGPT

Loading

    กลุ่มบุคคลนิรนามบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) ฐานใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อฝึกปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) อย่างแชตจีพีที (ChatGPT)   ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ชื่อดังอย่าง แชตจีพีที (ChatGPT) ของบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) กลายเป็นดราม่าอีกครั้ง เมื่อกลุ่มบุคคลนิรนามรวมตัวกันเพื่อฟ้องร้องบริษัท โอเพ่นเอไอ ต่อศาลแขวงของสหรัฐอเมริกา เขตทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย ฐานใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อฝึกเอไอ ซึ่งละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัว     คำฟ้องของกลุ่มคนนิรนาม   โดยกลุ่มบุคคลนิรนามระบุเอกสารในการยื่นฟ้องว่าบริษัท โอเพ่นเอไอได้คัดลอกข้อความบนอินเทอร์เน็ตกว่า 3 แสนล้านคำ เพื่อฝึกเอไอ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะที่อยู่บนวิกิพีเดีย (Wikipedia) และบนเฟซบุ๊ก (Facebook)   “แม้จะมีสนธิสัญญาชั้นต้นที่กำหนดไว้สำหรับการซื้อและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แต่จำเลยกลับใช้วิธีการที่แตกต่างออกไป นั่นคือการโจรกรรม พวกเขาคัดแยกคำศัพท์ 3 แสนล้านคำจากอินเทอร์เน็ต, หนังสือ, บทความ, เว็บไซต์และโพสต์ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มาโดยไม่ได้รับความยินยอม” – ข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารยื่นฟ้องที่มีความยาวกว่า 157 หน้า   โดยกลุ่มผู้ฟ้องร้องได้อ้างถึงพระราชบัญญัติการฉ้อฉลและการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นกฎหมายต่อต้านการแฮ็กของรัฐบาลกลาง…

ข้อควรระวัง ‘ChatGPT’ ผู้เชี่ยวชาญระบุมีข้อมูลรั่ว ขายบนเว็บมืดมากที่สุด

Loading

  ข้อควรระวังใช้ ‘ChatGPT’ ผู้เชี่ยวชาญระบุพบข้อมูลรั่วไหลกว่า 1 แสนเครื่องส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลจากระบบ chatgpt ถูกโจรกรรมปล่อยขายบนเว็บมืด เอเชียแปซิฟิกข้อมูลหลุดมากที่สุด   “ChatGPT” ระบบปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง หรือ AI ที่ถูกพัฒนาขีดความสามารถให้ตอบสอนได้คล้ายกับมนุษย์มากที่สุด โดย ChatGPT ได้รับการออกแบบมาให้มีการสนทนากับมนุษย์ในลักษณะที่แยกไม่ออกจากการสนทนาระหว่างมนุษย์ ส่งผลให้ที่ผ่านมาโปรแกรมดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างมาก จนมีผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกว่าเจ้า “ChatGPT” อาจจะสามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ในบางอาชีพได้เลย   หลังจากที่มีการเปิดตัว “ChatGPT” มีผู้ใช้งานสูงกว่า 50 ล้านคน และคาดว่าจะมีผู้ใช้งานหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถทำงานได้ดีสามารถตอบได้ทุกข้อสงสัย หากเปรียบเทียบกับการทำงานของ Google นั้นเรียกได้ว่าทำงานได้ละเอียดและสามารถหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนได้มากกว่า อย่างไรก็ตาที่ผ่านมา “ChatGPT” เติบโตอย่างรวดเร็วแซงหน้าแพลตฟอร์มอื่น ๆ แน่นอนว่าการเติบโตของเทคโนโลยีที่รวดเร็วมากขึ้นย่อมส่งผลเสียได้เช่นกัน   ผู้เชี่ยวชาญระบุไว้ว่า แท้จริงแล้ว “ChatGPT” ก็มีข้อเสียที่ควรจะระวัง เพราะที่ผ่านมาความนิยมของแพลตฟอร์มดังกล่าวไปเร็วและแรงมาก เพียงแค่เวลา 2 เดือนกลับมีคนทั่วโลกใช้งานไปแล้วกว่า 50 ล้านคน ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีและดิจิทัลเติบโตไปเร็วมากๆ และแม้ว่าเทคโนโลยีจะทำให้การทำงาน หรือการทำธุรกิจเกิดความได้เปรียบ ต้องทำความเข้าใจว่า…