กลุ่ม G7 เรียกร้องให้มีมาตรฐานควบคุมความน่าเชื่อถือของ AI

Loading

    ผู้นำกลุ่มประเทศ (G7) เรียกร้องให้มีการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือของปัญญาประดิษฐ์ โดยชี้ว่ากติกาที่มีอยู่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน   เหล่าผู้นำจากแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เดินทางไปร่วมประชุมกันที่เมืองฮิโระชิมา ประเทศญี่ปุ่น   ในแถลงการณ์ร่วมของ G7 ชี้ว่ากฎเกณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลต้องสอดคล้องกับคุณค่าประชาธิปไตยที่ทุกประเทศมีร่วมกัน และชี้ว่าต้องมีการทำความเข้าใจโอกาสและความท้าทายของปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ (เช่น ChatGPT)   โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันให้มีการจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีในชื่อ Hiroshima AI Process เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ เช่น ประเด็นลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่ข่าวปลอม ภายในสิ้นปีนี้   นอกจากนี้ ผู้นำ G7 ยังเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศอย่าง องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย   เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน (Ursula von der Leyen) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปชี้ว่าต้องการให้ปัญญาประดิษฐ์มีความแม่นยำ ชื่อถือได้ ปลอดภัย…

ผู้พัฒนา ChatGPT เห็นด้วยกับวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่จะให้มีการกำกับดูแล AI

Loading

    แซม อัลต์แมน (Sam Altman) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI (ผู้พัฒนา ChatGPT) กล่าวกับสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาว่าเขาเห็นด้วยที่จะมีระบบใหม่เพื่อจัดการกับปัญญาประดิษฐ์   คำกล่าวนี้เคยขึ้นระหว่างที่อัลต์แมนเข้าให้การกับคณะอนุกรรมาธิการยุติธรรมด้านความเป็นส่วนตัวและเทคโนโลยีของวุฒิสภา ถือเป็นครั้งแรกที่เขาให้การในลักษณะนี้   เขาชี้ว่าจำเป็นต้องมีกรอบควบคุมเทคโนโลยีใหม่ทุกชนิด รวมทั้งบริษัทของเขาและภาคธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้   วุฒิสมาชิกจากทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันต่างเน้นย่ำว่าควรต้องมีมาตรการควบคุมปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำไปใช้ในเชิงลบ เห็นตรงกันว่าปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพสูงและพัฒนาเร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นมาก   ริชาร์ด บลูเมนทัล (Richard Blumenthal) ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรคเดโมแครตให้ความเห็นว่าต้องมีการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือสร้างข้อมูลเท็จ อย่างกรณีของการปลอมข่าวการยอมแพ้ของยูเครน   ที่ประชุมยอมรับความล้มเหลวในการกำกับดูแลโซเชียลมีเดีย จึงอยากจะแก้ตัวใหม่กับปัญญาประดิษฐ์ในครั้งนี้ก่อนจะสายเกินไป   ด้านจอช ฮาวลีย์ (Josh Hawley) อนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรครีพับลิกันเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงบวกได้อย่างการพัฒนาสื่อ ผ่านการส่งเสริมการกระจายข้อมูล ในทางตรงกันข้ามก็สามารถนำไปใช้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งส่งผลร้ายตามมาได้เช่นกัน   บลูเมนทัลชมว่าคำพูดอัลต์แมนฟังดูจริงใจมากกว่าผู้บริหารของบริษัทอื่น ๆ “ราวฟ้ากับเหว” สะท้อนผ่านการพูดจริงทำจริง และการแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   ขณะที่ ดิก…

‘ยุโรป’ จ่อออกกฎหมาย AI ฉบับแรกในชาติตะวันตก คุม ChatGPT

Loading

    สภายุโรปได้อนุมัติร่างกฎหมายเอไอยุโรป (European AI Act) ทำให้ขยับเข้าใกล้การออกกฎหมายสำหรับระบบ AI ฉบับแรกของตะวันตกไปอีกขั้น ขณะที่จีนร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว หวังควบคุมแชตบอท   คณะกรรมการชุดสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในสภายุโรปได้อนุมัติร่างกฎหมายเอไอยุโรป (European AI Act) ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ขยับเข้าใกล้การออกกฎหมายสำหรับระบบ AI ฉบับแรกของตะวันตกไปอีกขั้น   การอนุมัติดังกล่าวถือเป็นพัฒนาการครั้งสำคัญในการเร่งหาทางรับมือกับ AI ของภาครัฐ หลังจากที่ AI พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่จีนได้ร่างกฎระเบียบ เพื่อจัดการกับวิธีที่บริษัทต่าง ๆ จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ Generative AI เช่น แชตจีพีที (ChatGPT) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   กฎหมาย AI ยุโรปนี้พิจารณาถึงความเสี่ยงเป็นเกณฑ์สำคัญในการควบคุม AI ซึ่งการใช้เกณฑ์ทางกฎหมายนั้นขึ้นอยู่กับระดับของความเสี่ยงของ AI แต่ละระบบ   นอกจากนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวยังได้ระบุข้อกำหนดสำหรับผู้ให้บริการที่เรียกว่า “แบบจำลองพื้นฐาน” (foundation model) เช่น ChatGPT ซึ่งกลายมาเป็นข้อวิตกกังวลสำหรับกลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบ เมื่อพิจารณาถึงความก้าวหน้าของระบบดังกล่าว และเกิดความกังวลว่า…

ตำรวจจีนจับกุมชายคนหนึ่งหลังใช้ ChatGPT ปล่อยเฟกนิวส์ว่อนสังคมออนไลน์

Loading

    เจ้าหน้าที่ตำรวจของจีนควบคุมตัวชายคนหนึ่งจากข้อกล่าวหาที่ว่า เขาใช้ ChatGPT สร้างข่าวปลอมขึ้นมาเผยแพร่ในโลกออนไลน์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่จีนดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับแชตบอต AI อัจฉริยะตัวนี้   แถลงการณ์จากตำรวจในมณฑลกานซู่ระบุว่า ผู้ต้องสงสัยถูกกล่าวหาว่าใช้ ChatGPT เพื่อสร้างข่าวปลอมเกี่ยวกับเหตุรถไฟชนกัน จากนั้นเขาก็โพสต์ลงสื่อสังคมออนไลน์เพื่อหากำไรจากข่าวนี้ โดยบทความดังกล่าวมีคนคลิกเข้าไปดูถึง 15,000 ครั้ง โดยถึงแม้จีนจะแบน ChatGPT แต่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายคนในจีนก็ยังแอบใช้ VPN เพื่อเข้าไปเล่นแชตบอตตัวนี้   สำนักข่าว CNN รายงานว่า เหตุรถไฟชนกันถือเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวสูงในจีน หลังเมื่อปี 2011 จีนเคยประสบกับอุบัติเหตุรถไฟความเร็วสูงชนกันในเมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 40 คน และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน ซึ่งในเวลาดังกล่าวได้เกิดกระแสความโกรธแค้นในหมู่ประชาชนที่ต้องการคำตอบว่า เหตุใดสื่อของรัฐบาลจีนถึงไม่รายงานข่าวอัปเดตให้สังคมได้รับทราบอย่างรวดเร็ว   เจ้าหน้าที่ตำรวจมณฑลกานซู่เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ชายนามสกุลฮง (Hong) ถูกสอบสวนในเมืองตงก่วน ทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า “ฮงใช้เทคโนโลยีดังกล่าวปลอมแปลงข้อมูลเท็จและเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งข่าวดังกล่าวได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง พฤติกรรมของเขาถือว่ามีความผิดฐานยุยงปลุกปั่นและก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม”   รายงานระบุว่า การจับกุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในมณฑลกานซู่ หลังจากที่เมื่อเดือนมกราคม…

หุ่นยนต์รปภ. วิบาก ไปทุกที่ พร้อมทุกทาง

Loading

  บริษัท แอสเซนโตผลิตหุ่นยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติสุดเจ๋ง เพื่อมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับบริษัทต่าง ๆ   แอสเซนโต (Ascento) บริษัทสตาร์ตอัปด้านหุ่นยนต์จากเมืองซูริค (Zurich) เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผลิตหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยขับเคลื่อนอัตโนมัติตัวนี้ออกมา โดยบริษัทได้เปิดตัวหุ่นยนต์ตัวนี้ในปี 2021 และมีการอัปเกรดโฉมใหม่มาเรื่อย ๆ เพื่อมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับบริษัทต่าง ๆ   สำหรับหน้าตาของหุ่นยนต์แอสเซนโต เป็นหุ่นยนต์แบบสองล้อ ซึ่งส่วนที่ใช้ขับเคลื่อนจะเป็นการผสมผสานระหว่างขาและล้อที่ยืดหดได้เข้าด้วยกัน ขณะที่ส่วนสมองกลจะติดตั้งคอมพิวเตอร์, แบตเตอรี่และเซนเซอร์ รวมถึงผสานเทคโนโลยีใหม่เช่นระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ากับระบบคลาวด์เอาไว้เพื่อตรวจจับสิ่งแปลกปลอมในพื้นที่ ขณะที่ส่วนล้อสามารถเปลี่ยนเป็นทั้งล้อแบบเรียบ และล้อหนาม ทำให้สามารถเดินทางไปในพื้นที่ขรุขระ เผชิญกับการกระแทกได้ และแม้แต่ขึ้นลงบันไดก็ไม่เป็นปัญหา     บริเวณส่วนหน้าของหุ่นยนต์แอสเซนโต ยังมีกล้องตรวจจับความร้อนติดไฟ LED เพื่อตรวจจับบุคคลและยานพาหนะ ในขณะที่กล้อง 360 องศาจับภาพรอบ ๆ ตัวไปพร้อมกัน พร้อมกับไมโครโฟนและลำโพงเพื่อการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานผ่านระบบเชื่อมต่อสัญญาณ   ด้าน อเลสซานโดร โมรา (Alessandro Morra) CEO และผู้ก่อตั้งแอสเซนโตเปิดเผยว่า หุ่นยนต์ลาดตระเวนแอสเซนโต สามารถร่วมมือกับมนุษย์ ทำงานในพื้นที่กลางแจ้งขนาดใหญ่…