รัฐบาลสหรัฐฯทุ่ม 4.7 พันล้าน วิจัยและพัฒนา AI เรียก CEO บริษัทเทคคุยผลกระทบ

Loading

    เมื่อวันพฤหัสบดี (4 พฤษภาคม 2566) ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลงทุนวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ภายใต้งบประมาณ 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4,715 ล้านบาท ท่ามกลางความนิยมและตื่นตัวทั่วโลกของเทคโนโลยีใหม่นี้   รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 4.7 พันล้านวิจัยและพัฒนา AI   งบประมาณดังกล่าวจะมาจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยส่วนหนึ่งจะใช้สร้างสถาบันวิจัย AI แห่งชาติใหม่อีก 7 แห่ง ทำให้สหรัฐฯ จะมีสถาบันวิจัยด้านนี้รวมแล้ว 25 แห่งด้วยกัน ซึ่งสถาบันวิจัยเหล่านี้จะทำงานร่วมกับรัฐบาลกลาง ธุรกิจในอุตสาหกรรม และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาสภาพอากาศ การเกษตร สาธารณสุข   เตรียมออกคู่มือใช้ AI สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ   ในเร็วๆ นี้ สำนักงานการจัดการและงบประมาณของสหรัฐฯ จะออกคำแนะนำเชิงนโยบายเกี่ยวกับการใช้ AI สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลาง   นอกจากนั้นบริษัทที่กำลังพัฒนา AI…

บิดาแห่งปัญญาประดิษฐ์เตือนภัย พัฒนาการ AI น่ากลัว ชี้อีกไม่นานฉลาดเกินมนุษย์

Loading

    เจฟฟรีย์ ฮินตัน ชายผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นดั่งบิดาและเจ้าพ่อแห่งวงการปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) วัย 75 ปี ได้ลาออกจากงานพร้อมเตือนถึงอันตรายที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาเอไอ   ฮินตันซึ่งประกาศลาออกจากกูเกิลได้เผยแพร่แถลงการณ์ผ่านนิวยอร์กไทม์สว่า ขณะนี้เขารู้สึกเสียใจกับงานที่ทำ และบอกว่าอันตรายบางประการของแชทบอทที่ควบคุมโดยเอไอค่อนข้างน่ากลัว “เท่าที่ผมสามารถบอกได้ ตอนนี้พวกเขาไม่ได้ฉลาดไปกว่าเรา แต่ผมคิดว่าอีกไม่นานพวกเขาอาจจะฉลาดกว่าเราได้”   งานวิจัยบุกเบิกของฮินตันเกี่ยวกับการเรียนรู้เชิงลึกและโครงข่าวประสาทเทียมได้ปูทางไปสู่ระบบเอไอในปัจจุบัน เช่น ChatGPT ที่ฮินตันบอกว่า แชตบอตสามารถที่จะแซงหน้าระดับข้อมูลที่สมองของมนุษย์สามารถจดจำได้ในเร็วๆ นี้   “ตอนนี้สิ่งที่เราเห็นคือ GPT-4 ได้บดบังความรู้ที่คนทั่วไปคนหนึ่งมี และมันจะก้าวล้ำนำหน้าความรู้ของคนๆ หนึ่งแบบทิ้งห่าง ในแง่ของเหตุและผลมันไม่ใช่เรื่องดี แต่มันก็เป็นไปแล้ว”ฮินตันระบุ และว่า เมื่อคำนึงถึงความรวดเร็วของพัฒนาการ คาดว่าสิ่งต่างๆ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับมัน   ฮินตันยังกล่าวกับบีบีซีถึงรายละเอียดในเรื่องนี้ว่า นี่เป็นเพียงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด มันเป็นฝันร้าย ให้ลองจินตนาการดูว่า นักแสดงแย่ ๆ อย่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ตัดสินใจให้หุ่นยนต์สามารถสร้างเป้าหมายย่อยขึ้นมาเองได้ ท้ายที่สุดแล้วมันอาจสร้างเป้าหมายย่อยอย่าง ฉันจะต้องมีอำนาจมากกว่านี้   ฮินตันกล่าวด้วยว่า เขาได้ข้อสรุปว่าประเภทของความฉลาดและปัญญาที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นแตกต่างจากปัญญาที่เรามี มนุษย์เป็นระบบชีวภาพ แต่มันเป็นระบบดิจิทัล ความแตกต่างอย่างใหญ่หลวงคือด้วยระบบดิจิทัล…

ยูเครนคือสมรภูมิ ประลองอาวุธ AI

Loading

    สมรภูมิรบในยูเครนได้กลายเป็น “โชว์รูม” แห่งอาวุธที่ใช้เทคโนโลยีก้าวล้ำกว่าสงครามโลกครั้งที่สองหลายมิติ   เป็นสนามประลองที่เราได้เห็นการใช้ “โดรนกามิกาเซ่” ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าสงครามครั้งก่อนๆ   เราเห็นการใช้ AI เพื่อประเมินข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการวางยุทธศาสตร์การสู้รบ   เราเห็นเครือข่ายดาวเทียม StarLink ของ SpaceX ของอีลอน มัสก์ ที่มีดาวเทียมจิ๋วๆ จำนวนมากลอยอยู่เหนือยูเครนเพื่อให้ทหารได้ใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินแม้ในแนวรบที่ห่างไกล   การที่กองทัพยูเครนไม่ถูกทหารรัสเซียถล่มโจมตีจนต้องยกธงขาวในสองสามสัปดาห์แรกก็เพราะหน่วยงานด้านเทคโนโลยีของยูเครนโดยการสนับสนุนจากตะวันตกส่งข้อมูลสำคัญๆ บนคลาวด์เพื่อจะปกป้องข้อมูลหลักๆ ไม่ให้ถูกทำลายด้วยขีปนาวุธรัสเซียที่ถล่ม “โครงสร้างพื้นฐาน” ด้านทหารและความมั่นคงของยูเครน   กระทรวงดิจิทัลของยูเครนที่เพิ่งตั้งขึ้นก่อนสงครามเกิดประมาณสองปีปรับตัวทันทีที่ทหารรัสเซียบุก…ด้วยการใช้ Apps ที่ชื่อ Diia เพื่อเก็บข้อมูลจาก open source intelligence หรือข้อมูลข่าวกรองที่ได้จากแหล่งข่าวที่เปิดเผย   เมื่อมี apps นี้แล้วประชาชนยูเครนทั้งหลายสามารถที่จะส่งรูปและคลิปวิดีโอขึ้นไปเพื่อรายงานที่ตั้งของฝ่ายศัตรูให้หน่วยงานทางการได้รับรู้   เหมือนประชาชนเป็นสายข่าวทหารให้กับทั้งกองทัพผ่านมือถือของตน   พอรัสเซียส่งโดรนที่ทำจากอิหร่านมาโจมตีเป้าหมายในสนามรบ ยูเครนก็โต้ตอบด้วยการส่งโดรนของตนที่ออกแบบมาเพื่อการสกัดโครนคู่ต่อสู้โดยเฉพาะ   และทหารยูเครนก็ได้รับการฝึกฝนให้ใช้อาวุธจากตะวันตกที่ตนไม่คุ้นเคยมาก่อน   เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการแข่งขันใช้นวัตกรรมแบบ “แมวกับหนู” ระหว่างรัสเซียกับยูเครนในสนามรบ   เมื่อยูเครนตัวเล็กกว่า…

ทริคใหม่ ติด AI ให้กล้องจับความร้อน หารหัสผ่านจากคีย์บอร์ดได้

Loading

  อีกหนึ่งวิธีแฮ็กรหัสผ่าน ก็คือการเช็คร่องรอยจากอุปกรณ์โดยตรง ซึ่งผู้ใช้มักจะเหลือไว้โดยไม่รู้ตัว จนเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีแอบสังเกตเห็นได้ และนำไปสู่การแฮ็กรหัสผ่านได้ในที่สุด   นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกลว์ (Glasglow) เผยวิธีการเดารหัสผ่านจากแป้นคียบอร์ดและหน้าจอสมาร์ทโฟน ด้วยการใช้กล้องตรวจจับความร้อน มาค้นหาร่องรอยการกดรหัสผ่านได้   ส่วนนี้คนร้ายสามารถจ้องเล่นงานเหยื่อ ที่ใช้คอมฯ ในที่สาธารณะ หรืออาจขโมยสมาร์ทโฟนมา จากนั้นก็ใช้กล้องตรวจจับความร้อน หาตำแหน่งรอยนิ้วมือที่มีการกดรหัสผ่าน และใช้ระบบ AI ที่ชื่อ ThermoScure มาช่วยคาดเดาอีกที จนได้รหัสผ่านที่ถูกต้องในที่สุด   มีรายงานด้วยว่า ThermoScure สามารถคาดเดารหัสผ่านได้ถูกต้องอย่างน้อย 62 – 93% และยังใช้เวลาวิเคราะห์ได้เร็วสุดภายใน 20 วินาทีด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความยาวของรหัสผ่าน โดยยิ่งมีความยาวมาก ก็ยิ่งใช้เวลา   ส่วนคียบอร์ดหากใช้ Keycab หรือปุ่มกดแบบทำจากพลาสติก PBT ก็จะลดอัตราความสำเร็จลงเหลือ 14% ในขณะที่พลาสติกแบบ ABS จะมีอัตราความสำเร็จ 50%   สุดท้ายนี้ตัวระบบ AI ดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือทดสอบสำหรับการวิจัยนี้เท่านั้น ยังไม่ได้หลุดไปยังกลุ่มแฮ็กเกอร์…

เมื่อ AI โคลน ‘เสียงมนุษย์’ เกือบ 100% นักพากย์เสี่ยงตกงาน-มิจฉาชีพใช้เรียกค่าไถ่

Loading

    เมื่อ AI สามารถเลียนแบบตัวตนของมนุษย์ อย่าง “เสียงพูด” ได้สำเร็จ ในระดับที่มนุษย์ไม่สามารถแยกแยะได้ สิ่งนี้จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อมนุษย์มากน้อยเพียงใด และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง   Key Points   -บริษัทจ้างมนุษย์พากย์เสียง 30 วินาที ราคา 2,000 ดอลลาร์หรือราว 70,000 บาท ในขณะที่เสียงพากย์จาก AI ราคาเพียงแค่ 27 ดอลลาร์หรือราว 1,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น   -นักพากย์เสียงหลายคนเซ็นสัญญาให้บริษัทลูกค้าสามารถใช้เสียงตัวเองได้ไม่จำกัด รวมถึงขายให้ฝ่ายที่สาม ซึ่งอาจใช้เสียงของมนุษย์ในการฝึก AI   -หากเสียงคนในครอบครัวทางโทรศัพท์ ขอให้เราโอนเงินผ่านช่องทางที่ไม่ใช่ธนาคาร ไม่สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ ก็ขอให้ระวังว่า อาจเป็นมิจฉาชีพ   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ในปัจจุบันกำลังเป็นดาบสองคม ด้านหนึ่งช่วยแบ่งเบาภาระมนุษย์ ประมวลข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็กำลังกลายเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ เมื่อ AI เข้าสู่จุดที่เรียกว่า “เลียนแบบเสียงพูดมนุษย์”…

ตำรวจยุโรปเตือน! มิจฉาชีพอาจเริ่มใช้ AI หลอกเอาเงิน สมจริงยิ่งกว่าเดิม

Loading

  มิติใหม่ภัยโลกไซเบอร์ ตำรวจยุโรปเตือน มิจฉาชีพอาจเริ่มใช้ AI เขียนข้อความ หลอกเอาเงิน แบบสมจริงกว่าที่เป็นมาแล้ว   เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยมีประสบการณ์ได้รับข้อความหรือเมลจากมิจฉาชีพ เพียงแต่รอดจากการถูกหลอกมาได้ เพราะรู้ทันคนพวกนั้น จากลักษณะการใช้คำหรือความไม่สมเหตุสมผลของข้อความสักครั้งสองครั้ง   ดังนั้น นี่จึงอาจจะเป็นข่าวที่น่ากังวลพอสมควรเลย เพราะเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจสากลยุโรป (Europol) ก็เพิ่งจะออกมาประกาศเตือนประชาชนเลยว่า มันกำลังมีความเป็นไปได้สูงเลยที่มิจฉาชีพจะเริ่มนำ AI อย่าง ChatGPT มาช่วยในการต้มตุ๋น     นั่นหมายความว่า อีกหน่อยเราอาจจะยิ่งตรวจจับข้อความหรืออีเมลหลอกลวงได้ยากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถพึ่งพาการใช้คำผิด หรือข้อความที่ดูไม่เป็นธรรมชาติอีกต่อไป “ความสามารถในการร่างข้อความที่เหมือนจริงสูงของ ChatGPT ทำให้มันถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่จะนำไปใช้โดยมิจฉาชีพเลย” ChatGPT ระบุ   และแม้ว่าในปัจจุบันภาษาที่ AI เชี่ยวชาญมากพอที่จะเป็นปัญหาเช่นนี้ได้ จะยังมีแค่ภาษาอังกฤษ จนทำให้ประเทศที่เสี่ยงส่วนใหญ่จะอยู่แค่ในฝั่งตะวันตกอยู่ก็ตาม แต่หากดูจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ AI หลายๆ ตัว มันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าอีกไม่นานเราก็อาจจะได้เห็นข้อความหรืออีเมลต้มตุ๋นในภาษาอื่นๆ รวมถึงภาษาไทย ถูกเขียนขึ้นโดย AI ภาษาระดับสูงเลยก็เป็นได้     เรื่องของ…