Google Maps ใช้โมเดล AI ตรวจจับข้อมูลปลอม, บล็อกรีวิวปลอมได้ 115 ล้านรีวิว

Loading

  กูเกิลเผยสถิติการต่อสู้กับ “ข้อมูลปลอม” ใน Google Maps ที่เปิดให้ผู้ใช้คนไหนก็ได้สามารถอัปเดตข้อมูลสถานที่และแผนที่ได้   เทคนิคของกูเกิลต่างจาก OpenStreetMap ที่ใช้แรงคนคอยตรวจสอบ โดยใช้โมเดล machine learning เข้ามาช่วยตรวจจับด้วย ล่าสุดกูเกิลยังอัปเดตโมเดล AI ตัวใหม่ให้ตรวจจับข้อมูลปลอมเหล่านี้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม   แพทเทิร์นใหม่ที่กูเกิลพบคือการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจปลอมโดยใช้โดเมน .design หรือ .top และการอัปโหลดรูปที่มีเบอร์โทรปลอม ๆ ลงในรูป เพื่อล่อให้คนที่ค้นหาธุรกิจโทรไปยังเบอร์ปลอมเหล่านี้แทนเบอร์จริง ซึ่งโมเดลตัวใหม่ของกูเกิลตรวจจับได้   สถิติการตรวจจับของปี 2022 มีดังนี้ •  บล็อกรีวิวที่ผิดเงื่อนไขการใช้งานได้ 115 ล้านรีวิว รีวิวจำนวนมากถูกดักจับได้ก่อนโผล่เข้าในระบบ และโมเดล AI ใหม่สามารถตรวจจับรีวิวปลอมได้เพิ่มขึ้น 20% เทียบกับปี 2021 •  บล็อกหรือลบรูปภาพที่คุณภาพต่ำ เบลอ หรือผิดเงื่อนไขการใช้งาน จำนวน 200 ล้านรูป และวิดีโอ 7 ล้านคลิป •  บล็อกการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจปลอม…

ชี้อนาคตประเทศไทย กับมาตรฐาน AI ปี 66 ที่จะเปลี่ยนชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น

Loading

  ในวันที่ใคร ๆ ก็พูดถึง AI ว่าเริ่มทำอะไรได้หลายอย่าง แล้วจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้การส่งเสริม ดูแล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบกับมนุษย์   ก่อนที่จะไปพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ เราลองมาทบทวนกันสั้น ๆ ว่า มาตรฐานเกี่ยวข้องอะไรกับเรา ๆ ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดมากคือเวลาเราเดินทางไปต่างประเทศ แล้วเรามีมือถือ มีกล้อง มีคอมพิวเตอร์ มี electronic gadget สารพัดอย่างที่ต้องการชาร์จไฟ ดังนั้น สิ่งที่เราพกติดตัวยามเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองเสมอก็คือ universal adapter ที่จะช่วยให้เราสามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับเหล่าอุปกรณ์​ gadget ของเราได้ ถ้าเราสังเกตกันดี ๆ เราจะพบว่าแต่ละประเทศ หรือทวีป ก็มีรูปแบบของมาตรฐานปลั๊กไฟที่แตกต่างกัน     ตัวอย่างของมาตรฐานปลั๊กไฟฟ้าของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน   โดยแต่ละประเทศก็จะมีหน่วยงานในการกำหนด เลือกใช้ หรือพัฒนามาตรฐานที่ระบุรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศของตนเองอยู่ หน่วยงานเหล่านี้นี่เองที่ทำหน้าที่ประกาศว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะผลิตและจัดจำหน่ายในประเทศนั้น ๆ ได้ จะต้องมีคุณลักษณะ คุณภาพในเชิงเทคนิคเป็นอะไร อย่างไร…

Microsoft เปิดตัว Security Copilot ใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยวิเคราะห์การถูกโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  ไมโครซอฟท์ เดินหน้าใช้เทคโนโลยีจากปัญญาประดิษฐ์เต็มสูบ เปิดตัวเครื่องมือใหม่ Security Copilot ใช้เอไอ ช่วยวิเคราะห์การถูกโจมตีทางไซเบอร์   ไมโครซอฟท์ เปิดเผยผ่านเว็บบล็อกอย่างเป็นทางการในหัวข้อที่มีชื่อว่า Introducing Microsoft Security Copilot: Empowering defenders at the speed of AI โดยเป็นการอธิบายของไมโครซอฟท์ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานในแง่ของการวิเคราะห์ข้อมูลในกรณีที่เกิดการโจมตีทางไซเบอร์   ความน่าสนใจของเครื่องมือ Security Copilot อยู่ตรงที่ ไมโครซอฟท์ ได้รวมเอา GPT-4 เข้ามาผนวกด้วย แต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดว่า โมเดลนี้ฝึกและพัฒนาอย่างไร   อย่างไรก็ดี ไมโครซอฟท์ ยืนยันว่า การพัฒนา Security Copilot ไม่ได้ถูกฝึกฝนหรือเรียนรู้จากการใช้ข้อมูลของลูกค้า   ชาร์ลี เบลล์ รองประธานบริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยของไมโครซอฟท์ เปิดเผยว่า การพัฒนาในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ก้าวหน้านั้น ต้องการทั้งเรื่องของคนและเทคโนโลยี การจับคู่ระหว่างความเฉลียวฉลาดของมนุษย์กับเครื่องมือขั้นสูง และ Security Copilot จะเป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่ช่วยให้ทุกคนได้อยู่ในโลกที่ปลอดภัยขึ้น…

Elon Musk, Steve Wozniak และผู้นำเทคโนโลยี ลงนามขอให้หยุดฝึก AI ที่ทรงพลังกว่า GPT-4 เป็นเวลา 6 เดือน

Loading

  ผู้มีบทบาทด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) , อีลอน มัสก์ (Elon Musk) , Steve Wozniak (สตีฟ วอซเนียก) และผู้นำเทคโนโลยีหลายร้อยคน ร่วมกันลงนามเกี่ยวกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ริเริ่มโดยสถาบันฟิวเจอร์ ออฟ ไลฟ์ (Future of Life Institute) เพื่อขอให้ห้องปฏิบัติการเอไอหยุดฝึกระบบเอไอที่ทรงพลังกว่า จีพีทีโฟร์ (GPT-4) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน   โดยในจดหมายผนึกกล่าวไว้ว่า ระบบ AI ที่มีความฉลาดแข่งขันกับมนุษย์สามารถก่อให้เกิดภัยร้ายแรงต่อสังคมและมนุษยชาติ AI ขั้นสูงสามารถเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ เพราะเหตุนี้จึงควรได้รับการวางแผนและจัดการที่เหมาะสม   โดยการหยุดฝึก 6 เดือนนี้ เป็นการหยุดเพื่อพัฒนาและกำหนดกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ให้ AI มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และการหยุดชั่วคราวนี้ควรเปิดเผยต่อสาธารณะและสามารถตรวจสอบได้ หากไม่สามารถประกาศใช้การหยุดชั่วคราวดังกล่าว รัฐบาลควรเข้ามาดำเนินการและควบคุมเรื่องนี้เช่นกัน   ดูจดหมายเปิดผนึกฉบับเต็มได้ที่ https://futureoflife.org/open-letter/pause-giant-ai-experiments/   ผู้ร่วมลงนามส่วนหนึ่งในจดหมายฉบับนี้   ยูวัล โนอาห์…

ฝรั่งเศสวางแผนเป็นประเทศแรกใช้ AI กับระบบกล้องวงจรปิดในโอลิมปิก 2024 ที่ปารีส!

Loading

    ณ ตอนนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์การใช้เทคโนโลยี AI กำลังมาแรงอย่างมาก โดยล่าสุดฝรั่งเศสเองก็มีแผนจะใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับระบบกล้องวงจรปิดในงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2024 ที่จะจัดขึ้นที่ปารีส   อ้างอิงจาก The Register พบว่าล่าสุดฝรั่งเศสได้ปรับใช้มาตรา 7 ของกฎหมายสำหรับกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2024 เพื่ออนุญาตให้ใช้การวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับวิดีโอจากกล้องวงจรปิดและกล้องโดรน   ตัวระบบจะใช้ในการตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติในที่สาธารณะ เช่น พฤติกรรมที่ผิดแผกไป เหตุการณ์ที่เหมือนมีการวางแผนเอาไว้ หรือเหตุการณ์ที่จำนวนคนล้น เป็นต้น ซึ่งหากแผนการนี้ได้รับการอนุมัติก็จะทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าว   อย่างไรก็ตามก็มีผู้ไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้เช่นกัน โดยมีองค์กรภาคประชาสังคม 38 องค์กรที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวและได้ส่งจดหมายเปิดผนึก มีเนื้อหาว่า มาตรการสอดแนมนั้นละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และยังเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างไม่อาจยอมรับได้ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในความเป็นส่วนตัว, อิสระในการรวมกลุ่ม และสิทธิในการไม่เลือกปฏิบัติ   “หากจุดประสงค์ของอัลกอริทึม AI ของกล้องทำเพื่อตรวจจับเหตุการณ์น่าสงสัยในพื้นที่สาธารณะ พวกเขาก็จำเป็นที่จะบันทึกภาพและวิเคราะห์ลักษณะทางสรีรวิทยาและพฤติกรรมของบุคคลในพื้นที่เหล่านี้ เช่น ตำแหน่งร่างกาย, ท่าเดิน, การเคลื่อนไหว หรือรูปลักษณ์ภายใน” เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกระบุ       อ้างอิง Techspot  …

เตือน!! แฮ็กเกอร์ใช้ AI สร้างวิดีโอน่าเชื่อถือ หลอกล่อเหยื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พ่วงมัลแวร์

Loading

  แฮ็กเกอร์ใช้วิธีการใหม่ในการหลอกล่อเหยื่อ ด้วยการใช้ AI สร้างวิดีโอเพิ่มความน่าเชื่อถือ   ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างคอนเทนต์ให้เราได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบทความ, การสร้างภาพงานศิลป์ กระทั่งการสร้างวิดีโอให้ดูสมจริง ทว่า นี่กลับกลายเป็นช่องทางให้แฮ็กเกอร์สามารถหลอกลวงเหยื่อได้แนบเนียนขึ้นกว่าเดิม!!   การโจมตีบนยูทูบเพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน   CloudSEK บริษัทด้าน AI คาดการณ์ว่า ในแต่ละเดือนจะพบการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ (YouTube) เพิ่มขึ้น 200-300% ซึ่งการโจมตีจะอยู่ในรูปแบบการฝังโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ลงในลิงก์ที่มากับวิดีโอ โดยมัลแวร์เหล่านี้จะมีความสามารถในการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเหยื่อได้ เช่น ไวดาร์ (Vidar), เรดไลน์ (RedLine) และแรคคูน (Raccoon)     หลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลด “มัลแวร์”   สำหรับวิธีการที่แฮ็กเกอร์ใช้หลอกล่อเหยื่อ ให้เข้ามาดาวน์โหลดมัลแวร์จากลิงก์ที่อยู่ในส่วนขยายความ (Description) ของยูทูบ คือ การสร้างวิดีโอที่น่าเชื่อถือโดยมีผู้บรรยายประกอบ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะอาศัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสร้างวิดีโอเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ แพลตฟอร์มซินธิเซีย (Synthesia) และ ดี-ไอดี…