ฝรั่งเศสวางแผนเป็นประเทศแรกใช้ AI กับระบบกล้องวงจรปิดในโอลิมปิก 2024 ที่ปารีส!

Loading

    ณ ตอนนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์การใช้เทคโนโลยี AI กำลังมาแรงอย่างมาก โดยล่าสุดฝรั่งเศสเองก็มีแผนจะใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับระบบกล้องวงจรปิดในงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2024 ที่จะจัดขึ้นที่ปารีส   อ้างอิงจาก The Register พบว่าล่าสุดฝรั่งเศสได้ปรับใช้มาตรา 7 ของกฎหมายสำหรับกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2024 เพื่ออนุญาตให้ใช้การวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับวิดีโอจากกล้องวงจรปิดและกล้องโดรน   ตัวระบบจะใช้ในการตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติในที่สาธารณะ เช่น พฤติกรรมที่ผิดแผกไป เหตุการณ์ที่เหมือนมีการวางแผนเอาไว้ หรือเหตุการณ์ที่จำนวนคนล้น เป็นต้น ซึ่งหากแผนการนี้ได้รับการอนุมัติก็จะทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าว   อย่างไรก็ตามก็มีผู้ไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้เช่นกัน โดยมีองค์กรภาคประชาสังคม 38 องค์กรที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวและได้ส่งจดหมายเปิดผนึก มีเนื้อหาว่า มาตรการสอดแนมนั้นละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และยังเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างไม่อาจยอมรับได้ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในความเป็นส่วนตัว, อิสระในการรวมกลุ่ม และสิทธิในการไม่เลือกปฏิบัติ   “หากจุดประสงค์ของอัลกอริทึม AI ของกล้องทำเพื่อตรวจจับเหตุการณ์น่าสงสัยในพื้นที่สาธารณะ พวกเขาก็จำเป็นที่จะบันทึกภาพและวิเคราะห์ลักษณะทางสรีรวิทยาและพฤติกรรมของบุคคลในพื้นที่เหล่านี้ เช่น ตำแหน่งร่างกาย, ท่าเดิน, การเคลื่อนไหว หรือรูปลักษณ์ภายใน” เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกระบุ       อ้างอิง Techspot  …

เตือน!! แฮ็กเกอร์ใช้ AI สร้างวิดีโอน่าเชื่อถือ หลอกล่อเหยื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พ่วงมัลแวร์

Loading

  แฮ็กเกอร์ใช้วิธีการใหม่ในการหลอกล่อเหยื่อ ด้วยการใช้ AI สร้างวิดีโอเพิ่มความน่าเชื่อถือ   ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างคอนเทนต์ให้เราได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบทความ, การสร้างภาพงานศิลป์ กระทั่งการสร้างวิดีโอให้ดูสมจริง ทว่า นี่กลับกลายเป็นช่องทางให้แฮ็กเกอร์สามารถหลอกลวงเหยื่อได้แนบเนียนขึ้นกว่าเดิม!!   การโจมตีบนยูทูบเพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน   CloudSEK บริษัทด้าน AI คาดการณ์ว่า ในแต่ละเดือนจะพบการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ (YouTube) เพิ่มขึ้น 200-300% ซึ่งการโจมตีจะอยู่ในรูปแบบการฝังโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ลงในลิงก์ที่มากับวิดีโอ โดยมัลแวร์เหล่านี้จะมีความสามารถในการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเหยื่อได้ เช่น ไวดาร์ (Vidar), เรดไลน์ (RedLine) และแรคคูน (Raccoon)     หลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลด “มัลแวร์”   สำหรับวิธีการที่แฮ็กเกอร์ใช้หลอกล่อเหยื่อ ให้เข้ามาดาวน์โหลดมัลแวร์จากลิงก์ที่อยู่ในส่วนขยายความ (Description) ของยูทูบ คือ การสร้างวิดีโอที่น่าเชื่อถือโดยมีผู้บรรยายประกอบ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะอาศัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสร้างวิดีโอเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ แพลตฟอร์มซินธิเซีย (Synthesia) และ ดี-ไอดี…

ChatGPT:กฎหมาย AI และอนาคต (จบ)

Loading

  ความเดิมจากตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึง ChatGPT ในมุมที่อาจมีผลกระทบต่องานในปัจจุบัน โดยเน้นวิเคราะห์ในสายงานกฎหมาย ฉบับนี้จะวิเคราะห์ถึงข้อสังเกตทางกฎหมายในการใช้งาน ChatGPT และ AI   1.กฎหมายว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ ประเด็นแรก ธรรมาภิบาลและการประเมินความเสี่ยงจากการใช้ AI เพื่อรองรับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ จึงควรมีการกำหนดมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ และการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม อันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม   ในกรณีของ ChatGPT การใช้ AI จะอยู่ในรูปแบบของแชตบอตที่สื่อสารตอบโต้และให้ข้อมูลกับผู้ใช้งาน ดังนั้น การใช้งานในลักษณะดังกล่าวอาจมากับปัญหา AI bias and discrimination ซึ่งเป็นความเสี่ยงในเรื่องข้อจำกัดและคุณภาพของข้อมูล ความน่าเชื่อถือและการให้ข้อมูลที่เป็นกลาง   เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ควรมีแนวทางในการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมในระดับองค์กร และมีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่ควบคุมการใช้งานอย่างเหมาะสม เช่น ในสหรัฐกำหนด AI Risk Management framework (จัดทำโดย NIST)   และในสหภาพยุโรปยกร่าง AI Act ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดแนวทางการจัดการ การประเมินความเสี่ยง และการตรวจสอบการงาน AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ AI…

บริษัทญี่ปุ่นกังวลพนักงานใช้ ChatGPT ห่วงข้อมูลรั่ว เตรียมออกกฎป้องกัน

Loading

    บริษัทญี่ปุ่นนำโดย SoftBank Hitachi ได้เริ่มตั้งกฎจำกัดการใช้งานเทคโนโลยี AI ที่สามารถโต้ตอบได้อย่างเช่น ChatGPT ในการดำเนินธุรกิจ ห่วงข้อมูลรั่วไหล สั่งห้ามพนักงานป้อนข้อมูลสำคัญ   ความนิยมของ ChatGPT ความน่าทึ่งในศักยภาพของมัน และมูลค่าทางธุรกิจในอนาคต ทำให้หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีเริ่มนำ AI เข้ามาใช้ช่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นการตอบข้อความ ร่างอีเมล สรุปประชุม และถามตอบข้อสงสัย อย่างไรก็ตามการใช้งานเทคโนโลยีนี้ยังคงทิ้งข้อกังวลไว้ให้ธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องข้อมูล ซึ่งล่าสุดบริษัทในญี่ปุ่นเริ่มขยับตัวออกมาตรการควบคุมป้องกัน   บริษัทญี่ปุ่นจำกัดการใช้งาน ChatGPT ห่วงข้อมูลรั่ว   เมื่อเดือนที่แล้ว SoftBank ได้เตือนพนักงานเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT และแอปพลิเคชันทางธุรกิจอื่น ๆ โดยห้ามพนักงานป้อนข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลใด ๆ ที่จะระบุถึงบริษัท และหลังจากนี้บริษัทจะสร้างกฎระเบียบขึ้นมาระบุว่าภาคส่วนใดบ้างในองค์กรที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้ รวมถึงระบุประเภทแอปพลิเคชันที่อนุญาตให้ใช้   ด้าน Hitachi พิจารณากำหนดกฎจริยธรรมใหม่สำหรับการใช้งาน AI แบบโต้ตอบ เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยีของ Fujitsu ก็ได้เตือนพนักงานเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT และบริการ AI…

ระวัง! กลลวงใหม่ ‘คนร้าย’ ใช้ AI ปลอมเสียง หลอกโอนเงิน

Loading

    เตือนภัย มิจฉาชีพคิดกลโกงใหม่ ใช้ AI ปลอมเสียงเป็นคนคุ้นเคยหลอกยืมเงิน ระวังสกิลการโกงใหม่ ก่อนไหวตัวไม่ทัน     ในปัจจุบัน มีมิจฉาชีพเกิดขึ้นอยู่หลายรูปแบบ และหากพูดถึงมิจฉาชีพยอดฮิตที่หลาย ๆ คนต้องตกเป็นเหยื่ออยู่บ่อยครั้งนั้น คือ “แก็งคอลเซ็นเตอร์”   ต้องบอกเลยว่า มิจฉาชีพในปัจจุบันนั้น มีการพัฒนาทั้งเรื่องของการพูดคุยและสกิลการโกง ที่ทำเอาผู้เสียหายต้องเสียทรัพย์มหาศาลไปหลายคนแล้ว     ล่าสุดมีเครื่องมือ AI ที่ถูกพัฒนาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้หลากหลาย แต่ด้วยความสามารถที่มากล้น ก็ย่อมมีความกังวลว่าจะถูกนำไปใช้งานในทางผิดได้ แน่นอนว่าล่าสุดพบนักหลอกลวงออนไลน์ นำ AI มาปลอมแปลงเสียง เพื่อหลอกเหยื่อให้โอนเงินช่วยเหลือ   โดยเกิดขึ้นกับสามีภรรยาชาวแคนาดาวัย 70 ปีคู่หนึ่ง รับโทรศัพท์ที่คิดว่าเป็นหลายชายโทรมา โดยในสายเผยว่าตนเองกำลังติดคุก และต้องการเงินประกันตัวด่วน ด้วยความร้อนรน สามีภรรยาคู่นี้จึงถอนเงินถึง 3,000 ดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 1 แสนบาทมารอไว้ แต่เคราะห์ดีที่ยังไม่ทันได้โอน     หลังกำลังจะถอนเงินจำนวนเดียวกันนี้ออกจากอีกธนาคารหนึ่ง ก็ได้ผู้จัดการของธนาคารเตือนก่อนว่า พวกเขากำลังถูกหลอกลวง…

หลุดแผนสหรัฐฯ ทำ IO ด้วย Deepfake หวังใช้เกลือจิ้มเกลือ

Loading

    สำนักข่าวดิอินเตอร์เซปต์ (The Intercept) รายงานข่าวอ้างว่ากลาโหมสหรัฐฯ มีแผนใช้ Deepfake หรือหน้าปลอมจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ   IO หรือ Information Operation เป็นปฏิบัติการทางความมั่นคงเพื่อใช้ต่อต้านข่าวกรองหรือต่อต้านการปล่อยข่าวด้วยข้อมูลจากภาครัฐที่ในปัจจุบันมักใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง (Internet Propaganda) อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวปลอมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Command: SOCOM) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาจึงมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีดีปเฟค (Deepfake) หรือการสร้างใบหน้าปลอมด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาแก้ปัญหานี้   ในเอกสารที่อ้างว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสำนักโซคอม (SOCOM) จากสำนักข่าวดิอินเตอร์เซปต์ (The Intercept) นั้นระบุว่า มีความพยายามในการเตรียมเทคโนโลยีดีปเฟคยุคใหม่ (Next-generation Deepfake) สำหรับการสร้างวิดีโอขึ้นมาเพื่อส่งข้อมูลและชักนำทางความคิดผ่านช่องทางสื่อสารนอกกระแส (Non-traditional Channel) โดยเล็งเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติซึ่งอาจอพยพเข้ามาหรือมีเชื้อชาติอื่นที่เป็นศัตรูกับสหรัฐอเมริกา   นอกจากนี้ยังมีแผนการรวบรวมข้อมูลบนโซเชียลมีเดียและการพูดคุยบนอินเทอร์เน็ตบนพื้นที่สาธารณะด้วยเครื่องมือที่ทรงพลังด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนแม่งานเพื่อการโต้ตอบข่าวลวงและข่าวปลอมจากต่างประเทศ   อย่างไรก็ตาม คริส เมเซอโรล (Chris Meserole) หัวหน้าสถาบันบรู๊คกิงส์เพื่อปัญญาประดิษฐ์และการริเริ่มเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Brookings Institution’s Artificial Intelligence and Emerging Technology Initiative…