หอการค้าสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีมาตรการควบคุม AI

Loading

  หอการค้าสหรัฐอเมริกา (USCC) เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือกลายเป็นภัยความมั่นคง   USCC ชี้ว่านักกำหนดนโยบายและผู้นำด้านธุรกิจจะต้องเร่งกำหนดแนวทางกำกับดูแลด้านความเสี่ยง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกใช้อย่างมีความรับผิดชอบ   ทาง USCC ยังประเมินว่าปัญญาประดิษฐ์จะเพิ่มมูลค่าการเติบทางเศรษฐกิจโลกสูงถึง 13 ล้านล้านเหรียญ (ราว 455 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 และเห็นด้วยว่าที่ผ่านมาเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยเสริมศักยภาพทางการแพทย์และการป้องกันไฟป่าของรัฐ   โดยมีการประเมินว่า หน่วยงานรัฐบาลและองค์กรธุรกิจเกือบทุกแห่งจะนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ภายใน 20 ปีต่อจากนี้   ในทางกลับกัน ก็จำเป็นต้องมีความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ในอนาคตด้วย ซึ่งก็ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและเหมาะสม มาตรการที่จะออกมาต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอ     ที่มา Reuters         ————————————————————————————————————————- ที่มา :                   แบไต๋           …

อีกก้าวของมิจฉาชีพ! พบเหยื่อถูกนักต้มตุ๋น ใช้ AI เลียนเสียงญาติหลอกขโมยเงิน!

Loading

  หนึ่งในความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ใช้เลียนเสียงผู้คนก็คือการที่ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในทางที่ผิด ลอกเลียนเสียงคนเพื่อหลอกเอาเงินจากเหยื่อ ซึ่งล่าสุด Washington Post รายงานว่า มีเคสเหยื่อที่ถูกหลอกเกิดขึ้นแล้ว!   คู่รักชาวแคนาดาวัย 70 ปี ได้รับโทรศัพท์จากผู้พูดที่มีเสียงคล้ายหลานของตนเองที่อ้างว่า เขาติดคุกและต้องการเงินประกันตัว ทำให้ทั้ง 2 ตัดสินใจถอนเงินจำนวน 3,000 ดอลลาร์แคนาดา (ราว 76,000 บาท) จากธนาคาร และกำลังจะถอนเงินจำนวนเดียวกันจากอีกธนาคาร ก่อนที่ผู้จัดการธนาคารจะบอกกับคู่รักคู่นี้ว่าเขาถูกมิจฉาชีพหลอกแล้ว!   สาเหตุที่ผู้จัดการธนาคารคนนี้รู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพเพราะมีลูกค้าของเขาที่โดนหลอกลวงด้วยวิธีเดียวกันมาก่อนนั่นเอง   ลูกค้าที่โชคไม่ดีคนนั้นได้รับโทรศัพท์จากทนายแจ้งว่า ลูกชายของเขาทำให้นักการฑูตสหรัฐฯ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และในตอนนี้ลูกชายคนนั้นก็กำลังติดคุกและต้องการเงินค่าดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งในภายหลังผู้เสียหายระบุว่า เสียงจากโทรศัพท์นั้นเหมือนกับลูกชายของเขามากจนเขาหลงเชื่อกลโกงดังกล่าวจนทำให้เขาโอนเงินจำนวน 15,449 เหรียญ (ราว 391,000 บาท) ในรูปแบบของบิตคอยน์ และเขาก็ไม่สามารถตามเงินนั้นกลับมาได้   ตัวอย่างของเทคโนโลยี AI เลียนเสียงนั้นได้แก่ Microsoft Vall-E ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์จำลองเสียงของคนได้จากตัวอย่างเสียงความยาวเพียงแค่ 3 วินาที อีกทั้งยังสามารถปรับโทนเสียงได้อีกด้วย โดยหากใครที่สงสัยว่า Vall-E…

ChatGPT : กฎหมาย AI และอนาคต (ภาคแรก)

Loading

  นับจากการเปิดตัวของ ChatGPT ในปลายปี 2565 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์ ผู้เขียนจึงหยิบยกมาอธิบายและวิเคราะห์ในมุมมองของผู้เขียน แต่ด้วยเนื้อหาที่มีค่อนข้างมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอน   ChatGPT คืออะไร?   หากเราลองคีย์ถาม ChatGPT ให้อธิบายคุณลักษณะของตัวเอง ก็จะได้คำตอบทำนองว่า ChatGPT คือ Chatbot ที่ใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของบริษัท OpenAI ที่ใช้วิธีการประมวลผลภาษาธรรมชาติในการทำงาน   ดังนั้น ChatGPT คือ การทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาของมนุษย์ จนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างข้อความอย่างที่มนุษย์ใช้สื่อสารได้   หากได้ลองใช้งาน จะทราบว่า ChatGPT ไม่ใช่แชตบอตธรรมดาที่ตอบคำถามแบบบอตอื่นๆ ที่เราเคยใช้งานมา แต่คำตอบที่ได้มานั้นผ่านการวิเคราะห์ รวบรวม และประมวลผลออกมาเป็นภาษาธรรมชาติคล้ายกับภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน     ChatGPT กับ การแทนที่งานในปัจจุบัน   ความกังวลในการแทนที่งานปัจจุบันของ ChatGPT เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมาโดยตลอด ซึ่งหากวิเคราะห์จากความสามารถของ ChatGPT ก็พบว่าสามารถประยุกต์ใช้ในงานที่ต้องการการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้   ดังนั้น ผู้เขียนขอจัดแบ่งกลุ่มงานที่อาจได้รับผลกระทบจาก ChatGPT…

เพราะอะไรถามคำถาม AI แล้วได้คำตอบผิด ๆ ในบางครั้ง

Loading

    จากการเปิดตัวเสิร์ชเอนจิน Bing เวอร์ชันใหม่ล่าสุดของ Microsoft ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สิ่งที่มีความแตกต่างจากเสิร์ชเอนจินเจ้าอื่น ๆ ในตลาด คือ มีระบบแชตบอตที่สามารถให้คำตอบที่บรรยายเป็นคำพูดพร้อมกับความชัดเจน และกระชับเข้าใจได้อย่างง่ายยิ่งขึ้น   แต่หลังจากเปิดให้ใช้งานแชทบอทผู้ใช้ก็ได้สังเกตเห็นบางสิ่งบางอย่างที่แชทบอทยังให้คำตอบที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้   เพื่อทำความเข้าใจทั้งหมดว่ามันเกิดอะไรขึ้น เราก็ต้องมารู้ว่าหลักการทำงานของแชตบอตมันทำงานได้อย่างไรเสียก่อน     1. เรานับว่าแชตบอต AI ทั้งหลายมีชีวิตหรือไม่ ?   คำตอบก็คือ ไม่มีชีวิต   ก็ดูแล้วเมื่อเราได้ถามคำถามไปยังแชตบอต แล้วรูปประโยคที่แชตบอตให้คำตอบออกมาก็ดูมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ตอบกลับมา สิ่งที่แชตบอตทำงานได้เพราะมีการขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โครงประสาทเทียม หรือ Neural Network ที่ฟังดูแล้วก็เหมือนสมองคอมพิวเตอร์ แต่คำนี้แหละที่ทำให้คนเข้าใจผิดไปกันใหญ่   โครงสร้างประสาทเทียม หรือ Nerual Network เป็นระบบคณิตศาสตร์ที่มีการเรียนรู้ทักษะจากการได้รับข้อมูลดิจิทัลที่มีการป้อนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา   ในชีวิตประจำวันมนุษย์มีการใช้งานโครงข่ายประสาทเทียมอยู่ทุกวันโดยที่ไม่รู้ตัวเช่น เทคโนโลยีระบุตัวบุคคล, สัตว์ และสิ่งของที่อยู่ใน Google Photos, ผู้ช่วยคำสั่งเสียง Siri และ Alexa…

ChatGPT คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง คนจะอยู่ได้ยังไง? ถ้า AI ทำงานคล้าย ๆมนุษย์

Loading

    ChatGPT คืออะไร วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาอธิบายสั้น ๆ ให้คุณสามารถเข้าใจได้ และปัจจุบัน ChatGPT ทำอะไรได้บ้าง เชื่อถือได้ไหม และอนาคตมันจะมาแย่งงานเราได้หรือเปล่า   ChatGPT (Chat Generative Pre-trained Transformer) คือ แชทบอทที่สามารถพิมพ์คำถามหรือคำสั่งเข้าไปและสามารถตอบได้ในรูปแบบบทสนทนา     ซึ่ง ดร.ปรัชญา บุญขวัญ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้อธิบายที่มาของ ChatGPT ว่าเป็นการทำงานคล้ายกับว่าเป็นการเดาคำและจับคู่คำที่ทำได้อย่างแม่นยำ โดยเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ChatGPT จึงดูเก่งและฉลาดมาก     ChatGPT ทำอะไรได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยงานเขียนวิจัย ร่างฟอร์มอีเมลหรือจดหมาย รวมถึงการหาข้อมูลต่าง ๆ ในเชิงลึกที่รวดเร็วกว่าการค้นหากูเกิล ทำได้แม้กระทั่งการเขียนโปรแกรม   ChatGPT เบื้องหลังมี 3 ส่วนเล็ก ๆ ได้แก่   1.Transformer Model ทาง AI…

ไม่รอด! สแกมเมอร์บุก ChatGPT ปั่น AI ไว้หลอกลวงผู้คน

Loading

  เมื่อ ChatGPT กลายเป็นเครื่องมือของเหล่านักเขียน นักเล่าเรื่อง ที่เป็นกระแสเรียกความสนใจจากคนทั่วโลก โดย AI ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแบ่งเบาภาระให้กับการทำงานแบบเดิม แม้จะมีปัญหาตรงที่ยังสู้คนเขียนจริง ๆ ไม่ได้ แต่เรื่องของการพัฒนาระบบถือว่าใช้ได้   ดังนั้น ChatGPT จึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือให้เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้ในการสร้างเรื่องหลอกลวงผู้คนทั้งข้อมูลส่วนตัวและหลอกเงิน ผ่านข้อความที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยและยังไม่มีวิธีป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามเหล่านี้ได้ด้วย   อย่างไรก็ตาม ChatGPT ยังมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก แต่ด้วยความเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีการป้องกันที่รัดกุม ทำให้แฮ็กเกอร์เอง ก็กำลังเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ในการนำไปใช้ในการหลอกลวงผู้คนเช่นกัน     มัลแวร์ (Malware)   เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้รูปแบบของการติดไวรัสในอุปกรณ์บางอย่าง จากนั้นระบบปฏิบัติการณ์จะสั่งให้อัปเดตอุปกรณ์เพื่อป้องกันมัลแวร์   จากนั้นก็จะใช้การแจ้งเตือนให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกถึงแรงอันตรายจนนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต้องออกมาเตือนถึงปัญหาภัยคุกคาม   ซึ่ง ChatGPT มีความสามารถในการเขียนโค้ดที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะ AI ที่มีความสามารถในการเขียนมัลแวร์แบบโพลีมอร์ฟิค ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังไม่สามารถตรวจจับหรือป้องกันได้   นอกจากนี้ เหล่าแฮคเกอร์ยังใช้ ChatGPT เขียนโค้ดอันตรายมาก ๆ ให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าพวกเขากำลังโดนหลอกจากการหลอกโจมตีด้วยมัลแวร์แบบ 24 ชั่วโมง  …