AI ถูกใช้ในการแคร็กรหัสผ่าน แถมทำได้เร็วมาก ๆ ด้วย

Loading

  การมาของ ChatGPT และ Bard เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราได้รู้ว่า AI นั้นมีความสามารถมากขนาดไหน แต่ถึงอย่างนั้นทุกอย่างก็สามารถนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ AI ก็เช่นเดียวกัน   Home Security Heroes บริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับ AI เรื่องการแคร็กรหัสผ่าน โดยการใช้เครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า PassGAN (password generative adversarial network) ซึ่งใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อน   นักวิจัยได้ใช้ PassGAN ในการแคร็กรหัสผ่านกว่า 15 ล้านแบบ ผลการรันเครื่องมือดังกล่าวพบว่า รหัสผ่านทั่วไปกว่า 51% สามารถแคร็กได้ โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที, 65% ใช้เวลาแคร็กต่ำกว่า 1 ชั่วโมง, 71% ใช้เวลาน้อยกว่า 1 วัน อีก 81% ใช้เวลาน้อยกว่า 1 เดือน    …

ส่องนโยบายใช้ ‘ChatGPT’ ช่วยทำงานในองค์กร

Loading

    ผมมีโอกาสได้เห็นเอกสารนโยบายการใช้ Generative AI อย่าง ChatGPT ของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในต่างประเทศรายหนึ่งระบุว่า ห้ามพนักงานใช้โดยเด็ดขาด   โดยเฉพาะในการทำเอกสารหรือจดหมายเพื่อติดต่อกับลูกค้า หรือแม้แต่จะช่วยเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ทั้งนี้บริษัทอนุญาตให้ใช้เฉพาะเพื่อการทดลองหรือการศึกษา และการใช้งานส่วนตัวเท่านั้น   จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะในปัจจุบันหลายๆ บริษัทในต่างประเทศเริ่มที่จะออกนโยบายการใช้ Generative AI ในการช่วยทำงานของพนักงานหรือที่เรียกว่านโยบาย Generative AI Assistance (GAIA) และก็มีหลายบริษัทที่ประกาศห้ามการใช้งาน   ดังเช่น สถาบันการเงินต่างๆ อย่าง JPMorgan Chase,Bank of America, Goldman Sachs, Citigroup, Deutsche Bank และ Wells Fargo โดยเหตุผลหลักเป็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอ่อนไหวของลูกค้า   ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น Amazon, Verizon, และ Accenture ที่ออกนโยบายจำกัดการใช้งาน Generative AI ของพนักงานและให้ระมัดระวังการนำข้อมูลอ่อนไหวของบริษัทเข้าไปสู่ระบบ…

เดอะการ์เดียนเผยกล้องเสริม AI ของสหรัฐเป็นอันตรายกับผู้อพยพข้ามพรมแดน

Loading

  หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนรายงานว่า กล้องถ่ายภาพที่เสริมสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งติดตั้งในหอสังเกตการณ์บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของสหรัฐนั้น สามารถตรวจจับวัตถุต้องสงสัยที่อยู่ห่างออกไปหลายไมล์ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจผลักดันให้กลุ่มผู้อพยพต้องเดินทางลึกเข้าไปในทะเลทรายซึ่งเป็นพื้นที่อันตราย   เดอะการ์เดียนรายงานโดยอ้างข้อมูลจากอิเล็กทรอนิก ฟรอนเทียร์ ฟาวเดชัน (Electronic Frontier Foundation) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล เสรีภาพในการพูด และนวัตกรรม ซึ่งระบุว่า แผนที่ฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่ามีหอสังเกตการณ์จำนวนมากกว่า 300 จุดตั้งอยู่ตามแนวพรมแดนระหว่างสหรัฐและเม็กซิโก และยังมีหอสังเกตการณ์ที่มีแผนจะสร้างเพิ่มอีก 50 จุด   หอสังเกตการณ์เหล่านี้พัฒนาโดยบริษัทแอนดูริล (Anduril) ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านกลาโหม โดยหอสังเกตการณ์ปฏิบัติงานทั้งกลางวันและกลางคืน และติดตั้งกล้องที่เสริมสมรรถนะด้วย AI ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุต้องสงสัย เช่น คนหรือยานพาหนะ นอกจากนี้ กล้องยังสามารถหมุนได้ 360 องศา และสามารถตรวจจับคนที่อยู่ห่างออกไปไกลถึง 1.7 ไมล์ หรือประมาณ 2.7 กิโลเมตร   กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาแสดงความกังวลว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวที่ดำเนินการโดยรัฐบาลสหรัฐหลายสมัยนั้น ได้ผลักดันให้มีการอพยพผ่านทะเลทรายและภูเขา ซึ่งส่งผลให้ผู้อพยพเสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนมาก   นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลสหรัฐยังคงควบคุมการไหลเข้าของผู้อพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อพยพผ่านพรมแดนกั้นระหว่างสหรัฐและเม็กซิโก…

ไบเดนสั่งบริษัทเทคฯ คุมเข้มความปลอดภัยเอไอ หวั่นอันตรายต่อสังคม

Loading

U.S. President Joe Biden adjusts his microphone during a meeting with the President’s Council of Advisors on Science and Technology in the State Dining Room of the White House, April 4, 2023, in Washington.   ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน กล่าวในวันอังคารว่า ต้องจับตามองกันต่อไปว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหน พร้อมเน้นย้ำว่าบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการพัฒนาเอไอ   ปธน.ไบเดน กล่าวต่อที่ประชุมสภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่า ในอนาคตเอไออาจมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงแห่งชาติ   ผู้นำสหรัฐฯ…

Google Maps ใช้โมเดล AI ตรวจจับข้อมูลปลอม, บล็อกรีวิวปลอมได้ 115 ล้านรีวิว

Loading

  กูเกิลเผยสถิติการต่อสู้กับ “ข้อมูลปลอม” ใน Google Maps ที่เปิดให้ผู้ใช้คนไหนก็ได้สามารถอัปเดตข้อมูลสถานที่และแผนที่ได้   เทคนิคของกูเกิลต่างจาก OpenStreetMap ที่ใช้แรงคนคอยตรวจสอบ โดยใช้โมเดล machine learning เข้ามาช่วยตรวจจับด้วย ล่าสุดกูเกิลยังอัปเดตโมเดล AI ตัวใหม่ให้ตรวจจับข้อมูลปลอมเหล่านี้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม   แพทเทิร์นใหม่ที่กูเกิลพบคือการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจปลอมโดยใช้โดเมน .design หรือ .top และการอัปโหลดรูปที่มีเบอร์โทรปลอม ๆ ลงในรูป เพื่อล่อให้คนที่ค้นหาธุรกิจโทรไปยังเบอร์ปลอมเหล่านี้แทนเบอร์จริง ซึ่งโมเดลตัวใหม่ของกูเกิลตรวจจับได้   สถิติการตรวจจับของปี 2022 มีดังนี้ •  บล็อกรีวิวที่ผิดเงื่อนไขการใช้งานได้ 115 ล้านรีวิว รีวิวจำนวนมากถูกดักจับได้ก่อนโผล่เข้าในระบบ และโมเดล AI ใหม่สามารถตรวจจับรีวิวปลอมได้เพิ่มขึ้น 20% เทียบกับปี 2021 •  บล็อกหรือลบรูปภาพที่คุณภาพต่ำ เบลอ หรือผิดเงื่อนไขการใช้งาน จำนวน 200 ล้านรูป และวิดีโอ 7 ล้านคลิป •  บล็อกการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจปลอม…

ชี้อนาคตประเทศไทย กับมาตรฐาน AI ปี 66 ที่จะเปลี่ยนชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น

Loading

  ในวันที่ใคร ๆ ก็พูดถึง AI ว่าเริ่มทำอะไรได้หลายอย่าง แล้วจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้การส่งเสริม ดูแล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบกับมนุษย์   ก่อนที่จะไปพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ เราลองมาทบทวนกันสั้น ๆ ว่า มาตรฐานเกี่ยวข้องอะไรกับเรา ๆ ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดมากคือเวลาเราเดินทางไปต่างประเทศ แล้วเรามีมือถือ มีกล้อง มีคอมพิวเตอร์ มี electronic gadget สารพัดอย่างที่ต้องการชาร์จไฟ ดังนั้น สิ่งที่เราพกติดตัวยามเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองเสมอก็คือ universal adapter ที่จะช่วยให้เราสามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับเหล่าอุปกรณ์​ gadget ของเราได้ ถ้าเราสังเกตกันดี ๆ เราจะพบว่าแต่ละประเทศ หรือทวีป ก็มีรูปแบบของมาตรฐานปลั๊กไฟที่แตกต่างกัน     ตัวอย่างของมาตรฐานปลั๊กไฟฟ้าของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน   โดยแต่ละประเทศก็จะมีหน่วยงานในการกำหนด เลือกใช้ หรือพัฒนามาตรฐานที่ระบุรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศของตนเองอยู่ หน่วยงานเหล่านี้นี่เองที่ทำหน้าที่ประกาศว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะผลิตและจัดจำหน่ายในประเทศนั้น ๆ ได้ จะต้องมีคุณลักษณะ คุณภาพในเชิงเทคนิคเป็นอะไร อย่างไร…