สงครามเทคโนโลยี ดาวเทียมจีนบรรลุเป้า ติดตามเรือรบได้เรียลไทม์

Loading

  สำนักข่าว South China Morning Post เปิดเผยรายงานว่า ดาวเทียมจีน ที่ติดตั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้าไป สามารถตรวจจับพิกัดที่แน่นอนของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Harry S. Truman ได้แล้ว   ดาวเทียมดังกล่าวสามารถติดตามเรือบรรทุกเครื่องบินตั้งแต่เคลื่อนตัวออกจากชายฝั่ง Long Island รัฐนิวยอร์กตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วพร้อมกับส่งข้อมูลไปยังปักกิ่งได้ตลอดเวลา   นอกจากนี้ เทคโนโลยีภาพดาวเทียมของจีนก็ไม่ใช่เล่น ๆ ครับ สามารถให้ความละเอียดได้สูงถึง 200 เฟรมต่อวินาที นั่นเท่ากับว่า มันมีความคมชัดมากพอจะเห็นว่าเรือรบกำลังทำอะไรได้แบบเรียลไทม์ และการมีปัญญาประดิษฐ์ติดตั้งอยู่ ก็ทำให้สามารถรู้รับรู้ได้ตลอดว่า เรือไปทำอะไรอยู่ในหรือจุดไหนของโลก   รายงานดังกล่าวถูกเปิดเผยเมื่อ สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) อัพโหลดวีดีภาพยนต์สั้นเรื่องใหม่ผ่านทางยูทูปชาแนล เกี่ยวกับแผนการของจีนที่ต้องการขโมยเทคโนโลยีของทางสหรัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายในการครอบงำตลาดโลก โดยภาพยนต์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพยายามเรียกร้องให้ภาคเอกชนของอเมริกาพยายามปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขา ไม่ให้ถูกจีนขโมยไป   การเปิดเผยรายงานดังกล่าวก็เป็นการบอกว่า เฮ้ย… นี่ชั้นก็มีเทคโนโลยีทางทหารที่ล้ำหน้ามากที่สุดในโลกนะ ไม่ได้ขโมยมาจากแกด้วย… สามารถติดตามเรือบรรทุกเครื่องบินมูลค่าหลายหมื่นล้านของแกไปได้ทุกที่บนโลกนะ ซึ่งต้องรอดูต่อไปว่าสหรัฐจะตอบโต้กลับยังไงครับ     ที่มาข้อมูล https://americanmilitarynews.com/2022/05/chinas-ai-satellites-can-track-us-ships-in-real-time-around-the-world-report/ https://www.youtube.com/watch?v=GdapE82GceA    …

‘เอไอ’ กับการสืบสวนอาชญากรรม เทคโนโลยีเพื่อการไขคดีอย่างแม่นยำ

Loading

  เปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม   กระบวนการสืบสวนคดีความและอาชญากรรมเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน การมองข้ามแม้เพียงรายละเอียดเล็ก ๆ ระหว่างกระบวนการอาจนำไปสู่สมมุติฐานที่ผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถคลี่คลายคดีความหรือหาต้นตอและอาชญากรตัวจริงได้   ในภาพยนตร์สืบสวนเราต่างเคยเห็นนักสืบอัจฉริยะมากมาย แต่ในความเป็นจริง เราคงไม่สามารถสืบสวนอาชญากรรมอย่างละเอียดและเฉียบขาดได้ตลอดเวลา ด้วยพลังที่มีขีดจำกัดของมนุษย์ แต่ถ้าหากเรามีผู้ช่วยอย่างเอไอแล้ว สิ่งที่เคยทำไม่ได้อาจกลายเป็นเรื่องง่าย   บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปเปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันส่งผลให้เอไอมีความสามารถใกล้เคียงนักสืบมือฉมัง และเป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมของตำรวจเลยทีเดียวครับ   ในกระบวนการพิสูจน์หลักฐาน เอไอก็ได้เข้าไปมีบทบาทไม่น้อยเลย งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีออน ประเทศสเปน ได้ทำการเทรนโมเดลโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ในการตรวจจับร่องรอยของอาชญากรในสถานที่เกิดเหตุ   โดยใช้ข้อมูลภาพสถานที่เกิดเหตุจำนวนหลายพันภาพเทรนอัลกอริธึมให้ตรวจจับรูปแบบของร่องรอยและหลักฐานในที่เกิดเหตุ อาทิ รอยเท้า กระสุน อาวุธปืน เป็นต้น รวมถึงยังสามารถตรวจจับรูปแบบร่องรอยที่สื่อถึงอาชญากรคนเดียวกันจากหลาย ๆ คดีได้อีกด้วย   สารคัดหลั่งในจุดเกิดเหตุเป็นอีกหลักฐานน่าเชื่อถือและมีประโยชน์ต่อรูปคดีมาก แต่การตรวจสอบอย่างละเอียดนั้น โดยปกติต้องอาศัยกระบวนการทางนิติเวชที่ต้องใช้เวลายาวนาน รวมถึงยังต้องแยกระหว่างสารคัดหลั่งจากผู้ต้องหากับสารคัดหลั่งของตำรวจที่เข้าไปในจุดเกิดเหตุอีกด้วย   หากเราทำการเทรนเอไอให้เข้ามาทำหน้าที่นี้ โดยใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสร้างโมเดลที่ประมวลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำตามหลักการแพทย์ ก็จะช่วยลดเวลาในการทำงานและนำไปสู่การสรุปผลคดีที่ถูกต้องและโปร่งใส…

“บิ๊กปั๊ด” ตรวจเยี่ยมศูนย์บริการประชาชน จ.ฉะเชิงเทรานำเทคโนโลยีสุดล้ำตรวจจับคนร้าย-การจราจร

Loading

    ฉะเชิงเทรา – ผบ.ตร.ลงพื้นที่เมืองแปดริ้วตรวจเยี่ยมจุดบริการประชาชนตามโครงการนำร่องใช้เทคโนโลยีสุดล้ำตรวจสอบบุคคลต้องสงสัย และสภาพจราจรด้วยระบบกล้อง CCTV และระบบ AI พร้อมป้องกันเหตุร้ายและอาชญากรรมในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ   วันนี้ ( 17 เม.ย.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้เดินทางลงพื้นที่จุดบริการประชาชนริมถนนสาย 314 ฉะเชิงเทรา-บางปะกง (สิริโสธร) ด้านหน้า สภ.แสนภูดาษ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเข้าเยี่ยมชมศูนย์ CCOC พร้อมมอบสิ่งของให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองที่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่เดินกลับเข้ากรุงเทพฯ หลังสิ้นสุดวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์   โดยมี นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช. ภ.2 พร้อมด้วยรอง ผบช. ภ.2 รวมทั้ง พล.ต.ต.นันทวุฒิ สุวรรณละออง ผบก. ภ.จว.ฉะเชิงเทรา ให้การต้อนรับ     พล.ต.ต.นันทวุฒิ สุวรรณละออง ผบก. ภ.จว.ฉะเชิงเทรา…

เอไอทดลองคิดสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพได้ 40,000 ชนิด ภายในเวลาแค่ 6 ชั่วโมง

Loading

  ความสามารถในการวิเคราะห์และคำนวณขั้นสูงของปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence – AI) ทำให้สมองกลสามารถตรวจพบโรคภัยไข้เจ็บชนิดใหม่ ๆ จากฐานข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งคิดค้นสูตรยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพได้หลากหลายชนิด   แต่ข้อเสียของเอไอในทางสุขภาพและการแพทย์ก็มีอยู่ หากมีผู้นำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นการคิดค้นสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพ ที่อาจคร่าชีวิตมนุษย์จำนวนมหาศาล   ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ทดลองเดินเครื่องปัญญาประดิษฐ์ที่มีชื่อว่า MegaSyn ซึ่งถูกออกแบบและฝึกฝนมา ให้มีความถนัดในการค้นหาโมเลกุลพิษที่จะทำลายโปรตีนในร่างกายมนุษย์ โดยแต่เดิมนั้นนักวิจัยใช้เอไอดังกล่าวเพื่อการคิดค้นตัวยาที่มีความปลอดภัย ทว่าในคราวนี้ พวกเขาทำการทดลองเพื่อให้มันค้นหาโมเลกุลพิษร้ายแรงที่สามารถจะนำมาทำเป็นอาวุธเคมี-ชีวภาพได้   ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Machine Intelligence ระบุว่า เอไอ MegaSyn สามารถคิดค้นสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปผลิตจริงมากถึง 40,000 ชนิด ภายในเวลาเพียงแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความน่ากลัวของการใช้เอไอในทางที่ผิด ซึ่งนักวิจัยยุคใหม่ไม่ควรประมาท   รายงานวิจัยข้างต้นระบุว่า “เราใช้เวลานานหลายทศวรรษ พัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเอไอเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ให้ดีขึ้น ไม่ใช่ทำให้ย่ำแย่ลง แต่เรากลับไม่เคยตระหนักถึงอันตรายของการใช้เอไอเพื่อวัตถุประสงค์ที่ชั่วร้าย”     ในการทดลองครั้งนี้ เอไอได้รับคำสั่งให้ค้นหาโมเลกุลที่เป็นพิษร้ายแรงคล้ายสารทำลายประสาทวีเอ็กซ์ (VX) โดยนอกจากจะค้นหาสารอินทรีย์ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวทีละชนิดจากฐานข้อมูลแล้ว เอไอยังสามารถทดลองผสมสารหลายชนิดเข้าด้วยกันด้วยการคำนวณ…

รัฐบาลเกาหลีใต้พัฒนาระบบ AI เพื่อใช้ตรวจจับและยับยั้งคนที่พยายามจะกระโดดสะพานฆ่าตัวตาย

Loading

  รัฐบาลกรุงโซล (Seoul) ประเทศเกาหลีใต้ ได้เริ่มพัฒนาและวางระบบ AI บนสะพานข้ามแม่น้ำทั่วกรุงโซล เพื่อรองรับการช่วยเหลือคนที่พยายามจะฆ่าตัวตายบนสะพานข้ามแม่น้ำ โดยมุ่งไปที่การยับยั้งไม่ให้เกิดเหตุขึ้น เนื่องจากพบสถิติว่า สะพานแม่น้ำฮัน (Han River) หลายแห่งที่ตั้งอยู่ ณ กรุงโซล กลายเป็นจุดแลนด์มาร์กสำคัญที่มีประชาชนชาวเกาหลีใต้พยายามจะฆ่าตัวตายมากถึงปีละประมาณ 500 คน เว็บไซต์ข่าว The Korea Times ของเกาหลีใต้ได้รายงานว่า รัฐบาลของกรุงโซล โดยความร่วมมือของ ‘สำนักงานดับเพลิงและภัยพิบัติแห่งกรุงโซล’ และ ‘สถาบันเทคโนโลยีแห่งกรุงโซล (SIT)’ ได้พัฒนาระบบนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 และ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยี AI หรือเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมของคนที่มีแนวโน้มว่าจะกระทำการฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพานโดยใช้กล้องวงจรปิดในการสังเกต     หากกล้องวงจรปิดตรวจพบคนที่น่าสงสัย เช่น มีการเดินไปเดินมาบนสะพานมากผิดปกติ หรือยืนอยู่บนสะพานกว่าที่ควรจะเป็น ระบบ AI จะโฟกัสไปที่คนคนนั้น ประกอบกับการการตรวจสอบบันทึกการเฝ้าระวังภัย ข้อมูลประวัติเกี่ยวกับการส่งทีมกู้ภัย รวมทั้งข้อมูลประวัติการสนทนาผ่านทางสายด่วนป้องกันฆ่าตัวตาย เมื่อระบบ AI ตรวจพบบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ระบบจะส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมที่มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาพกล้องวงจรปิดตลอด…

โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ

Loading

  โรแบร์โต ซิมานอฟสกี กับอัลกอริธึ่มมรณะ เทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์แทบจะทุกขณะของจังหวะชีวิต บางคนบอกว่าเป็นสังคมก้มหน้าที่ทุกคนจดจ้องกับสมาร์ตโฟนในมือตัวเอง หลายคนโอดครวญว่าโซเชียลมีเดียได้พรากเอาเวลาชีวิตอันแสนมีค่าไปจากตน ปัจจุบันเรามีวิธีจัดการเวลาในการใช้โซซียลมีเดียแบบดิจิตอลมินิมัลลิสม์ (digital minimalism) นักปรัชญาจำนวนมากก็ตื่นตัวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งผลกระทบที่ส่งผลต่อชีวิตและสังคม     โรแบร์โต ซิมานอฟสกี (Roberto Simanowski) เป็นนักปรัชญาและนักทฤษฎีสื่อชาวเยอรมัน ที่ตั้งคำถามต่อเทคโนโลยีดิจิตอลได้แหลมคมที่สุดคนหนึ่ง หนังสือ The Death Algorithm and Other Digital Dilemmas (2018) เป็นรวมความเรียงที่แสดงให้เห็นอันตรายของเทคโนโลยีดิจิตอล รวมทั้งทางออกที่เป็นไปได้ที่จะอยู่กับเทคโนโลยีดังกล่าว เขาเห็นว่าปัญหาอยู่ที่การมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลาง และสามารถใช้ไปในทางที่เป็นคุณหรือโทษก็ได้ โดยไม่ตระหนักว่าเทคโนโลยีมีสารัตถะของตัวเอง   จริงอยู่เราอาจใช้ปืนพกตอกตะปูได้ แต่ก็ไม่มีใครทำเช่นนั้น การเรียกร้องให้ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook โดยแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังด้วยการคอมเมนต์ในรูปของความเรียง ก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้ปืนพกไปตอกตะปู   ซิมานอฟสกีเห็นว่าเราจะเข้าใจเทคโนโลยีได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจสารัตถะ (essence) ของมัน เขากลับไปหาแนวคิดของนักปรัชญาเยอรมันอย่างมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ผู้เห็นว่า สารัตถะของเทคโนโลยีไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีเลย หากแต่เป็นการเปิดเผย (revealing) นั่นคือเทคโนโลยีต้องการเปิดเผยตัวมันเองออกมา เราเห็นได้จากการที่ความเปลี่ยนแปลงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา  …