ยูเอ็น เรียกร้องพักแผนการจำหน่าย-ใช้งานปัญญาประดิษฐ์

Loading

  ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการประกาศพักแผนจำหน่ายและใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI – Artificial Intelligence) ทั้งหลายไว้ชั่วคราว เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงรุนแรงด้านสิทธิมนุษยชน ในรายงานล่าสุดที่จะนำเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มิเชลล์ แบเชเลท์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวบรวมบทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีล้ำสมัยต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งชี้ว่า AI นั้น อาจเป็นวิวัฒนาการที่ดี แต่ก็อาจล่วงล้ำและมีผลกระทบเลวร้ายรุนแรงต่อสิทธิ์ของผู้คน รวมทั้งความเป็นส่วนตัวของประชาชนได้ ขณะเดียวกัน เพ็กกี ฮิคส์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวด้วยว่า ระบบ AI อาจมีข้อผิดพลาดและมาพร้อมกับความเอนเอียงที่ฝังตัวอยู่ในระบบ ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและทำลายโอกาสการหางานหรือการได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคมได้ รายงานฉบับนี้ยังชี้ด้วยว่า ปัจจุบัน รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายเริ่มนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยในการระบุอัตลักษณ์ของบุคคล ซึ่งเปิดทางให้มีการใช้งานเพื่อติดตามตัวบุคคลได้อย่างไม่จำกัดได้ด้วย เพ็กกี ฮิคส์ กล่าวเสริมว่า ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแนะนำให้มีการประกาศพักการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้าไบโอเมตริกในพื้นที่สาธารณะด้วย เนื่องจากการใช้งานระบบนี้อาจเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อเสรีภาพของประชาชนได้   ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : VOA Thai      / วันที่เผยแพร่  17 ก.ย.2564 Link :…

ผู้นำองค์กรต้องเพิ่มกลยุทธ์ป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล (Deep-Fake)

Loading

  เดือนมีนาคม 2562 ซีอีโอของบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษได้รับสายด่วนจากเจ้านายซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัทแม่ที่เยอรมนี โดยเจ้านายชาวเยอรมันสั่งให้ลูกน้องของเขาโอนเงินจำนวน 220,000 ยูโร (ประมาณ 8.5 ล้านบาท) ให้กับตัวแทนซัพพลายเออร์ในฮังการี ซึ่งต้องโอนเงินเป็นกรณีเร่งด่วนและต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง เนื่องจากซีอีโอชาวอังกฤษจำสำเนียงเยอรมันที่โดดเด่นของเจ้านายได้ดี เขาจึงรีบอนุมัติการโอนเงินในทันที ทว่าโชคร้ายที่ซีอีโอชาวอังกฤษไม่ได้คุยกับเจ้านายของเขา แต่กลับคุยกับปัญญาประดิษฐ์ที่เลียนเสียงและแอบอ้างตัวเป็นเจ้านายชาวเยอรมัน   องค์กรธุรกิจควรต้องตระหนกกับเหตุการณ์นี้หรือไม่? คำตอบคือทั้งใช่และไม่ใช่ ที่ธุรกิจต้องกังวลคือรูปแบบความซับซ้อนในการหลอกลวงที่ดูแนบเนียนและที่สำคัญเป็นการโจมตีที่ประสบความสำเร็จ แต่ที่ยังเบาใจได้คือมันยังต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรอย่างมากในการจู่โจมรูปแบบนี้และเป้าหมายใหญ่อย่างบริษัทข้ามชาติ ซึ่งสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป โดยเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูลสามารถขยายเป็นสองทางอย่างน่าทึ่ง อย่างแรก คือ มันทำให้ผู้ที่ไม่หวังดีใช้วิธีนี้จู่โจมได้ง่ายมากขึ้น แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จน้อยแต่สิ่งที่ได้มาก็คุ้ม อย่างที่สองเมื่อเทคโนโลยี Deep-Fake หรือการปลอมแปลงอัตลักษณ์ของบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังและใช้ง่ายตกอยู่ในมือคนจำนวนมากที่ทำให้ใครก็ได้สามารถโจมตีเป้าหมายที่ต้องการไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม   เทคโนโลยีเอไอ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning) แทรกซึมอยู่ในธุรกิจและการสื่อสารสมัยใหม่ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปในทางที่ผิดกฎหมาย การล่อลวงแบบดีปเฟก (Deepfakes) สามารถเป็นได้ทั้งเสียง รูปภาพ และวิดีโอที่ดูเสมือนจริงแต่กลับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นด้วยเอไอ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งล่าสุดของการบิดเบือนข้อมูลในแบบที่ RAND Corporation หน่วยงานด้านนโยบายระดับโลกของอเมริกา ได้อธิบายไว้ว่าเป็น “วัฒนธรรมการเสื่อมสลายของความจริง” (หรือ Truth Decay) เป็นพลวัตที่มีการถกเถียงอย่างมากถึงขอบเขตในด้านการเมืองและทฤษฎีสมคบคิด…

AI ทำงานพลาด !! จับชาย 65 เข้าคุกข้อหาฆาตกรรม

Loading

  “AI ตรวจจับเสียงทำงานพลาด ทำชาย 65 เข้าคุกข้อหาฆาตกรรม” ในช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2020 ณ ชิคาโก Michael Williams วัย 65 ปีต้องโดนจำคุก 11 เดือน หลังถูกตัดสินฆาตกรรม เชฟหนุ่ม Safarian Herring วัย 25 ปี เพราะมีหลักฐานเป็น AI ตรวจจับเสียงปืนของบริษัท ShotSpotter ที่ติดตั้งอยู่ทั่วเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐฯ แต่ภายหลังพบว่า AI ดังกล่าวนั้นทำงานผิดพลาด…     ตามคำให้การของ Michael Williams เขาระบุว่าวันที่เกิดเหตุ เขาขับรถออกไปซื้อบุหรี่ข้างนอก และพบเจอเข้ากับ Safarian Herring ซึ่งเป็นคนละแวกบ้าน เขาจึงรับขึ้นรถมาด้วย แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีรถอีกคันวิ่งเข้ามา และยิง Herring เสียชีวิตต่อหน้า Williams แต่แทนที่ตำรวจจะไปตามจับรถคันนั้นให้ได้ Williams กลับถูกตั้งข้อหาแทย…

โดรนออกล่าสังหารมนุษย์ด้วยตัวมันเองโดยไม่ได้รับคำสั่ง

Loading

  นี่ไม่ใช่พล็อตเรื่องจากภาพยนต์ แต่เป็นเรื่องจริงเมื่อปัญญาประดิษฐ์สั่งการอาวุธสังหารให้ออกไล่ล่าเอง นิตยสาร New Scientist รายงานว่าได้รับข้อมูลจากรายงานของสหประชาชาติ (UN) เรื่องโดรนติดอาวุธที่ “ตามล่าเป้าหมายของมนุษย์” โดยไม่ได้รับคำสั่ง ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่โดรนทำนอกเนหือคำสั่งของมนุษย์ด้วยการไล่ล่าเพื่อสังหารมนุษย์ด้วยตัวมันเอง ในเหตุการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2020 โดรน Kargu-2 โจมตีบุคคลหนึ่งโดยอัตโนมัติระหว่างความขัดแย้งระหว่างกองกำลังของรัฐบาลลิเบียและกลุ่มทหารนำโดยคาลิฟา ฮาฟตาร์ กองทัพแห่งชาติลิเบีย Kargu-2 สร้างขึ้นในตุรกี ซึ่งเป็นโดรนโจมตีที่หวังผลถึงชีวิตออกแบบมาสำหรับการทำสงครามแบบอสมมาตรและการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย Kargu-2 ยังเป็นโดรนที่บินได้ซึ่งใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้ด้วยเครื่องและการประมวลผลภาพแบบเรียลไทม์เพื่อติดตามและมีส่วนร่วมกับเป้าหมายโดยอัตโนมัติ โดรน Kargu-2 ตัวนี้มุ่งเป้าไปที่ทหารคนหนึ่งของ ฮาฟตาร์ขณะที่เขาพยายามจะล่าถอย ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ Daily Star และ New York Post รายงานว่าในเวลานั้นโดรนกำลังทำงานในโหมดอิสระที่ “มีประสิทธิภาพสูง” ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคนควบคุม” รายงานจากคณะผู้เชี่ยวชาญของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในลิเบียกล่าวว่า “ระบบอาวุธสังหารอัตโนมัติร้ายแรงได้รับการตั้งโปรแกรมให้โจมตีเป้าหมายโดยไม่ต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับอาวุธ อันที่จริงแล้วคือความสามารถในการ ‘ยิง ลืม และค้นหา’ (fire, forget and find) อย่างแท้จริง” ทั้งนี้ Fire-and-forget เป็นขีปนาวุธประเภทหนึ่งที่ไม่ต้องการคำสั่งเพิ่มเติมหลังจากการยิง เช่น การส่องสว่างของเป้าหมายหรือการนำทางด้วยวิทยุ และสามารถยิงถูกเป้าหมายโดยที่เครื่องยิงจรวดไม่อยู่ในแนวสายตาของเป้าหมาย…

อุยกูร์ : จีนทดลองซอฟต์แวร์เอไอตรวจจับอารมณ์ชนกลุ่มน้อยมุสลิม

Loading

  “รัฐบาลจีนใช้ชาวอุยกูร์เป็นตัวทดลองในการทดลองต่าง ๆ ราวกับหนูที่ใช้ในห้องแล็บ” นี่คือความเห็นของวิศวกรซอฟต์แวร์คนหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์ในรายการพาโนรามา (Panorama) ของบีบีซีภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่เปิดเผยตัวตนของเขา โดยระบุว่าทางการจีนได้ทำการทดลองระบบกล้องที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ และเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อตรวจจับอารมณ์ของผู้คนกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง วิศวกรรายนี้เปิดเผยว่า มีการติดตั้งระบบดังกล่าวตามสถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งมีชาวอุยกูร์อาศัยอยู่ราว 12 ล้านคน และพวกเขามักตกอยู่ภายใต้การสอดส่องอย่างใกล้ชิดจากทางการ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์ปรับทัศนคติ” ที่องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่าเป็นสถานกักกันที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงและมีชาวอุยกูร์ถูกคุมขังอยู่กว่า 1 ล้านคน รัฐบาลจีนยืนกรานมาตลอดว่าการสอดส่องเป็นเรื่องจำเป็นในภูมิภาคนี้ เพราะกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ต้องการก่อตั้งรัฐของตนเองได้สังหารประชาชนไปหลายร้อยคนในเหตุก่อการร้าย     กล้องตรวจจับอารมณ์ วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ให้ข้อมูลกับบีบีซี ระบุว่าไม่ต้องการเปิดเผยชื่อและบริษัทที่ทำงานอยู่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เขาได้โชว์รูปถ่าย 5 รูปของผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์ ซึ่งเขาอ้างว่าได้ทดสอบระบบกล้องตรวจจับและจดจำอารมณ์กับคนกลุ่มนี้ วิศวกรรายนี้เล่าว่าเขาได้ติดตั้งกล้องชนิดนี้ที่สถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง “เราตั้งกล้องตรวจจับอารมณ์ห่างจากผู้ถูกทดลอง 3 เมตร มันคล้ายกับเครื่องจับเท็จแต่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่ามาก” เขาเล่าว่าเจ้าหน้าที่ใช้ “เก้าอี้หน่วงเหนี่ยว” ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายตามสถานีตำรวจทั่วประเทศจีน “ข้อมือคุณจะถูกล็อกอยู่กับที่ด้วยเครื่องยึดที่เป็นโลหะ เช่นเดียวกับที่ข้อเท้าของคุณ”       วิศวกรผู้นี้ยังแสดงหลักฐานการฝึกฝนให้เอไอตรวจจับและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสีหน้าและรูขุมขนที่เกิดขึ้นภายในเสี้ยวนาที เขาอธิบายการทำงานของระบบว่า ซอฟต์แวร์จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลแล้วสร้างเป็นแผนภูมิวงกลม เพื่อบ่งชี้ถึงอารมณ์ของผู้ถูกทดสอบ โดยส่วนสีแดงสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบหรือความวิตกกังวล เขาระบุว่า ซอฟต์แวร์มีเป้าหมายในการ…

Deepfake แบบใหม่ ใช้ AI ขยับปากตามเสียงพากย์ได้แล้ว

Loading

  Flawless บริษัทสตาร์ตอัปที่พัฒนาด้าน AI ได้พัฒนาเทคโนโลยี Deepfake แบบใหม่ ที่สามารถปรับภาพปากของนักแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวูดต้นฉบับ สามารถขยับตามปากตามเสียงที่ถูกพากย์ทับในภาษาอื่น ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้มากขึ้น โดยปกติแล้ว เทคโนโลยี Deepfake จะถูกนำมาใช้ในการนำใบหน้าของบุคคลอื่นมาซ้อนทับกับใบหน้าของนักแสดงในภาพยนตร์ได้อย่างแนบเนียน แต่ Flawless ได้เน้นการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เฉพาะกับองค์ประกอบของปากเท่านั้น โดยการนำเอาภาพยนตร์หรือซีรีส์ที่ถูกพากย์เสียงทับใหม่สำหรับฉายในต่างประเทศ มาผสานการทำงานเข้ากับซอฟต์แวร์ของ Flawess ซึ่งโมเดล AI ของ Flawless จะสร้างภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากขึ้นมาให้ตรงกับภาษาที่พากย์ทับเข้ามา และวางภาพริมฝีปากใหม่นี้ลงบนใบหน้าของนักแสดงในภาพยนตร์นั้น ๆ ได้อย่างสมจริง     Nick Lynes ผู้ร่วมก่อตั้ง Flawless ได้กล่าวกับเว็บไซต์ TheVerge ว่า “บางครั้งในการชมภาพยนตร์ที่ถูกพากย์เสียงทับมาใหม่ ก็จะสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของปากที่ไม่ตรงกับเสียงพากย์ ซึ่งทำให้ผู้ชมลดทอนการแสดงของนักแสดงคนนั้น ๆ ลงไปด้วย ระบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะเข้ามาช่วยให้ผู้ชมยังคงเห็นการแสดงของนักแสดงจากภาพยนตร์ต้นฉบับไปพร้อมกับเสียงพากย์ใหม่ได้อย่างลงตัว” แม้ว่าผลลัพธ์จะยังไม่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพเต็ม 100% แต่ก็ได้ผลที่น่าประทับใจ โดยเห็นได้จากตัวอย่างที่เป็นฉากหนึ่งจากภาพยนตร์คลาสสิกอย่าง A Few Good Men เมื่อปี 1992…